กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2594
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายการบังคับทางปกครอง: ศึกษากรณีลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มนัสชนก สวัสดิ์วงษ์
คำสำคัญ: ปัญหากฎหมาย
การบังคับทางปกครอง
ลูกหนี้
บุคคลล้มละลาย
วันที่เผยแพร่: 26-สิงหาคม-2554
บทคัดย่อ: การบังคับทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 นั้น มีด้วยกันสองมาตรการ คือ การบังคับทางปกครองตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน ตามมาตรา 57 และการบังคับทางปกครองตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำหรือละเว้นกระทำ ตามมาตรา 58 ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 เมื่อถึงกำหนดชำระแต่ไม่ยอมชำระหรือชำระไม่ครบถ้วน หรือกรณีคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำหรือละเว้นกระทำการและผู้ได้รับคำสั่งทางปกครองไม่กระทำการหรือละเว้นกระทำการจนเจ้าหน้าที่ต้องใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายและเงินเพิ่ม หรือให้มีการชำระค่าปรับทางปกครองแล้วไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วน และรวมถึงกรณีของคำสั่งของฝ่ายปกครองที่เรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้เงินตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 หากผู้ได้รับคำสั่งทางปกครองดังกล่าวไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วน องค์กรฝ่ายปกครองที่ออกคำสั่งนั้น ต้องมีหนังสือเตือนให้ผู้นั้นชำระอีกครั้ง และหากผู้ได้รับคำสั่งทางปกครองยังไม่ยอมชำระหรือชำระไม่ครบถ้วนอีก องค์กรฝ่ายปกครองสามารถใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 กับผู้อยู่ใต้บังคับคำสั่งทางปกครองได้ โดยวิธีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นออกขายทอดตลาดมาชำระเงินต่าง ๆ ให้ครบถ้วน โดยไม่จำต้องฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญตามกฎหมาย ปัญหาทางกฎหมายข้างต้นพบว่า ในขณะที่เจ้าหน้าที่บังคับทางปกครองกำลังดำเนินการใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามกฎหมายวิธีวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองนั้น ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองอาจเป็นลูกหนี้ที่ถูกฟ้องคดีต่อศาลล้มละลายเพื่อขอให้เป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายล้มละลาย เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด หากเจ้าหนี้ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ผลคือเจ้าหนี้หมดสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้นั้น ซึ่งในกรณีของหนี้เงินตามคำสั่งทางปกครองก็อยู่ในบังคับของกฎหมายดังกล่าวด้วย ทำให้พบปัญหาทางกฎหมายหลายประการ คือ ปัญหาสถานะทางกฎหมายในคดีล้มละลายของคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน ได้แก่ มูลหนี้ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้เกิดเมื่อใด เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ และผลการปลดล้มละลายตามมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ปัญหาการยึดหรืออายัดซ้ำระหว่างเจ้าหน้าที่บังคับทางปกครองกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และปัญหาเกี่ยวกับอำนาจของเจ้าหน้าที่ในการยื่นฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย ฉะนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 เพื่อให้มาตรการบังคับทางปกครองนั้น มีผลใช้บังคับที่ชัดเจนมีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อไป
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2594
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1title.pdf30.82 kBAdobe PDFดู/เปิด
2abstract.pdf72.88 kBAdobe PDFดู/เปิด
3acknow.pdf36.85 kBAdobe PDFดู/เปิด
4content.pdf57.25 kBAdobe PDFดู/เปิด
5chap1.pdf75.54 kBAdobe PDFดู/เปิด
6chap2.pdf223.24 kBAdobe PDFดู/เปิด
7chap3.pdf190.57 kBAdobe PDFดู/เปิด
8chap4.pdf162.78 kBAdobe PDFดู/เปิด
9chap5.pdf68.14 kBAdobe PDFดู/เปิด
10bib.pdf85.63 kBAdobe PDFดู/เปิด
11profile.pdf51.15 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น