KNOWLEDGE BANK @ SPU

เป็นโครงการเชื่อมโยงชุมชนนักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัย บรรณารักษ์ และ นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุมในการนำคลังความรู้ของคณะและหน่วยงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในฐานข้อมูลเดียวกัน

 

คลังข้อมูลสถาบันมหาวิทยาลัยศรีปทุม

(SPU-IR : Sripatum University Institutional Repository)

แหล่งรวมข้อมูลผลงานด้านวิชาการของคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้แก่ บทความวิชาการ

ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ตำราและสื่อการสอน ที่จัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล

เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลผลงานวิชาการ และเอกสารดิจิทัลต่าง ๆ

ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้อย่างเสรี (Free Open Access) เป็นการส่งเสริมคุณภาพและความแข็งแกร่งด้านวิชาการของ

มหาวิทยาลัย ให้เผยแพร่ เกิดการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อนำไปสู่ประโยชน์ของประเทศ


ชุมชนใน SPU-IR

เลือกชุมชนเพื่อเรียกดูคอลเลคชัน

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 8 ของ 33
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Aviation and Transportation

วิทยาลัยการบินและคมนาคม

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

Graduate College of Managenent

วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Business Administration

คณะบริหารธุรกิจ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Logistics and Supply Chain

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

Institute General Education

สำนักวิชาศึกษาทั่วไป

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Communication Arts

คณะนิเทศศาสตร์

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Tourism and Hospitality

วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Accounting

คณะบัญชี

ผลงานล่าสุด

รายการ
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดัดแปลงประเภทดนตรีกรรมในยุคดิจิทัล
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) สิริทัศน์ คงริน
สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความหมาย แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดัดแปลงประเภทดนตรีกรรมในยุคดิจิทัล เพื่อที่จะหาแนวทางหรือหลักเกณฑ์ในการนํามาพิจารณา และนําไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมต่อไป จากการศึกษากฎหมายและคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศเกี่ยวกับข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดัดแปลงประเภทดนตรีกรรมในยุคดิจิทัล 4 ประเภท ได้แก่ Original Cover Remix Mashup และ Medley
รายการ
ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดขอบเขตตลาดและส่วนแบ่งตลาดสำหรับตลาดแพลตฟอร์มหลายด้านภายใต้พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) โยคิน โยคี
การที่ตลาดแพลตฟอร์มได้มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น ทำให้เริ่มมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าเกิดขึ้นในตลาดแพลตฟอร์มมากขึ้น อย่างไรก็ดีตลาดแพลตฟอร์มบางตลาดนั้นมีลักษณะที่เป็นตลาดหลายด้าน (multi-sided market) ซึ่งตลาดแต่ละด้านจะเชื่อมโยงกันด้วยผลกระทบเครือข่ายทางอ้อม (indirect network effect) ซึ่งทำให้อุปสงค์ของกลุ่มลูกค้าในด้านหนึ่งของตลาดจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของลูกค้าในด้านอื่น ๆ ของตลาด ทั้งนี้กลุ่มลูกค้าดังกล่าวไม่ได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของผลกระทบเครือข่ายทางอ้อม แต่เป็นบริษัทแพลตฟอร์มที่รับรู้ถึงการมีอยู่ของผลกระทบเครือข่ายทางอ้อม ซึ่งจากผลของการมีอยู่ของผลกระทบเครือข่ายทางอ้อมนี้ทำให้กลยุทธ์ในการกำหนดราคาในตลาดแพลตฟอร์มหลายด้านจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่ระดับราคารวมของแพลตฟอร์ม แต่ยังขึ้นอยู่กับโครงสร้างราคาคือระดับราคาของแต่ละตลาดในแพลตฟอร์มด้วย
รายการ
การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องเพื่อสร้างมาตรการระงับข้อพิพาทในคดีแพ่ง
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) สุรัฏชยา ผาสุข
การระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution) ทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางกฎหมายโดยเฉพาะในคดีแพ่งและพาณิชย์ เนื่องจากสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของคู่พิพาทได้มากกว่า ทั้งยังสะดวก รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่ากระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก การไกล่เกลี่ย (Mediation) เป็นการระงับข้อพิพาททางเลือกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพอย่างมาก ในประเทศไทยมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยทั้งก่อนฟ้องและระหว่างพิจารณาคดี การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง นอกจากจะมีข้อดีเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยตรง ยังสามารถช่วยกรองคดีบางประเภทไม่ให้เข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลมากเกินไป
รายการ
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองธรรมสิทธิ์ : ศึกษากรณีของผู้ประพันธ์เพลงและผู้เรียบเรียงเสียงประสาน
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ศิริพร ช้างอยู่
ดนตรีไม่เคยตาย แต่ดนตรีเป็นสิ่งที่มีความหลากหลายและแปรเปลี่ยนมากขึ้นเรื่อย ๆ ไปตามรสนิยมของผู้คนในแต่ละสังคม ดังนั้น การผลิตดนตรีจึงเป็นงานที่ต้องอาศัยความพยายามอย่างมากมายเพราะในการผลิตดนตรีนั้น คือกระบวนการสร้างสรรค์งานในขั้นตอนต่างๆ ของการผลิตดนตรี ตั้งแต่ขั้นตอนการประพันธ์เพลง การเรียบเรียงเสียงประสาน การอัดเสียง การปรับปรุงแก้ไขงานดนตรีชิ้นนั้นให้ดียิ่งขึ้น การผสมเสียง และการจัดทำเสียงเพลงต้นฉบับที่จะผลิตออกมาเป็นผลงานเพลงที่สมบูรณ์ในขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ดี ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการผลิตดนตรีคือขั้นตอนที่เกิดมาจากงานสร้างสรรค์ของผู้ประพันธ์เพลงและผู้เรียบเรียงเสียงประสาน โดยที่งานดนตรีเป็นงานที่ต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะและความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์งาน จึงเป็นสิ่งที่งานนั้นควรจะได้รับการยกย่องและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่เพียงแต่เฉพาะตามกฎหมายลิขสิทธิ์เท่านั้นแต่ยังรวมถึงการรับรองและคุ้มครองในเรื่องของธรรมสิทธิ์อีกด้วยเช่นกัน
รายการ
การชะลอฟ้องในชั้นพนักงานอัยการ : ศึกษากรณีพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ภัทรพล ศิลาคม
สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับศึกษาประวัติความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการชะลอฟ้องในคดีอาญาเกี่ยวกับความลับทางการค้า และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 ระเบียบว่าด้วยการชะลอการฟ้อง พ.ศ. 2520 ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรการทางกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการชะลอฟ้องในคดีอาญาเกี่ยวกับความลับทางการค้า ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น