Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1683
Title: การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนด้วยการประเมินชั้นเรียน รายวิชา IMG 369 ต้นทุนการผลิตและการงบประมาณ
Other Titles: Quality Development of Teaching and Learning through Classroom Assessment : A Case Study in Production Cost and Budgeting Course (IMG 369)
Authors: สรพล, บูรณกูล
Keywords: การประเมินชั้นเรียน
เครื่องมือประเมินชั้นเรียน
คุณภาพการเรียนการสอน
Classroom Assessment
Classroom Assessment Tools
Quality of Teaching and Learning
Issue Date: 2553
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ ความครบถ้วนของเนื้อหาและทักษะที่สำคัญตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในแผนการสอนแต่ละหน่วยการเรียนของผู้เรียน รายวิชา IMG 369 ต้นทุนการผลิตและการงบประมาณ โดยใช้เครื่องมือประเมินชั้นเรียน 2) เพื่อพัฒนาคุณภาพกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้สอนจากข้อมูลที่ได้รับจากการประเมินชั้นเรียน โดยใช้เครื่องมือประเมินชั้นเรียน ประกอบด้วย 1. บันทึกแบบสั้น 2.ผังความคิดรวบยอด 3. แบบ RSQC2 4. แบบเก็บข้อมูลย้อนกลับของครู รวมทั้งแบบวัดสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนหรือแบบทดสอบย่อย กับผู้เรียนที่ลงทะเบียน รายวิชา IMG 369 ต้นทุนการผลิตและการงบประมาณ ในภาคการศึกษา 2/2551 จำนวน 32 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนดีขึ้น เกิดจาก ผู้สอนจริงจังกับการประเมินผล รูปแบบการเรียนเป็นกลุ่มและการประเมินผลงานแบบกลุ่มรวมทั้งการมอบหมายงานที่ชัดเจนตรงกับประเด็นที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจ 2. การพัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2.1 ด้านสื่อการสอน ให้เอกสารผู้เรียนและมอบหมายงานให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง พร้อมเฉลยและให้คำแนะนำในเรื่องที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจ หลังจากที่ได้มีการวิเคราะห์จากเครื่องมือประเมินชั้นเรียน รวมถึงการใช้สื่อวีดีทัศน์ การพาผู้เรียนไปศึกษาดูงานเพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นภาพ มีความรู้ ความเข้าใจ ในบทเรียนดีขึ้น 2.2 ด้านวิธีการสอน หลังจากที่ได้มีการวิเคราะห์เครื่องมือประเมินชั้นเรียนแต่ละครั้งแล้ว ผู้สอนได้ใช้คำถามในการเรียนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน ทบทวน เชื่อมโยงเนื้อหาที่เรียนไปแล้วตลอดเวลา ใช้ผังแสดงเหตุและผล (Cause-and-Effect Diagram) มาประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักการเชื่อมโยงเนื้อหาที่ได้ศึกษาไปแล้วในบทเรียนก่อน ว่าเกิดการเชื่อมโยงกันอย่างไร รวมไปถึงมีการมอบหมายประเด็นให้ผู้เรียนค้นคว้าหรือศึกษาล่วงหน้า และ ให้ความสำคัญกับการแจ้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนทราบ 2.3 ด้านการประเมินผล นำผลการประเมินมาจัดกลุ่มทำกิจกรรมโดยให้แต่ละกลุ่มมีผู้เรียนที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน ใช้ผลการประเมินเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ สภาพแวดล้อมในการเรียนของผู้เรียน รวมถึงนำผลการประเมินมาจัดสอนเสริมในประเด็นที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1683
Appears in Collections:งานวิจัยในชั้นเรียน

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
สรพล บูรณกูล.pdf341.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.