Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2599
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมะลิวัลย์ โกสุมภ์en_US
dc.date.accessioned2554-08-28T07:51:57Z-
dc.date.available2554-08-28T07:51:57Z-
dc.date.issued2554-08-28T07:51:57Z-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2599-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งถือว่าเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองตามกฎหมายมหาชน เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการออกคำสั่งอนุมัติ อนุญาต ให้ดำเนินการเกี่ยวกับอาคาร ตลอดจนอำนาจหน้าที่ในการควบคุม ดูแล และบังคับการให้การก่อสร้างอาคารมีมาตรฐานตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กฎกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่นและกฎหมายอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ เพราะกฎหมายควบคุมอาคารเป็นกฎหมายมหาชนที่มุ่งรักษาประโยชน์ ความสงบสุข และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของประชาชนในสังคมโดยเน้นเรื่องที่เกี่ยวกับการปลูกสร้างอาคาร การขออนุญาต การใช้งานอาคาร เจ้าพนักงาน อำนาจหน้าที่ คำสั่ง โทษ บทลงโทษ ตลอดจนรายละเอียดอื่น ๆ แต่ด้วยสภาพของสังคมในปัจจุบันมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตโดยเฉพาะการปลูกสร้างอาคารเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบกิจการนั้นมีการก่อสร้างขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน เมื่อประชาชนมีความต้องการใช้อาคารมากขึ้นในทางปฏิบัติจึงเกิดปัญหาเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ ของการดำเนินการขอรับอนุญาตก่อสร้างของประชาชนต่อเจ้าพนักงาน และการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานท้องถิ่นยังคงมีปัญหาและอุปสรรคในการใช้อำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายได้ให้อำนาจไว้นั้นเพื่อบังคับกับอาคารที่ได้ก่อสร้างขึ้นให้อาคารดังกล่าวมีลักษณะที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของกฎหมายควบคุมอาคาร เนื่องจากพระราชบัญญัติควบคุมอาคารไม่เอื้ออำนวยแก่การทำคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพราะบทบัญญัตินั้นมีความไม่ชัดเจน และไม่ทันต่อสภาพสังคมและเทคโนโลยีที่ได้นำมาใช้กับการก่อสร้างอาคารในปัจจุบัน ปัญหาที่เกี่ยวกับตัวเจ้าพนักงานที่กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ ปัญหาประชาชนผู้เป็นเจ้าของอาคารที่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์สาธารณะและความมั่นคงของอาคาร อีกทั้งพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้เป็นกฎหมายที่มีการออกกฎหมายลำดับรองมาบังคับใช้เป็นจำนวนมากและในแต่ละท้องถิ่นก็บังคับใช้แตกต่างกันออกไป ถึงแม้ว่าจะมีวัตถุประสงค์หลักคือการคุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลักแต่ก็ยากแก่การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะนำไปปฏิบัติด้วยความเข้าใจอย่างท่องแท้ ซึ่งแทนที่กฎหมายดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานและประชาชน แต่กลับเป็นอุปสรรคในการบังคับใช้ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้สามารถรองรับปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ที่เกิดขึ้นและเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสมตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ได้กำหนดไว้en_US
dc.subjectการบังคับใช้กฎหมายen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522en_US
dc.subjectเจ้าพนักงานท้องถิ่นen_US
dc.titleปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf36.31 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf73.72 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf45.44 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf65.56 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf84.92 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf266.77 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf222.3 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf136.56 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf73.17 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf100 kBAdobe PDFView/Open
11appen1..pdf232.92 kBAdobe PDFView/Open
12appen2.pdf78.09 kBAdobe PDFView/Open
13profile.pdf38.14 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.