Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1578
Title: ปัญหากฎหมายและอุปสรรคเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในสถานพยาบาล ศึกษาเฉพาะการบำบัดน้ำเสีย
Authors: รัชดา โรจนพร
Keywords: ปัญหากฎหมาย
สิ่งแวดล้อม
สถานพยาบาล
การบำบัดน้ำเสีย
Issue Date: 11-September-2552
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในสถานพยาบาล โดยเป็นการศึกษาถึงกรณีการบำบัดน้ำเสียในสถานพยาบาลที่เกิดจากการ ประกอบกิจการของสถานพยาบาล สืบเนื่องมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่ขณะนี้ทุกๆ คนต่างให้ความสำคัญกันมาก สถานพยาบาลเป็นสถานประกอบการสถานพยาบาลหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสียขึ้นมาวิธีการลดปัญหาน้ำเสียวิธีการหนึ่งก็คือ การบำบัดน้ำเสีย จากที่ผ่านมาผู้วิจัยได้พบว่าพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 มีเนื้อหาสาระที่ไม่สามารถนำมาบังคับใช้เกี่ยวกับเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมในด้านน้ำได้เป็นการเฉพาะ ไม่ชัดเจน และไม่รัดกุม อันเนื่องมาจากเนื้อหาสาระของกฎหมายฉบับดังกล่าวยังไม่ได้ให้อำนาจไว้อย่างชัดเจน การขาดหน่วยงานที่เข้ามารับผิดชอบโดยตรง มีการเกี่ยงกันระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ การจัดการสิ่งแวดล้อมในเรื่องน้ำดังกล่าวตามกฎหมาย จึงไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ประกอบกับเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาลนั้นเป็นปัญหาที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นสมควรศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในสถานพยาบาล ศึกษาการบำบัดน้ำเสียโดยศึกษามาตรการการจัดการสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ ประกอบกับศึกษากฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาปรับปรุงใช้ให้เหมาะสมกับสถานประกอบการสถานพยาบาล โดยนำมาบัญญัติไว้เป็นกฎหมายในพระราชบัญญัติสถานพยาบาลเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรการทางกฎหมายในการบังคับใช้ในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาลเป็นการเฉพาะ ในเรื่องการบำบัดน้ำเสียให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ ในปัจจุบันสามารถนำไปเป็นแนวทางในการบังคับใช้กับผู้ที่มีส่วนร่วมทุกฝ่าย และเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายและแก้ไขกฎหมายสถานพยาบาลของประเทศไทยต่อไปจากการศึกษาพบว่าการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาล ในเรื่องการบำบัดน้ำเสียตาม พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 ยังไม่มีความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่รับผลกระทบจากการประกอบการสถานพยาบาลทั้งหลาย เนื่องมาจากบทบัญญัติของกฎหมายสถานพยาบาลในส่วนของการจัดการสิ่งแวดล้อมนั้น ตัวบทบัญญัติของกฎหมายได้มีการบัญญัติไว้เป็นการกว้างๆ ยังไม่มีความชัดเจน มิได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนที่จะนำไปใช้ปฏิบัติในกฎหมายฉบับนี้ เช่น ในส่วนของการจัดการสิ่งแวดล้อมนั้นให้ไปบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ซึ่งกฎหมายสิ่งแวดล้อมนี้เป็นกฎหมายแม่บทในการนำไปใช้บังคับกันในทางปฏิบัติ จึงพบว่าพระราชบัญญัติสถานพยาบาลในส่วนของการจัดการสิ่งแวดล้อมนั้นต้องอาศัยข้อบัญญัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมดังกล่าว อีกทั้งขาดคณะทำงาน พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาดูแลในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ผู้วิจัยจึงเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 โดยให้มีการปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม ในการบำบัดน้ำเสียของสถานพยาบาลโดยมีการนำกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง และนำมาตรการของกฎหมายต่างประเทศมาเป็นหนึ่งในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น และจัดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียมาเป็นส่วนหนึ่งในคณะกรรมการ สถานพยาบาล มีเนื้อหาสาระของกฎหมายที่ครอบคลุมชัดเจนในขอบเขตของกฎหมายให้ครอบคลุมในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมทางด้านน้ำนี้ ทั้งนี้เพื่อลดความซ้ำซ้อนของหน่วยงานที่ รับผิดชอบ รวมทั้งเพิ่มบทลงโทษที่ชัดเจน ตลอดจนให้มีพนักงานเจ้าหน้าที่เพียงพอในการปฏิบัติงานภายใต้กฎหมายที่ครอบคลุมนั่นเอง
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1578
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf25.65 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf54.6 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf28.89 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf38.36 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf110.92 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf221.03 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf266.13 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf119.98 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf68.25 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf62.21 kBAdobe PDFView/Open
11appen1.pdf61.23 kBAdobe PDFView/Open
12appen2.pdf83.79 kBAdobe PDFView/Open
13appen3.pdf27.31 kBAdobe PDFView/Open
14appen4.pdf124.1 kBAdobe PDFView/Open
15profile.pdf27.4 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.