Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1653
Title: ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับเงินกู้นอกระบบ
Authors: อนุชา วงศ์ศรีรัตน์
Keywords: กฎหมาย
เงินกู้นอกระบบ
Issue Date: 9-March-2553
Abstract: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถือเป็นกฎหมายแม่บทในเรื่องเงินกู้ นิติกรรมสัญญา การกู้ยืม เป็นการตกลงระหว่างคู่สัญญาในทางแพ่ง โดยหลักกฎหมายแพ่งแล้วคู่สัญญาจะตกลงกันอย่างไรก็ได้ เท่าที่ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ส่วนเรื่องดอกเบี้ย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 กำหนดให้เรียกดอกเบี้ยเงินกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อไป การกู้ยืมรายใดมีการเรียกดอกเบี้ยเงินกู้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 แต่ถ้าเป็นการกู้เงินจากสถาบันการเงิน จะไม่นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาบังคับใช้ถือเป็นข้อยกเว้น เนื่องจากสถาบันการเงินมีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ควบคุมบังคับใช้เป็นการเฉพาะแล้ว แต่การขอกู้เงินจากสถาบันการเงินนั้นไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ เพราะการกู้เงินจากสถาบันการเงินมีกฎระเบียบและที่สำคัญต้องมีหลักทรัพย์ในการค้ำ ประกันเมื่อไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืม แต่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน จำเป็นต้องกู้จากนายทุน “เงินกู้นอกระบบ” (SHARK LOAN) ซึ่งเป็นการกู้ยืมที่ไม่มีข้อยุ่งยาก ได้รับเงินเร็ว แต่ต้องยอมเสียดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่นายทุนเงินกู้ ในอัตราที่สูงโดยผู้กู้และผู้ให้กู้ต้องร่วมมือ สมยอมกันเพื่อหลีกเลี่ยงบทบัญญัติของกฎหมาย พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 เป็นกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษ ที่รัฐใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาเงินกู้นอกระบบเป็นการเฉพาะเป็นกฎหมายบัญญัติถึงเรื่องเงินกู้และการเรียกดอกเบี้ย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องทางแพ่ง แต่ในกฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดโทษอาญาไว้จึง กลายเป็นกฎหมายลูกผสม และกฎหมายที่บัญญัติในเรื่องเงินกู้มีอยู่ทั่วไป ทั้งในหลักกฎหมายแพ่งและหลักกฎหมายอาญา เมื่อหลักกฎหมายต่างกัน จึงมีปัญหาในการตีความจะใช้หลัก กฎหมายทางแพ่งหรือใช้หลักกฎหมายอาญามาบังคับใช้ ทำให้เกิดข้อขัดข้องในการปฏิบัติ เนื่องจากหลักกฎหมายและการตีความไม่ชัดเจน เมื่อหลักกฎหมายและความหมายของคำว่า เงินกู้นอกระบบ ไม่มีความชัดเจนต้องอาศัยการตีความ จึงทำให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญที่บังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ มีปัญหาในการบังคับใช้ กฎหมายตามไปด้วย เพราะแต่ละหน่วยงานต่างมีอำนาจและหน้าที่แตกต่าง จึงทำให้การบังคับใช้กฎหมายในเรื่อง เงินกู้นอกระบบ ไม่สามารถบังคับใช้ได้ตามเจตนารมณ์ วิทยานิพนธ์ “ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับเงินกู้นอกระบบ” ฉบับนี้เป็นการศึกษา ถึงความเป็นมา ความหมายของเงินกู้นอกระบบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ปัญหาในการบังคับตลอดจน วิธีแก้ไข เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของไทย โดยผู้ศึกษาคาดหวังว่าจะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายขึ้นใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในสังคมปัจจุบัน และดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ตามหลักกฎหมายอันจะก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมสืบไป
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1653
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf29.14 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf58.24 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf30.5 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf49.52 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf86.58 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf257.84 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf230.4 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf110.01 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf91.83 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf81.88 kBAdobe PDFView/Open
11profile.pdf27.96 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.