Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1714
Title: ปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551ศึกษาเฉพาะกรณีการควบคุมสถานที่
Authors: ยุทธพล บุญเกิด
Keywords: กฎหมาย
พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551
การควบคุมสถานที่
การบังคับใช้
Issue Date: 18-May-2553
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 โดยเฉพาะในส่วนของการควบคุมสถานที่การจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การควบคุมสถานที่การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ มาตรการ และนโยบาย ต่างๆ ที่รัฐมีวัตถุประสงค์ในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บทกำหนดโทษ ที่มีทั้งโทษจำคุก และโทษปรับ ซึ่งถือเป็นมาตรการทางกฎหมายในลงโทษที่ค่อนข้างรุนแรงต่อผู้ที่ฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่ในทางปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมายกลับมีผลที่ตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิง ยังไม่มีความสอดคล้องกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบันเท่าที่ควร ผลจากการศึกษาพบว่า ปัญหาของการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามที่รัฐบาลได้วางนโยบายในการแก้ไขปัญหา ยังไม่มีประสิทธิภาพและบังเกิดผลที่ชัดเจน การบังคับใช้กฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ไม่สามารถที่จะควบคุมปัญหาให้ตรงตามวัตถุประสงค์และตามเจตนารมณ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้ ด้วยเหตุจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยกันหลายประการ ทั้งจากตัวบทกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ สภาพแวดล้อมของสังคมในแต่ละภูมิภาค วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมท้องถิ่นชนบทและสังคมเมืองที่มีความแตกต่างกัน ประเพณี วัฒนธรรม ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ในการบังคับใช้กฎหมายให้มีความเสมอภาค ยุติธรรม และทัดเทียมกันในสังคม การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย รวมถึงนโยบายของรัฐยังมีประเด็นปัญหาตามนโยบายเปิดประเทศเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แนวมาตรการต่างๆ ที่รัฐออกมาควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังไม่มีผลการปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยกันหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2535 พระราช- บัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2546 เป็นต้น แต่กฎหมายเหล่านี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่ลดการบริโภคและรักษาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่อย่างใด การบังคับใช้กฎหมายยังมีผลประโยชน์แอบแฝงของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามสถานบันเทิง ผับ บาร์ต่างๆ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค รวมถึงผู้ประกอบในสถานบริการต่างๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงไม่มีความเกรงกลัวต่อตัวบทกฎหมายที่จะลงโทษต่อผู้ที่ฝ่าฝืนแต่อย่างใด จากผลของการศึกษานี้ควรมีการรณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจโทษและพิษภัยของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงการบังคับใช้ พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 รวมถึงบทกำหนดโทษ ที่กำหนดไว้ทั้งโทษจำคุก และโทษปรับ และควรมีการลงโทษอย่างจริงจังต่อผู้ที่ฝ่าฝืนตามบทบัญญัติดังกล่าว
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1714
Appears in Collections:สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf43.1 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf94.73 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf56.96 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf58.56 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf108.29 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf180.82 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf245.21 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf157.83 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf79.89 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf79.78 kBAdobe PDFView/Open
11appen.pdf136.61 kBAdobe PDFView/Open
12profile.pdf58.69 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.