Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2154
Title: การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Use of Online Databases by Graduate Students in the University Libraries in Bangkok
Authors: ประภัสสร สาระนาค
Keywords: การใช้ฐานข้อมูล
ความต้องการฐานข้อมูล
ฐานข้อมูลออนไลน์
ห้องสมุดมหาวิทยาลัย
Issue Date: May-2554
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Abstract: การวิจัยเรื่องการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้ ความต้องการ ปัญหาของการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ และเปรียบเทียบสภาพการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัย 19 แห่ง ปีการศึกษา 2553 จำนวน 397 คน ได้รับแบบสอบถามคืนมา 364 คน คิดเป็นร้อยละ 92 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานใช้ไคสแควร์ X2 และ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ นักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดให้บริการจากการรับรู้ผ่านโฮมเพจของห้องสมุด มีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อทำวิทยานิพนธ์/ทำรายงาน โดยเรียนรู้วิธีการสืบค้นจากการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านโฮมเพจของห้องสมุด และใช้ห้องสมุดเป็นสถานที่ในการสืบค้น สัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง ใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมง ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเอกสารฉบับเต็ม โดยมีการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์อยู่ในระดับน้อย ในขณะที่ฐานข้อมูล ThaiLIS มีการใช้มากที่สุด นักศึกษาส่วนใหญ่มีความต้องการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ด้านความสะดวกในการค้นหาข้อมูล ด้านลักษณะของฐานข้อมูล อยู่ในระดับมาก ในขณะที่ความต้องการด้านฐานข้อมูลอยู่ในระดับปานกลาง ความต้องการความสะดวกในการค้นหาข้อมูลที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือสามารถสืบค้นข้อมูลได้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก ทุกเวลา ทุกสถานที่ ความต้องการด้านลักษณะของฐานข้อมูลที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือเนื้อหาข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ รองลงมาคือมีข้อมูลหลากหลายสาขาวิชาและทันสมัย ส่วนความต้องการด้านฐานข้อมูลที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือฐานข้อมูล ThaiLIS รองลงมาคือฐานข้อมูล Scopus และฐานข้อมูล Science Direct นักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ด้านฐานข้อมูล ด้านเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ ด้านผู้ให้บริการ ด้านผู้ใช้บริการ อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยด้านฐานข้อมูลที่มีค่าเฉลี่ยปัญหามากที่สุดคือไม่ทราบฐานข้อมูลใดที่ตรงกับความต้องการ และผลลัพธ์ข้อมูลไม่ตรงต่อความต้องการ ด้านเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ที่มีค่าเฉลี่ยปัญหามากที่สุดคือปัญหาการใช้เวลาดาวน์โหลดข้อมูลนาน รองลงมาคือจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์มีน้อย ด้านผู้ให้บริการที่มีค่าเฉลี่ยปัญหามากที่สุดคือการขาดการประชาสัมพันธ์ฐานข้อมูล รองลงมาคือไม่มีเอกสารแนะนำการสืบค้นข้อมูลอย่างละเอียด และด้านผู้ใช้บริการที่มีค่าเฉลี่ยปัญหามากที่สุดคือการใช้คำค้น คำเชื่อม รองลงมาคือไม่มีความรู้และทักษะในการใช้ฐานข้อมูล เมื่อเปรียบเทียบสภาพการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของนักศึกษาภาครัฐและเอกชน พบว่า นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีสภาพการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์แตกต่างกับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนบางรายการ เช่น การรับรู้แหล่งให้บริการฐานข้อมูล วิธีการเรียนรู้การสืบค้นฐานข้อมูล สถานที่สืบค้นฐานข้อมูล รูปแบบผลลัพธ์จากการใช้ฐานข้อมูล รายชื่อที่เคยใช้และระดับการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ ยกเว้น วัตถุประสงค์การใช้ฐานข้อมูล วิธีการเข้าใช้ฐานข้อมูล ความถี่ในการใช้ฐานข้อมูล เวลาการสืบค้นฐานข้อมูล ที่พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2154
Appears in Collections:รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ประภัสสร สาระนาค.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.