Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2451
Title: ปัญหาและความต้องการของผู้ใช้บริการที่มีต่อรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล
Other Titles: Problems and requirements of the passengers of the Chaloem Ratchamongkhon Metropolitan Rapid Transit Line.
Authors: ภัทร บัวแย้ม
Keywords: รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
การบริการสาธารณะ
ทัศนคติ--ผู้ใช้บริการ
ระบบขนส่งมวลชน
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
Issue Date: 13-July-2554
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง “ปัญหาและความต้องการของผู้ใช้บริการที่มีต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล” ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาระดับของปัญหาและความต้องการ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาและความต้องการของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จำนวน 200 คน การวิเคราะห์ผลการศึกษาใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่ออธิบายผลการศึกษา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์การผันแปรหรือการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA) และการวิเคราะห์การจำแนกแบบพหุ (Multiple Classification Analysis: MCA) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษามีดังนี้ ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี เป็นโสด จบการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้ส่วนบุคคลโดยเฉลี่ยต่อเดือน อยู่ระหว่าง 15,000 – 30,000 บาท ประสบการณ์การใช้บริการรถไฟฟ้า สายเฉลิมรัชมงคลของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่ใช้บริการน้อยกว่า 6 ครั้ง / เดือน นิยมใช้ตั๋วเดินทางเที่ยวเดียว มีระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า น้อยกว่า 15 นาที สถานีต้นทางที่ใช้เป็นประจำ คือ สถานีสวนจตุจักร สถานีปลายทางที่ใช้เป็นประจำ สถานีสุขุมวิท และวิธีการเดินทางเพื่อมาขึ้นรถไฟฟ้า ส่วนใหญ่ใช้รถโดยสารสาธารณะ เหตุผลของการใช้หรือไม่ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พบว่า ส่วนใหญ่มีเหตุผลในการใช้บริการในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ใช้บริการ คือ สามารถประหยัดเวลาในการเดินทาง ปัญหาของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พบว่า ในภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีปัญหาด้านราคามากที่สุด รองลงมา คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านความปลอดภัย ด้านบริการ และด้านสถานีและภายในขบวนรถไฟฟ้า ลำดับ และความต้องการให้ปรับปรุงการให้บริการของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พบว่า ในภาพรวมต้องการให้ปรับปรุงในระดับปานกลาง การทดสอบสมมติฐาน พบว่า อาชีพของผู้ใช้บริการมีอิทธิพลต่อระดับปัญหาและความต้องการของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ร้อยละ 60.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ที่เหลืออีก ร้อยละ 40.40 เกิดจากอิทธิพลของปัจจัยอื่น ๆ และพบว่าระยะเวลาในการใช้บริการของผู้ใช้บริการ และปัจจัยประสบการณ์การใช้บริการและเหตุผลของการใช้บริการร่วมกัน มีอิทธิพลต่อระดับปัญหาและความต้องการของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ร้อยละ 41.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ที่เหลืออีก ร้อยละ 58.20 เกิดจากอิทธิพลของปัจจัยอื่น ๆ
Description: I-X,100 หน้า; 29 ซม.
สารนิพนธ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2451
Appears in Collections:11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ภัทร.zip1.16 MBUnknownView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.