ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2552-01-29T07:18:23Z

ผู้เขียน

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อที่จะศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี (2) เพื่อศึกษาปัจจัยทางตลาด ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด ว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ปีการศึกษา 2551 ซึ่งได้กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรี จำนวน 310 คน โดยที่ใช้การคำนวณหา คือ แบบสอบถามปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสถิติไค-สแควร์ (Chi-square) และค่าแครมเมอร์วี (Cramer's V) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจำนวน 219 คน สาขาที่สำเร็จการศึกษาก่อนเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรี สายประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) มากที่สุด และมีผลการเรียน 2.51-3.00 มากที่สุด จำนวน 186 คน พบว่าคณะที่ศึกษาอยู่คณะบริหารธุรกิจ มากที่สุด จำนวน 92 คน สถานที่ตั้งของสถาบันที่สำเร็จการศึกษา จังหวัดชลบุรี มากที่สุดจำนวน 236 คน ซึ่งได้พักอาศัยอยู่ในจังหวัดจังหวัดชลบุรี มากที่สุดจำนวน 268 คน และระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ประถมศึกษา มากที่สุดจำนวน 208 คน อาชีพของผู้ปกครอง อาชีพเกษตรกรรม มากที่สุด จำนวน 99 คน มีรายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือนรายได้ 10,000-50,000 บาทสูงสุด จำนวน 157 คน ปัจจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ได้มีการให้ความสำคัญกับปัจจัยด้าน คณะอาจารย์ และบุคลากรสูงสุด เรื่องความรู้ความสามารถน่าเชื่อถือ มากที่สุด และรองลงมาเป็นหลักสูตรที่เปิดสอนมีความหลากหลายและตรงกับความต้องการของนักศึกษา ด้านผลิตภัณฑ์ที่นักศึกษาให้ความสำคัญน้อยสุดคือ ในด้านมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ปัจจัยทางด้านราคา ซึ่งพิจารณาทางด้านราคาพบว่า ค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าบริการ มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง ปัจจัยทางด้านสถานที่ให้บริการ โดยพิจารณาทางด้านสถานที่ให้บริการ ซึ่งนักศึกษาโดยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ กับสถานที่ใกล้ที่พักสูงสุดในระดับมาก และในด้านการเดินทางสะดวกนักศึกษาให้ความสำคัญในระดับมากเช่นเดียวกัน ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ พิจารณาทางด้านการส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ นักศึกษาส่วนใหญ่ได้ให้ความสำคัญกับการมีกองทุนกู้ยืมจากรัฐสูงสุด มีทุนจากความสามารถพิเศษของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมีการผ่อนผันในการชำระเงินค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าบริการต่างๆ มหาวิทยาลัยมีระยะเวลาที่เหมาะสมในการชำระเงินค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าบริการต่างๆ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากป้ายประชาสัมพันธ์ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย ที่กล่าวมานี้นักศึกษาให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ที่นักศึกษาให้ความสำคัญน้อยที่สุด นั่นก็คือการแนะนำจากญาติหรือเพื่อนน้อยสุด จากการทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางด้านการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี สรุปผลจากการวิเคราะห์ว่าสาขาที่สำเร็จการศึกษาผลการเรียนก่อนเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยา เขตชลบุรี คณะที่ศึกษาอยู่ สถานที่ตั้งของสถาบันที่สำเร็จการศึกษา พักอาศัยอยู่ในจังหวัด ระดับการศึกษาผู้ปกครอง รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน อาชีพของผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางด้านการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้น เพศ ที่จะไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางด้านการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเอกชน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำอธิบาย

คำหลัก

การตลาด, การตัดสินใจ, การศึกษาต่อ, ระดับปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, ชลบุรี

การอ้างอิง