Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1421
Title: การบริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง
Authors: ปริญา เกษเดช
Keywords: การบริหารค่าตอบแทน
ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์
นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด
ระยอง
Issue Date: 23-April-2552
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่อง การบริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์ เพื่อทราบถึงสภาพการปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยกลุ่มประชากรที่เลือกทำการวิจัยได้แก่ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ตำบลปลวกแดง อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง จำนวน 126 บริษัท จากจำนวน 191 บริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามวัดระดับสภาพการปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรค ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ รายละเอียดผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ได้แก่ การวัดระดับสภาพปฏิบัติ ปัญหาและอุปสรรค สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่า F test โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการวิเคราะห์ได้วิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดในการวิจัยที่กำหนดให้ ขนาดองค์กร ประเภทองค์กรและประเภทธุรกิจเป็นตัวแปรอิสระ นโยบายของการบริหารค่าตอบแทน การประเมินค่างาน การเขียนลักษณะเฉพาะของงาน การจัดระดับงานเพื่อจ่ายค่าจ้างเงินเดือน การสำรวจค่าจ้างเงินเดือน การจัดทำโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือนและการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นตัวแปรตาม ในการวิเคราะห์ได้คำนวณค่าคะแนนกลางของตัวแปรต่าง ๆ แล้วนำมาพิจารณาความเกี่ยวข้องกัน ผลการวิจัย พบว่า ระดับสภาพปฏิบัติ ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์มีการบริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์ในด้านนโยบายการบริหารค่าตอบแทนในองค์กร ด้านการประเมินค่างาน และการจัดระดับงานเพื่อจ่ายค่าจ้างเงินเดือน ด้านการสำรวจค่าจ้างเงินเดือน และการจัดทำโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือน ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรคด้านการบริหารค่าตอบแทนโดยรวมจำแนกตามขนาดขององค์กร ตามลักษณะขององค์กร ตามประเภทธุรกิจพบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญยกเว้น ยกเว้นสภาพการปฏิบัติงานจำแนกตามประเภทธุรกิจ เมื่อเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานด้านนโยบายเป็นรายคู่พบว่า ประเภทธุรกิจยานยนต์ ยางสารเคมี เหล็กและโลหะ และธุรกิจอื่นๆมีการบริหารค่าตอบแทนด้านนโยบายมากกว่าธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภทธุรกิจกระจกและเฟอร์นิเจอร์มากกว่าธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ธุรกิจเหล็กและโลหะ เมื่อเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานด้านการประเมินค่างานและการจัดระดับงานเพื่อจ่ายค่าจ้างเงินเดือนจำแนกตามประเภทธุรกิจเป็นรายคู่พบว่าประเภทธุรกิจเหล็กและโลหะมีการบริหารค่าตอบแทนด้านการประเมินค่างานและการจัดระดับงานเพื่อจ่ายค่าจ้างเงินเดือนมากกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และยาง สารเคมี ประเภทธุรกิจกระจกและเฟอร์นิเจอร์มีการบริหารค่าตอบแทนด้านการประเมินค่างานและการจัดระดับงานเพื่อจ่ายค่าจ้างเงินเดือนมากกว่ายานยนต์ เมื่อเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานในการบริหารค่าตอบแทนโดยรวมพบว่าประเภทธุรกิจยาง สารเคมี มีการบริหารค่าตอบแทนมากกว่าธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภทธุรกิจเหล็กและโลหะ กระจกและเฟอร์นิเจอร์และธุรกิจอื่น ๆ มีการบริหารค่าตอบแทนโดยรวมมากกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1421
Appears in Collections:S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title.pdf53.49 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdf56.5 kBAdobe PDFView/Open
acknow.pdf44.6 kBAdobe PDFView/Open
cont.pdf76.65 kBAdobe PDFView/Open
chap1.pdf103.16 kBAdobe PDFView/Open
chap2.pdf427.03 kBAdobe PDFView/Open
chap3.pdf114.41 kBAdobe PDFView/Open
chap4.pdf225.94 kBAdobe PDFView/Open
chap5.pdf156.22 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdf74.82 kBAdobe PDFView/Open
appen2.pdf76.12 kBAdobe PDFView/Open
appen1.pdf126.17 kBAdobe PDFView/Open
profile.pdf31.82 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.