Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1574
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกจังหวัดสมุทรปราการ
Authors: พิทยา โภคา
Keywords: ความผูกพันธ์
องค์กร
พนักงาน
โรงงานอุตสาหกรรม
พลาสติก
สมุทรปราการ
Issue Date: 11-September-2552
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์การของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก จังหวัดสมุทรปราการ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย เลือกกลุ่มตัวอย่างมีลำดับขั้นตอนในการสุ่มตัวอย่างเป็นแบบวิจารณญาณหรือแบบเจาะจง โดยเลือกพนักงานบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการตามรายชื่อบริษัทที่จดทะเบียนเข้ากลุ่มการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 389 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา ส่วนการทดสอบสมมติฐานและความสัมพันธ์ด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 21-30 ปี สถานภาพโสด มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และอายุงานน้อยกว่า 3 ปี มีปัจจัยลักษณะงาน ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับความผูกพันต่อองค์การ พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ที่แตกต่างกันมีระดับความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์การของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก จังหวัดสมุทรปราการ ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ส่วนระดับการศึกษาและระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันมีระดับความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์การของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก จังหวัดสมุทรปราการ แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ของปัจจัยลักษณะงานกับความผูกพันต่อองค์การ ด้านงานที่ท้าทาย ด้านงานที่หลากหลาย ด้านความประจักษ์ในงาน ด้านความมีอิสระในงาน ด้านผลป้อนกลับของงาน และด้านงานที่ต้องสัมพันธ์กับผู้อื่นมีความสัมพันธ์กันไปในทิศทางเดียวกัน อยู่ในระดับปานกลาง (r = .558, .549, .564, .660, .634, .598 ตามลำดับ) ด้านโอกาสก้าวหน้าในงานและ ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหาร มีความสัมพันธ์กันไปในทิศทางเดียวกัน อยู่ในระดับสูง (r=.749 และ .726) ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ด้านสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ ด้านการพัฒนาความสามารถของพนักงาน ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านสิทธิความเป็นส่วนตัว ความให้เกียรติและนับถือ และ ด้านความสอดคล้องทางสังคม มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูง (r = .789, .731, .753, .802, .725 และ .716 ตามลำดับ) ยกเว้น ด้านบูรณาการทางสังคม ที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับปานกลาง (r=.604) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1574
Appears in Collections:S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf22.85 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf50.68 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf28.3 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf47.56 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf87.43 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf208.82 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf130.51 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf263.53 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf169.44 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf105.34 kBAdobe PDFView/Open
11appen.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.