ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2554-08-14T08:46:41Z

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

ปัญหายาเสพติดนับเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของสังคม และความมั่นคงของชาติ ทุกรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและตระหนักในปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ดั้งนั้นจึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติดพ.ศ.2519 และภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายนี้ ได้บัญญัติให้เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) พิจารณาแต่งตั้งเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) จากข้าราชการที่ได้รับมอบหมายภารกิจในการปราบปรามยาเสพติดและพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534 ในเรื่องของการยึดและอายัดทรัพย์สินผู้เกี่ยวข้องคดียาเสพติด โดยเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส) ใช้อำนาจภายใต้บทบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 มาตรา 14 (1) มาตรา 15 ในการปราบปราม จับกุม ผู้ผลิต ผู้ค้าและทำลายเครือข่ายขบวนการค้ายาเสพติด แม้จะสามารถดำเนินภารกิจสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี แต่การใช้อำนาจของเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ก็ยังประสบปัญหาอุปสรรคทางกฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาการใช้อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในการเข้าตรวจค้นเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ โดยไม่มีหมายค้นที่ต้องเข้าขอยกเว้นของกฎหมายที่เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ต้องมีบัตรเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ต้องแสดงบัตรประจำตัวซึ่งมีข้อจำกัดในการเข้าตรวจค้น เคหสถานโดยให้อำนาจคุ้มครองเฉพาะผู้ที่มีบัตรเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เท่านั้น ซึ่งผู้ร่วมตรวจค้นด้วยนั้นไม่มีบัตรพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กฎหมายมิได้ให้อำนาจจึงไม่อาจคุ้มครองจึงทำให้ประสบปัญหาขาดความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ในการเข้าตรวจค้นและยังมีปัญหาในกฎหมายที่ไม่อาจทำให้การปราบปราบยาเสพติดประสบความสำเร็จ คืออำนาจในการควบคุม ตัวผู้ถูกจับตาม มาตรา 15 ที่กฎหมายได้ให้อำนาจในการการสอบสวนขยายผลไว้เพียง 3 วันไม่เพียงพอต่อการขยายผลเพราะในการขยายผลจับกุมต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรจึงจะสามารถทำลายเครือข่ายยาเสพติดให้หมดไปและเมื่อจับกุมผู้ค้ายาเสพติดแล้วก็จะมีการยึดและอายัดทรัพย์ผู้เกี่ยวข้องคดียาเสพติดตาม พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534 ที่บัญญัติถึงการยึดและอายัดทรัพย์สินผู้เกี่ยวข้องคดียาเสพติด แต่ไม่อาจนำมาบังคับใช้ได้ทุกกรณี เนื่องจากผู้ค้ายาเสพติดมักจะหาหนทางในการปกปิดทรัพย์สินที่ได้มาจากการค้ายาเสพติดและในการยึดทรัพย์ผู้เกี่ยวข้องคดียาเสพติดมีขั้นตอนยุ่งยากและหลายขั้นตอนไม่ทันต่อการยึดและอายัดทรัพย์สินได้ทันเวลา ส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายหรือมาตรการต่าง ๆ นั้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จากปัญหาดังกล่าวผู้ศึกษาขอเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาการใช้อำนาจของเจ้าพนักงาน ในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสัมพันธ์ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยควรมีการแก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 ในส่วนของอำนาจของเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในการเข้าค้นเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ตามมาตรา 14 (1) ซึ่งให้อำนาจเจ้าพนักงานผู้ซึ่งเลขาธิการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามระราชบัญญัตินี้และผู้ร่วมปฏิบัติงานมีอำนาจที่สามารถเข้าไปเคหสถาน หรือสถานที่เพื่อตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาล มาตรา 15 ที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานจับกุมขยายผลการจับกุมตามได้ 3 วัน ตาพระราชบัญญัติ ในทำนองเดียวกับอำนาจในการตรวจค้นจับกุมขยายผลของเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดของประเทศสิงค์โปร์ (Central Narcotic Bureau-CBN) ที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดของประเทศสิงค์โปร์ (CNB) มีอำนาจเข้าค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นและมีมาตรการควบคุมบุคคลผู้เป็นตัวการโดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของศาลคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหาดไทยด้วยความเห็นชอบของอัยการ มีอำนาจสั่งควบคุมนายทุนหรือตัวการตัวการค้ายาเสพติดไว้ไม่เกิน 2 ปี และประธานาธิบดีมีอำนาจที่จะขยายระยะเวลาการควบคุมได้อีกครั้งละไม่เกิน 1 ปี และควรมีการแก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ในเรื่องการยึดและอายัดทรัพย์ผู้เกี่ยวข้องคดียาเสพติดเพื่อตัดวงจรในการนำทุนมาเป็นปัจจัยในการค้ายาเสพติดเพื่อที่จะได้ทำลายเครือข่ายยาเสพติดให้หมดไป

คำอธิบาย

คำหลัก

อำนาจหน้าที่, ยาเสพติด, เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

การอ้างอิง