Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1713
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเด็กระหว่างการสอบสวน ศึกษากรณีเด็กเป็นผู้ต้องหา
Authors: ชัชญาภา พันธุมจินดา
Keywords: กฎหมาย
การคุ้มครอง
สิทธิเด็ก
การสอบสวน
Issue Date: 18-May-2553
Abstract: การดำเนินคดีอาญากับเด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญานั้น มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินคดีที่แตกต่างจากการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่ เพราะการดำเนินคดีอาญากับเด็กหรือเยาชนมีจุดมุ่งหมายเพื่อการฟื้นฟูสภาพทั้งร่างกายและจิตใจและให้เด็กกลับคืนสู่สังคมต่อไป มิใช่การดำเนินคดีเพื่อลงโทษให้หลาบจำดังเช่นผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่ แม้ว่าจะมีความพยายามในการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเด็กที่เป็นผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน ทั้งเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในการให้ทนายความเข้าร่วมการสอบปากคำในชั้นสอบสวน การให้ผู้ที่เด็กไว้วางใจเข้ารับฟังการสอบปากคำ การแยกการสอบสวนที่ให้กระทำเป็นสัดส่วนการถามคำให้การผู้ต้องหาที่เป็นเด็ก ต้องถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้อธิบายคำถามของพนักงานสอบสวนมิให้เด็กต้องได้รับการกระทบกระเทือนใจจากคำถามที่พนักงานสอบสวน แต่การดำเนินการในการสอบสวนเด็กที่เป็นผู้ต้องหายังมีปัญหาข้อกฎหมายที่ก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนสิทธิของเด็กที่เป็นผู้ต้องหาดังนี้ 1.ปัญหาการนำชี้สถานที่เกิดเหตุและการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ ซึ่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ทำให้ยังมีการนำผู้ต้องหาที่เป็นเด็ก นำชี้สถานที่เกิดเหตุและทำแผนประกอบคำรับสารภาพโดยเปิดเผยต่อหน้าสาธารณชน อันเป็นการประจานเด็กและตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2548 ได้วางแนวคำและตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2548 ได้วางแนวคำวินิจฉัยว่า การนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบการดำเนินคดีไม่ใช่การสอบถามปากคำและไม่ใช่การชี้ตัวผู้ต้องหาซึ่งมีบทบัญญัติโดยเฉพาะจึงไม่ต้องมี สหวิชาชีพเข้าร่วมในการดำเนินการดังกล่าว 2. แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 /2ประกอบมาตรา 133 ทวิ จะกำหนดให้การสอบปากคำเด็กที่เป็นผู้ต้องหาต้องมีบุคคลที่เด็กร้องขออยู่ด้วยในการถามปากคำ เพื่อให้เด็กมีความอุ่นใจและผ่อนคลายในขณะถูกถามปากคำ แต่เนื่องจากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้กำหนดว่าบุคคลที่เด็กร้องขอจะเป็นผู้ใด ซึ่งต่างจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศสหรัฐอเมริกาที่กำหนดให้การสอบสวนเด็กต้องกระทำต่อหน้าพ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง 3. แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จะกำหนดให้มีทนายความเข้าร่วมการสอบสวนแต่ก็มิได้มีระยะเวลาในการพบและให้คำปรึกษากับเด็กเพื่อให้เด็กทราบถึงสิทธิหน้าที่ของเด็กในการสอบปากคำ ทำให้เห็นว่าการมีทนายความเข้าร่วมการสอบปากคำเด็กในปัจจุบันได้กระทำเพื่อให้ครบองค์ประกอบตามกฎหมายเท่านั้นไม่ได้มีการดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กที่เป็นผู้ต้องหาอย่างแท้จริง ดังนั้น หากมีการกำหนดไม่ให้การนำชี้ที่เกิดเหตุและการทำแผนประกอบคำรับสารภาพในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนเป็นผู้ต้องหาในที่สาธารณชนและในกรณีที่มีการนำชี้สถานที่เกิดเหตุและทำแผนประกอบคำรับสารภาพของเด็กหรือเยาวชนที่เป็นผู้ต้องหา ต้องมีสหวิชาชีพและทนายความเข้าร่วมดำเนินการด้วย และบุคคลที่เด็กร้องขอให้เข้าร่วมการสอบสวนควรจะเป็นพ่อ แม่ หรือผู้ปกครองของเด็ก นอกจากนี้ต้องกำหนดระยะเวลาให้เด็กที่เป็นผู้ต้องหาได้พบและปรึกษาทนายความก่อนการสอบสวนด้วย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1713
Appears in Collections:สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf33.96 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf72.71 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf40.17 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf64.46 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf86.07 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf244.86 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf303.7 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf160.82 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf83.36 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf71.19 kBAdobe PDFView/Open
11appen1.pdf76.08 kBAdobe PDFView/Open
12appen2.pdf49.49 kBAdobe PDFView/Open
13appen3.pdf158.48 kBAdobe PDFView/Open
14appen4.pdf115.86 kBAdobe PDFView/Open
15appen5.pdf154.27 kBAdobe PDFView/Open
16appen6.pdf101.35 kBAdobe PDFView/Open
17appen7.pdf71.04 kBAdobe PDFView/Open
18appen8.pdf79.52 kBAdobe PDFView/Open
19appen9.pdf104.66 kBAdobe PDFView/Open
20appen10.pdf48.7 kBAdobe PDFView/Open
21appen11pdf.pdf44.54 kBAdobe PDFView/Open
22profile.pdf40.07 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.