Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1555
Title: คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในกลุ่มอุตสาหกรรมสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
Authors: การเกด อนันต์นาวีนุสรณ์
Keywords: การทำงาน
ความผูกพัน
พนักงานระดับปฏิบัติการ
อุตสาหกรรมสุวินทวงศ์
ฉะเชิงเทรา
Issue Date: 28-August-2552
Abstract: การวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษา “คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในกลุ่มอุตสาหกรรมสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน 8 ด้าน 2) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กร 3 ด้าน 3) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในกลุ่มอุตสาหกรรมสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ 4) เพื่อเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในกลุ่มอุตสาหกรรมสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในกลุ่มอุตสาหกรรมสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ พนักงานระดับปฏิบัติการ ในกลุ่มอุตสาหกรรมสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวนทั้งสิ้น 381 คน โดยคำนวณตามสูตรของ Yamane และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (stratified random sampling) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 4 ส่วนและเป็นแบบสอบถามประเภทคำถามปลายปิด (close-ended questions) และคำถามปลายเปิด (open-ended questions) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าคะแนนที (t test) วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one–way analysis of variance) การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD. และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในกลุ่มอุตสาหกรรมสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ระดับความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในกลุ่มอุตสาหกรรมสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. พนักงานระดับปฏิบัติการที่มีเพศ รายได้ และลักษณะธุรกิจแตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่พนักงานระดับปฏิบัติการที่มีอายุ และอายุงานแตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. พนักงานระดับปฏิบัติการที่มีเพศ อายุ อายุงาน รายได้ และลักษณะธุรกิจแตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. คุณภาพชีวิตในการทำงานทั้ง 8 ด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมและรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1555
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title.pdf43.92 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdf56.87 kBAdobe PDFView/Open
content.pdf75.63 kBAdobe PDFView/Open
acknow.pdf30.54 kBAdobe PDFView/Open
chap1.pdf104.19 kBAdobe PDFView/Open
chap2.pdf185.14 kBAdobe PDFView/Open
chap3.pdf148.63 kBAdobe PDFView/Open
chap4.pdf400.85 kBAdobe PDFView/Open
chap5.pdf216.87 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdf102.76 kBAdobe PDFView/Open
appen.pdf753.28 kBAdobe PDFView/Open
profile.pdf33.75 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.