Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1710
Title: มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
Authors: พิศาล หงษ์ฝาแก้ว
Keywords: กฎหมาย
รัฐธรรมนูญ
การชุมนุม
พื้นที่สาธารณะ
Issue Date: 18-May-2553
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิจัยเอกสาร ซึ่งเป็นการศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยมีประเด็นในการศึกษาคือ ปัญหาเกี่ยวกับการขัดกันของกฎหมาย ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ปัญหาเกี่ยวกับการไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ปัญหาเกี่ยวกับการขออนุญาตการชุมนุมและปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ในการชุมนุม ผลการศึกษา พบว่า การชุมนุมในพื้นที่สาธารณะนั้น ยังไม่มีการออกกฎหมายเฉพาะเพื่อนำมาบังคับใช้ ภาครัฐควรหามาตรการที่สำคัญเพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการชุมนุมในที่สาธารณะของประชาชน ควรมีมาตรการการระดมกำลังเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในการควบคุมฝูงชนเมื่อเกิดเหตุการณ์ชุมนุมเกิดขึ้น มีมาตรการการเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครจากประชาชนในการหาข่าวเกี่ยวกับการชุมนุมของประชาชนที่อาจจะเกิดขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ เพิ่มมาตรการในการกำชับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การชุมนุมอยู่ในพื้นที่จำกัดไม่ขยายขอบเขตการชุมนุม มีมาตรการในการประชาสัมพันธ์เพื่อการสร้างความรู้สึกความเข้าใจถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการชุมนุมของประชาชน และการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสามารถแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ได้ที่หน่วยงานของภาครัฐในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด ควรออกกฎหมายเฉพาะเพื่อนำมาบังคับใช้เกี่ยวกับการควบคุมการชุมนุมในที่สาธารณะของประชาชน ซึ่งได้แก่ ห้ามมีการชุมนุมใกล้กับสถานที่สำคัญของราชการและชุมชนเป็นระยะทางที่ห่างไกลพอสมควรเพื่อมิให้เกิดอันตรายจากการชุมนุมได้ ห้ามมิให้มีการชุมนุมในช่วงเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ลงจนกระทั่งถึงช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ ในการชุมนุมในแต่ละครั้งจะต้องมีผู้รับผิดชอบในการชุมนุม เมื่อประชาชนมีประสงค์ที่ต้องการจะชุมนุมจะต้องมีการแสดงความจำนงด้วยการยื่นหนังสือต่อเจ้าหน้าที่อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมด้วยระบุเหตุผลที่ต้องการชุมนุม ระบุจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมการชุมนุม รายชื่อ และที่อยู่ให้ชัดเจน โดยยื่นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน มิให้ผู้ชุมนุมสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงหรือประชาชนที่ผ่านไปมา มิให้มีการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะในลักษณะที่กีดขวางต่อการจราจรและก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ใช้รถ ใช้ถนน ในการชุมนุมของประชาชนในแต่ละครั้งผู้ชุมนุมควรใช้สถานที่หรือบริเวณที่ทางราชการจัดไว้ให้เท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อความสะดวก ปลอดภัยของผู้ชุมนุม และเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถการควบคุมการชุมนุมมิให้เกิดความรุนแรง เมื่อผู้ชุมนุมมีการกระทำผิดกฎหมายเกิดขึ้นในระหว่างที่มีการชุมนุม เจ้าหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับชุมนุมสามารถที่จะสั่งระงับการชุมนุมได้
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1710
Appears in Collections:สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf68.88 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf90.8 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf56.2 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf53.7 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf120.39 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf280.77 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf194.72 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf121.64 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf79.05 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf82.63 kBAdobe PDFView/Open
11appen.pdf67.94 kBAdobe PDFView/Open
12profile.pdf44.15 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.