Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2589
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชารดา ประทีปสุขปกรณ์en_US
dc.date.accessioned2554-08-17T09:26:59Z-
dc.date.available2554-08-17T09:26:59Z-
dc.date.issued2554-08-17T09:26:59Z-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2589-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการบังคับใช้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ด้านสุขภาวะอนามัยสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาพบว่า การกำหนดให้คณะกรรมการสาธารณสุขที่สังกัดหน่วยงานราชการส่วนกลาง มีอำนาจในการควบคุม สอดส่อง การทำงานของราชการส่วนท้องถิ่น ตามหลักการกระจายอำนาจสู่ราชการส่วนท้องถิ่น แต่พบว่าการเข้าใจในระบบการทำงานและความแตกต่างของท้องถิ่น การจัดการบริการสาธารณะที่ไม่สอดคล้องกันของแต่ละชุมชนเช่นนี้เมื่อได้กระจายอำนาจให้กับราชการส่วนท้องถิ่นแล้ว กฎหมายก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เพราะยังคงมีขั้นตอนซึ่งควรจะให้การกระจายอำนาจเป็นไปอย่างแท้จริงกลับมิได้มีการกระจายอำนาจตามไปด้วย ตลอดจนอุปสรรคการบังคับใช้กฎหมายในระดับท้องถิ่น ทำให้กระทรวงสาธารณสุขกับกรมอนามัยไม่มีอำนาจใช้กฎหมายได้โดยตรง แต่ต้องใช้อำนาจผ่านราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทยเป็นคนละหน่วยงานกัน ดังนั้นพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 จึงไม่สามารถให้คุณหรือให้โทษกับราชการส่วนท้องถิ่นได้จึงเป็นปัญหาความไม่ชัดเจนของตัวบทกฎหมายทำให้การบังคับใช้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 โดยราชการส่วนท้องถิ่นถูกละเลยไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังพบอุปสรรคในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 44 อนุมาตรา 2 เนื่องด้วยปัจจุบันนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ถือว่าการเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครองหรือการตรวจค้นเคหสถานหรือในที่รโหฐานจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดเจน แต่มาตรา 44 อนุมาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณะสุข พ.ศ.2535 มิได้บัญญัติให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญจึงอาจจะทำให้ไม่มีผลบังคับใช้และยังพบปัญหาเรื่องการเปรียบเทียบคดีที่กฎหมายให้อำนาจเปรียบเทียบคดีได้ทุกฐานความผิดส่งผลให้ผู้กระทำความผิดที่ได้รับผลประโยชน์จากการกระทำไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้กฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุขสิ่งแวดล้อมสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลแล้วผู้ศึกษาเห็นควรจะต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการในระดับท้องถิ่นทุกจังหวัดโดยให้สังกัดหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพียงหน่วยงานเดียวและแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 5 โดยให้เพิ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ด้วย ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 44 อนุมาตรา 2 ให้ชัดเจนและเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 85 ไม่ให้ใช้กับกรณีมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนen_US
dc.subjectเจ้าพนักงานท้องถิ่นen_US
dc.subjectสุขภาวะอนามัยสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535en_US
dc.subjectปัญหาทางกฎหมายen_US
dc.titleปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายของเจ้าพนักงานท้องถิ่นการบังคับใช้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535ด้านสุขภาวะอนามัยสิ่งแวดล้อมen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf33.87 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf69.58 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf44.37 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf56.43 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf104.97 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf248.98 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf537.87 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf211.46 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf81.32 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf106.28 kBAdobe PDFView/Open
11profile.pdf42.24 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.