Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1453
Title: การศึกษาอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Other Titles: A Study of Rate of Return and Risk on Listed Company Stock in the Stock Exchange of Thailand
Authors: พรวรรณ นันทแพศย์
Keywords: อัตราผลตอบแทน
ความเสี่ยง
เบต้า
ตัวแบบการกำหนดราคาหลักทรัพย์
Issue Date: 2552
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของหลักทรัพย์และกลุ่มหลักทรัพย์ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มหลักทรัพย์และอัตราผลตอบแทนระหว่างกลุ่มหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์ 3) เพื่อหาความแตกต่างของอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มหลักทรัพย์ และ 4) เพื่อประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อมูลการศึกษาได้จากรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ราคาหลักทรัพย์ในกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค กลุ่มธนาคาร กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง การศึกษานี้ได้ใช้ตัวแบบการกำหนดราคาหลักทรัพย์ (Capital Asset Pricing Model : CAPM) เพื่อประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ในกลุ่มหลักทรัพย์ จึงมีการเก็บรวบรวมข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนของธนาคารพาณิชย์ไทยสำหรับใช้เป็นตัวแทนของหลักทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง โดยรวบรวมข้อมูลจากรายงานอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนของธนาคารแห่งประเทศไทย ระหว่างเดือนมกราคม 2546 ถึงเดือนธันวาคม 2550 สถิติที่ใช้ในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอยและสหสัมพันธ์ (Regression and Correlation Analysis) ผลจากการศึกษาพบว่าการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี 2546 ถึงปี 2550 ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อเดือนร้อยละ 1.6318 ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนของธนาคารพาณิชย์ไทย ซึ่งให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 0.187 ต่อเดือนเและพบว่าการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อเดือนเท่ากับร้อยละ 5.7214 กลุ่มหลักทรัพย์ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ ประกอบด้วย กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค และกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส่วนกลุ่มที่ให้อัตราผลตอบแทนต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์คือ หลักทรัพย์กลุ่มธนาคาร กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ผลจากการศึกษาระดับความเสี่ยงพบว่าทั้งห้ากลุ่มหลักทรัพย์มีระดับความเสี่ยงสูงกว่าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหลักทรัพย์กลุ่มธนาคาร กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เป็นกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพต่ำ เพราะเป็นกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีระดับความเสี่ยงสูงกว่าตลาดหลักทรัพย์ แต่ให้อัตราผลตอบแทนต่ำกว่าตลาดหลักทรัพย์ จากผลการทดสอบความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยระหว่างหลักทรัพย์ทั้งห้ากลุ่ม โดยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการวิเคราะห์พบว่าหลักทรัพย์ทั้งห้ากลุ่มมีระดับความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในลักษณะทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 หลักทรัพย์กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มวัสดุก่อสร้างมีระดับความสัมพันธ์มากที่สุด ส่วนหลักทรัพย์กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภคและกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีระดับความสัมพันธ์น้อยสุด นอกจากนี้ผลการศึกษาพบว่าอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ทั้งห้ากลุ่มมีระดับความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยหลักทรัพย์กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภคมีความสัมพันธ์กับตลาดหลักทรัพย์มากที่สุด สำหรับกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับตลาดหลักทรัพย์ต่ำสุด ผลการทดสอบความแตกต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนของกลุ่มหลักทรัพย์ทั้งห้ากลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนพบว่า กลุ่มหลักทรัพย์ทั้งห้ากลุ่มมีอัตราผลตอบแทนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1453
Appears in Collections:รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
50 ผศ.ดร.พรวรรณ.pdfรายงานวิจัย7.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.