Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1968
Title: ผลของการทดสอบย่อยและการให้ข้อมูลป้อนกลับที่มีต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความมีวินัยในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาความน่าจะเป็นและสถิติ
Other Titles: The Results of Sub - Test and Information Feedback that Affect to Motivate Achievement Learning Discipline and Learning Achievement in Probability and Statistics Subject
Authors: อำนาจ วังจีน
Keywords: ผลของการทดสอบย่อยและการให้ข้อมูลป้อนกลับ ความมีวินัยในการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
results of sub - test and information feedback , motivate achievement , learning discipline , learning achievement
Issue Date: 2553
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาความน่าจะเป็นและสถิติของผู้เรียนทำใช้วิธีการสอนแบบมีการทดสอบย่อยและการให้ข้อมูลป้อนกลับ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ผลการทดสอบย่อยและการให้ข้อมูลป้อนกลับ กับ ความมีวินัยในการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาความน่าจะเป็นและสถิติ 3) ศึกษาทัศนคติของผู้เรียนต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ประชากร คือนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะสารสนเทศสาสตร์และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่เรียนวิชาความน่าจะเป็นและสถิติ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 240 คน เลือกมาเป็นตัวอย่างแบบเจาะจง 1 กลุ่ม จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามทัศนคติของผู้เรียนต่อวิชาคณิตศาสตร์และ แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และแบบวัดความมีวินัยในการเรียน มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และความเชื่อมั่นเท่ากับ .77 .88 และ .76 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีและ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1.การเรียนแบบมีการทดสอบย่อยและมีการให้ข้อมูลป้อนกลับ ทำให้นักศึกษามีระดับความมีวินัยในการเรียนเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความมีวินัยในการเรียน ที่มีค่าสูงสุดคือ เรื่องการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ สม่ำเสมอและมีค่าต่ำสุด คือ เรื่องการทำการบ้านด้วยตนเอง 2.การเรียนแบบมีการทดสอบย่อยและมีการให้ข้อมูลป้อนกลับ ทำให้แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าสูงสุดคือ เรื่องเมื่อทำสิ่งใดแล้วนักศึกษาจะพยายามทำให้ดีที่สุด และมีค่าต่ำสุด คือ เรื่องความรู้สึกไม่ท้ออยากทำงานนั้นอีกเมื่อประสบความล้มเหลว 3.นักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบมีการทดสอบย่อย และมีการให้ข้อมูลป้อนกลับ มีทัศนคติต่อวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับมาก โดย มีระดับทัศนคติเฉลี่ยสูงที่สุดในเรื่องคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องใช้สมองมาก ช่วยให้ ทุกคนรอบคอบ และน้อยที่สุดในเรื่องการเรียนคณิตศาสตร์ไม่เป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย 4.สัดส่วนของนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาความน่าจะเป็นและสถิติ สูงกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม เท่ากับ .70 5.ผลการทดสอบย่อยและการแจ้งข้อมูลป้อนกลับ กับความมีวินัยในการเรียน และ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ความน่าจะเป็นและสถิติ มีความสัมพันธ์กันเท่ากับ .171 .351 และ .685 โดยผลของการทดสอบย่อยและการให้ข้อมูลป้อนกลับมีความสัมพันธ์กับตัวแปรทุกตัวยกเว้นตัวแปรความมีวินัยในการเรียน
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1968
Appears in Collections:งานวิจัยในชั้นเรียน

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
อ.อำนาจ วังจีน.pdfอ.อำนาจ วังจีน117.45 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.