Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1707
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจำหน่ายพัสดุ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535: ศึกษากรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Authors: พัลลภ นาคทรัพย์
Keywords: ปัญหากฎหมาย
การจำหน่ายพัสดุ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Issue Date: 16-May-2553
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจำหน่ายพัสดุตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535: ศึกษากรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผลการศึกษา พบว่าการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการจำหน่ายพัสดุเกิดการบังคับใช้ตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ที่ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เช่น การจำหน่ายโดยคิดอัตราค่าเสื่อมสภาพร้อยละ 20 จากราคาซื้อหรือได้มาครั้งแรกเป็นราคาประเมิน ขั้นต่ำในการขายทอดตลาดเพราะปัจจุบันราคาพัสดุครุภัณฑ์ที่ใช้ในราชการสำนักงานตำรวจ แห่งชาติได้ปรับราคาสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจจึงต้องมีการกำหนดคิดอัตราค่าเสื่อมเพิ่มขึ้นใหม่ ปัญหาการสืบราคาจากผู้ประกอบอาชีพซื้อขายจริงระเบียบกำหนดให้เพียง 3 รายรวมถึงการเช่า อสังหาริมทรัพย์ (โกดัง) เพื่อใช้เป็นที่เก็บสิ่งของหลวงเพื่อความปลอดภัยของพัสดุเนื่องจากสถานที่ เก็บคับแคบไม่เพียงพอและปัญหาการอนุมัติว่าจะใช้ตำแหน่งใดเป็นผู้อนุมัติเพราะกฎหมายไม่ได้ ระบุตำแหน่งใดไว้เป็นการโดยเฉพาะตลอดจนการประกาศเผยแพร่ในการปิดประกาศการประมูล ขายทอดตลาดที่จำกัดเฉพาะในวงแคบเพียงสถานที่ที่จะทำการขายทอดตลาดและปัญหาสุดท้ายสิ่ง ที่จำเป็นที่สุดคือบทบาทของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการจำหน่ายพัสดุเองในการใช้อำนาจไปในทางที่ มิชอบในการปฏิบัติหน้าที่ปล่อยให้มีการเอื้อผลประโยชน์แก่พวกพ้องตนเองมีการล็อคสเป็คในการ จำหน่ายพัสดุ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายอย่างละเอียดพบว่า ควรแก้ไขปรับปรุง ระเบียบเสียใหม่ โดยกำหนดให้มีการคิดอัตราค่าเสื่อมเพิ่มขึ้นเสียใหม่เป็นร้อยละ 30 จากราคาที่ซื้อหรือได้มาครั้งแรกตามภาวะเศรษฐกิจเพื่อให้การจำหน่ายพัสดุรวดเร็วยิ่งขึ้นราคาไม่แพงเกินไปและ ให้กำหนดผู้สืบราคาประเมินพวกที่มีอาชีพซื้อขายอย่างน้อย 6 รายขึ้นไปจะทำให้มีการจำหน่ายที่ สะดวกขึ้น ตามด้วยการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (โกดัง) ถ้าระบบจำหน่ายที่รวดเร็วถูกต้องตามระเบียบ แล้วการเช่าสถานที่ก็จะใช้พื้นที่เก็บสิ่งของหลวงน้อยลงค่าใช้จ่ายส่วนนี้จึงน้อยลงด้วยจากเดือนละ 20,000 บาท กำหนดให้เหลือ 10,000 บาท ทำให้ช่วยรัฐประหยัดงบประมาณในการเช่าดังกล่าว การจำหน่ายพัสดุในหน่วยงานของรัฐมีการกำหนดวงเงินของผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถานีตำรวจ ไว้หลายตำแหน่งวงเงินสมควรที่จะกำหนดเพียงตำแหน่งเดียวคือ ผู้บังคับการซึ่งเป็นหัวหน้าส่วน ราชการเป็นผู้สั่งให้มีการจำหน่ายเพียงตำแหน่งเดียวเพื่อให้พัสดุที่มีราคาสูงมากๆ ได้จำหน่ายไปใน คราวเดียวกันตามวงเงินที่ได้คือไม่เกิน 1,000,000 บาท และการประกาศเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พัสดุที่จะขายทอดตลาดควรกำหนดให้มีมากกว่าหนึ่งสถานที่ อาจรวมถึงลงเว็บไซด์เพื่อให้มี ผู้สนใจมาสู้ราคามากขึ้นเกิดผลดีต่อหน่วยราชการทำให้มีการขายทอดตลาดได้คล่องตัวมากขึ้น ปัญหาสุดท้ายที่พบและสำคัญที่สุดที่ต้องมีบทกำหนดโทษให้สูงขึ้นทั้งทางอาญาและทางแพ่ง เพื่อ มิให้เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจเกี่ยวกับพัสดุใช้อำนาจไปทางที่มิชอบไม่เป็นธรรมและโปร่งใสในการ จำหน่ายพัสดุที่ต้องวางตัวเป็นกลางไม่เห็นแก่สินบนผลประโยชน์สิ่งอื่นใด
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1707
Appears in Collections:สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf35.1 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf73.22 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf42.23 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf49.63 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf94.2 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf123.35 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf202.36 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf96.35 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf64.5 kBAdobe PDFView/Open
11profile.pdf38.91 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf75 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.