การศึกษาการประหยัดพลังงานในรถโดยสารประจำทางโดยการเปลี่ยนเครื่องยนต์และชนิดเชื้อเพลิง

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2552

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการประหยัดพลังงานในรถโดยสารประจำทางโดยการเปลี่ยนเครื่องยนต์และชนิดเชื้อเพลิง โดยเลือกศึกษาในกลุ่มของรถร่วมบริการสองประเภทได้แก่ รถมินิบัส และรถบัสไม่ปรับอากาศที่ให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการประหยัดเชื้อเพลิงและเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากการเก็บข้อมูลทางกายภาพ ข้อมูลการวิ่งรับส่งผู้โดยสารบนท้องถนน และข้อมูลการใช้เชื้อเพลิง โดยอาศัยกลุ่มตัวอย่างรวม 40 คัน แบ่งเป็นรถมินิบัส 15 คัน และรถบัส 25 คัน การประเมินประสิทธิภาพและอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงพบว่าประสิทธิภาพของเครื่องยนต์เฉลี่ย 19.35% สำหรับรถมินิบัส และ 19.48% สำหรับรถบัส อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเฉลี่ย 2.68 km/liter สำหรับรถมินิบัสและ 2.25 km/liter สำหรับรถบัส การประหยัดเชื้อเพลิงแบ่งการศึกษาเป็น 2 กรณี กรณีแรกเป็นการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ทดแทนเครื่องยนต์เดิมได้ผลสรุปว่ามีระยะเวลาคืนทุนเฉลี่ย 1.75 ปี สำหรับรถมินิบัสและ 1.20 ปี สำหรับรถบัส ผลตอบแทนการลงทุนเฉลี่ย 56.94% สำหรับรถมินิบัสและ 83.05% สำหรับรถบัส กรณีที่สองเปลี่ยนเครื่องยนต์เพื่อใช้ก๊าซ NGV พบว่ามีระยะเวลาคืนทุนเฉลี่ย 0.61 ปี สำหรับรถมินิบัสและ 0.45 ปี สำหรับรถบัส อัตราผลตอบแทนการลงทุนเฉลี่ย 164.86% สำหรับรถมินิบัสและ 222.70% สำหรับรถบัส ทั้งสองกรณีให้ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ที่ดี การวิเคราะห์ความไวจากราคาน้ำมันและก๊าซ NGV จะมีผลต่อการตัดสินใจกรณีต่าง ๆ น้อยเพราะผลตอบแทนที่ได้ยังคงมีค่าสูง จากผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปกำหนดนโยบายและข้อเสนอแนะในการใช้พลังงานของภาคขนส่งเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์พลังงานในปัจจุบัน รวมถึงประโยชน์ที่ภาครัฐฯ ผู้ประกอบการและประชาชนจะได้รับ

คำอธิบาย

คำหลัก

การประหยัดน้ำมันในรถบัส, การเปลี่ยนเครื่องยนต์รถบัส, การใช้ NGV ในรถบัส

การอ้างอิง