Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1551
Title: ปัญหากฎหมายในการนำมาตรการทางอาญามาใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
Authors: เอกวิทย์ สารการ
Keywords: กฎหมาย
มาตรการทางอาญา
ผู้กระทำความผิด
เครื่องหมายการค้า
Issue Date: 28-August-2552
Abstract: แม้ว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเมื่อมีการละเมิดสิทธิเกิดขึ้น ก็ยังเป็นประเด็นปัญหาทางกฎหมายหลายประเด็นด้วยกันสืบเนื่องมาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าซึ่งยังมีผลบังคับใช้อยู่ในประเทศไทยมีหลายฉบับด้วยกันและมีความคาบเกี่ยวกันระหว่างบทบัญญัติของกฎหมาย จึงก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการนำมาตรการทางอาญามาใช้บังคับกับความผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ซึ่งจากการศึกษาสามารถสรุปปัญหาที่พบได้ ดังนี้ 1. ปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายในการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าระหว่างพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534 กับประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องของความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้า 2. ปัญหาเกี่ยวกับการปรับบทลงโทษทางอาญา เกี่ยวกับความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนทั้งในและนอกราชอาณาจักร 3. ปัญหาจากคำวินิจฉัยของศาลฎีกาซึ่งให้เหตุผลในคำพิพากษาแตกต่างกับเหตุผลของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ 4. ปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอันเนื่องมาจากการนำมาตรการทางอาญามาบังใช้ในความรับผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะเพื่อขจัดความซ้ำซ้อนของบทบัญญัติตามกฎหมายและเพื่อให้การบังคับใช้ของกฎหมายมีความชัดเจนและมีประโยชน์ ดังนี้ 1. ควรยกเลิกบทบัญญัติของกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 273-275 เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนการบังคับใช้ของกฎหมายและการลงโทษทางอาญา เพื่อเพิ่มความเป็นธรรมกับคนไทยผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนภายในราชอาณาจักร และจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเครื่องหมายการค้ามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางเดียวกันกับต่างประเทศ 2. บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534 มาตรา 108-109 กรณีเกี่ยวกับความผิดฐานปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้า เนื่องจากการปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้ามีความใกล้เคียงกันอย่างมากควรเพิ่มเติมความหมายของคำว่า “การปลอมเครื่องหมายการค้า” และ “การเลียนเครื่องหมายการค้า” เพื่อให้เกิดความชัดเจนและไม่ก่อให้เกิดความสับสนเมื่อเกิดกรณีความผิดฐานปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้า หรือหากไม่มีการเพิ่มเติมความหมายก็ควรพิจารณารวมบทบัญญัติของกฎหมายตามมาตรา 108-109 ไว้ด้วยกัน เพื่อขจัดปัญหาความสับสนระหว่างความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้า 3. หน่วยงานภาครัฐควรมีการพิจารณาประเด็นปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายอย่างจริงจัง ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย หรือยกเลิกบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นปัญหาอุปสรรคหรือไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อสภาพการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลต่อไป 4. ในกรณีที่จะต้องมีการแก้ไขกฎหมาย ควรยกเลิกความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าตามประมวลกฎหมายอาญาทั้งหมด แล้วแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า เพื่อขจัดปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายและเพิ่มเติมความผิดเกี่ยวกับการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าโดย การกำหนดโทษทางอาญาให้ผู้กระทำความผิดที่มีสถานะของการกระทำความผิดมีความร้ายแรงไม่เท่ากันได้รับโทษต่างกัน
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1551
Appears in Collections:สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title.pdf37.15 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdf56.65 kBAdobe PDFView/Open
acknow.pdf26.74 kBAdobe PDFView/Open
content.pdf50.65 kBAdobe PDFView/Open
chap1.pdf88.01 kBAdobe PDFView/Open
chap2.pdf187.33 kBAdobe PDFView/Open
chap3.pdf222.28 kBAdobe PDFView/Open
chap4.pdf118.16 kBAdobe PDFView/Open
chap5.pdf73.46 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdf44.37 kBAdobe PDFView/Open
profile.pdf30.42 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.