Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1542
Title: ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ กรณีศึกษา:บริษัทแห่งหนึ่ง ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี
Authors: วิราวรรณ เกษสว่าง
Keywords: ความพึงพอใจ
ชิ้นส่วนยานยนต์
นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
ชลบุรี
Issue Date: 19-August-2552
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ บริษัทแห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน ทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ความยอมรับนับถือ ลักษณะของงาน ความก้าวหน้า นโยบายและการบริหาร การควบคุมบังคับบัญชา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ค่าตอบแทน และสภาพการทำงาน 2)เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ บริษัทแห่งหนึ่ง ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ บริษัทแห่งหนึ่ง ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี จำนวน 290 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ บริษัทแห่งหนึ่ง ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี และมาตราส่วนประกอบค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การทดสอบที (t test ) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis of variance) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ บริษัทแห่งหนึ่ง ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี มีความพึงพอใจในการปฎิบัติงานของพนักงานโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากอยู่ ทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ความยอมรับนับถือ ลักษณะของงาน ความก้าวหน้า นโยบายและการบริหาร การควบคุมบังคับบัญชา ความสั2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ บริษัทแห่งหนึ่ง ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี พบว่า จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และแผนกที่รับผิดชอบ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามอายุการทำงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่า พนักงานที่มีอายุการทำงาน 5-10 ปี มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน โดยรวมมากกว่าที่มีอายุการทำงานต่ำกว่า 1 ปี , อายุการทำงาน 1-3 ปี , อายุการทำงาน3-5 ปี และอายุการทำงาน 10 ปี ขึ้นไป มพันธ์ระหว่างบุคคล ค่าตอบแทน และสภาพการทำงาน
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1542
Appears in Collections:S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title.pdf31.26 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdf41.85 kBAdobe PDFView/Open
acknow.pdf30.44 kBAdobe PDFView/Open
chap1.pdf79.66 kBAdobe PDFView/Open
chap2.pdf119.89 kBAdobe PDFView/Open
chap3.pdf122.37 kBAdobe PDFView/Open
chap4.pdf202.74 kBAdobe PDFView/Open
chap5.pdf88.99 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdf76.88 kBAdobe PDFView/Open
appen.pdf99.62 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.