Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1694
Title: ปัญหากฎหมายในการดำเนินธุรกิจจำหน่ายเครื่องยนต์และอะไหล่รถใช้แล้ว
Authors: อัครเดช วัฒนกุลศิริ
Keywords: ปัญหากฎหมาย
ธุรกิจจำหน่ายเตรื่องยนต์
อะไหล่รถใช้แล้ว
Issue Date: 14-May-2553
Abstract: การศึกษาปัญหากฎหมายในการดำเนินธุรกิจจำหน่ายเครื่องยนต์และอะไหล่รถใช้แล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและความสำคัญของปัญหาการดำเนินธุรกิจจำหน่ายเครื่องยนต์และอะไหล่รถยนต์ใช้แล้ว ตลอดถึงธุรกิจอู่ซ่อมรถ มีการศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการกระทำละเมิด การลงโทษทางแพ่ง ทฤษฎีการทำผิดทางอาญาในการโจรกรรม และความผิดทางอาญาประการอื่นในการจำหน่ายเครื่องยนต์และอะไหล่รถยนต์ใช้แล้ว แล้วนำมาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายของการดำเนินธุรกิจจำหน่ายเครื่องยนต์และอะไหล่รถยนต์ใช้แล้ว ตลอดถึงธุรกิจอู่ซ่อมรถ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายเครื่องยนต์และอะไหล่รถยนต์ใช้แล้ว และธุรกิจอู่ซ่อมรถ ผลจากการศึกษาพบว่า 1. การเริ่มต้นธุรกิจจำหน่ายเครื่องยนต์ และอะไหล่รถยนต์ใช้ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 ที่บัญญัติกำหนดให้มีการจดทะเบียนพาณิชย์ การค้า แต่ตาม พระราชบัญญัติฉบับนี้ ไม่มีการแบ่งแยกสินค้าเครื่องยนต์และอะไหล่รถยนต์ใช้แล้ว 2. การดำเนินธุรกิจจำหน่ายเครื่องยนต์ และอะไหล่รถยนต์ใช้แล้วไม่มีกฎหมายโดยตรง คงมีเพียงกฎหมายข้างเคียงที่นำมาปรับใช้ คือ พระราชบัญญัติ ควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 3. การควบคุมรักษาสิ่งแวดล้อมรองรับในการจำหน่ายเครื่องยนต์และอะไหล่รถยนต์รถใช้แล้ว ที่อาจก่อมลพิษได้ ไม่อยู่ในบังคับของ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 4. มาตรการในการกำหนดภาษีในการนำเข้า มีระเบียบกฎเกณฑ์จำนวนมาก ไม่เอื้อต่อผู้สุจริต การสำแดงสินค้าที่นำเข้า การคำนวณฐานกำหนดภาษีไม่ชัดเจน สภาพความเก่ามาก เก่าปลานกลาง และเก่าน้อย ของเครื่องยนต์และอะไหล่รถยนต์ ทั้งหมดเสียในอัตราที่เท่ากัน อัตราภาษีที่ใช้ไม่เอื้อต่อการนำเครื่องยนต์และอะไหล่รถยนต์ เข้ามาใช้ประดิษฐ์ คิดค้น ดัดแปลงเป็นสิ่งใหม่ 5. ความรับผิดชอบของผู้ที่กระทำโดยสุจริต จากการปลอมแปลง ฉ้อโกง รับซื้อของโจรจากการซื้อและจำหน่ายเครื่องยนต์และอะไหล่รถยนต์รถใช้แล้ว ผู้ค้าเครื่องยนต์และอะไหล่รถยนต์อาจทำการซื้อต่อมาจากผู้ค้าของเก่า หรือผู้ที่ถอดชิ้นส่วนมาขายต่อให้ทั้งสุจริต และทุจริต ถือว่าเป็นผิดฐานรับของโจร 6. กฎหมายไม่ได้ให้ความคุ้มครองความเสียหาย ของผู้ที่กระทำโดยสุจริต ผู้ค้าของเก่า ผู้ค้าเครื่องยนต์และอะไหล่รถยนต์ใช้แล้วอาจหลงผิดรับซื้อเครื่องยนต์และอะไหล่รถยนต์รถใช้แล้ว ชิ้นส่วนที่ถอดขาย จากผู้กระทำการปลอมแปลง ผู้ฉ้อโกง ผู้ทำการโจรกรรม ผู้รับของโจร แล้วมีการกระทำต่อ ๆ กันมา 7. การลงโทษผู้กระทำความผิดในการปลอมแปลงเลขหมายเครื่องยนต์ การทำปลอมแปลงแก้ไขคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ ถือว่าเป็นการปลอมแปลงทางเอกสาร ที่มีความผิดทางอาญา และทำการแก้ไข เลขหมายที่กำกับไว้ในตัวถังรถ เลขหมายกำกับเครื่องยนต์ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 8. อู่ซ่อมรถที่หาซื้ออะไหล่ที่ใช้แล้วอาจเกิดกรณีนำอะไหล่ เครื่องยนต์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดมาใช้ เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถที่นำรถไปให้อู่ซ่อมรถทำการซ่อมโดยสุจริตอาจต้องได้รับผลประทบจากการกระทำผิดของผู้ประกอบธุรกิจอู่ซ่อมรถ ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 ในการจดทะเบียนพาณิชย์ การค้าเครื่องยนต์และอะไหล่รถยนต์ใช้แล้ว ให้แยกไปต่างหาก 2. ควรออกประกาศระเบียบและให้มีการคุ้มครองผู้บริโภค เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจจำหน่ายเครื่องยนต์ และอะไหล่รถยนต์ใช้แล้วโดยตรง 3. ควรมีการควบคุมรักษาสิ่งแวดล้อมรองรับในการจำหน่ายเครื่องยนต์และอะไหล่รถยนต์รถใช้แล้ว ให้อยู่ในบังคับของ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 4. ควรกำหนดมาตรการในการกำหนดภาษีในการนำเข้า เช่น การคำนวณ สภาพความเก่าของเครื่องยนต์และอะไหล่รถยนต์ ให้เหมาะต่อการนำเข้าเพื่อการประดิษฐ์ 5. ควรมีการลดประเภทรถที่ขอจดทะเบียน ด้วยการรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และลักษณะรถที่จะนำมาตรวจสภาพ และขอจดทะเบียน หรือรถที่มีการดัดแปลง ควรมีสถาบันอิสระ ตรวจสอบ และสามารถรับรองการใช้งาน 6. ควรมีมาตรการป้องกัน ผู้ที่กระทำโดยสุจริต ไม่ต้องต่อสู้คดีในฐานความผิดรับของโจร มีการคุ้มครองความเสียหายจากความหลงผิดซื้อสินค้าที่ถูก ผู้ปลอมแปลง ผู้รับซื้อของโจร และความผิดประการอื่น รวมถึงควรกำหนดความรับผิดลงโทษเพิ่มค่าปรับ เพิ่มโทษจำคุก ผู้กระทำความผิด 7. ควรเพิ่มบทบัญญัติกำหนดลงโทษผู้กระทำความผิดตัดแปะ ตัดต่อ เลขหมายที่กำกับไว้ในตัวถังรถ เลขหมายกำกับเครื่องยนต์ ด้วยวิธีการต่างๆให้ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ให้มีความผิดเท่ากับที่บัญญัติไว้ในฐานความผิดการปลอมแปลงเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา 8. ควรมีกฎหมายควบคุมการดำเนินธุรกิจจำหน่ายเครื่องยนต์ และอะไหล่รถยนต์ใช้แล้วเป็นการเฉพาะ กฎหมายใหม่ควรที่จะเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การตรวจสอบเอกสารทางทะเบียน การตรวจสอบความถูกต้องของสภาพรถ สภาพตัวถังรถ สภาพเครื่องยนต์ ยอมรับในการดัดแปลง การเปลี่ยนแปลงการใช้งาน มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้เจ้าพนักงานสามารถเข้าตรวจสอบควบคุมได้ และควรกำหนดโทษของผู้กระทำความผิด
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1694
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf59.52 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf62.37 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf30.92 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf37.32 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf89.78 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf197.37 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf320.58 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf117.44 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf80.87 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf63.35 kBAdobe PDFView/Open
11profile.pdf28.19 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.