Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2612
Title: การบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามสัญญาการรับตั้งครรภ์
Authors: ธนชาต หร่ายเจริญ
Keywords: การรับตั้งครรภ์
Issue Date: 9-September-2554
Abstract: ในช่วงระยะเวลาประมาณสามสิบปที่ผ่านมาวงการแพทย์ได้พัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยบาบัดรักษาภาวะมีบุตรยากได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น “เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์” จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถทาให้คู่สมรสจานวนมากสามารถมีบุตรได้ตามความประสงค์การรับตั้งครรภ์แทนเป็นกระบวนการที่หญิงคนหนึ่งตกลงรับที่จะตั้งครรภ์ให้ ด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง และตกลงว่าจะส่งมอบเด็กที่เกิดมานั้นให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งพร้อมกับสละสิทธิใด ๆ ในความเป็นมารดาของเด็กนั้นทันทีที่เด็กได้ถือกาเนิดมา ในทางกฎหมายนั้นการรับตั้งครรภ์แทนอาจก่อให้เกิดปัญหาทั้งในด้านของสถานะทางกฎหมายของสัญญาการรับตั้งครรภ์และสภาพบังคับของการรับตั้งครรภ์แทนนั้น ในบางประเทศถือว่าสัญญารับตั้งครรภ์แทนเป็นสัญญาที่ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย ในประเทศไทยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ได้เจริญรุดหน้าไม่น้อยไปกว่าต่างประเทศ แพทย์ได้นาเทคโนโลยีนี้มาช่วยให้คู่สมรสที่อยู่ในภาวะมีบุตรยากได้มีบุตรตามความประสงค์เป็นจานวนมาก การรับตั้งครรภ์แทนจึงเกิดขึ้นพร้อมไปกับความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการสาขานี้ แต่กรณีประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการรับตั้งครรภ์แทนโดยเฉพาะ ในการรับตั้งครรภ์แทนนั้น ประเทศไทยประสบปัญหาทั้งทางกฎหมายและทางจริยธรรมโดยส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกับปัญหาที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เช่น การรับจ้างตั้งครรภ์แทนเชิงพาณิชย์ การซื้อขายเด็กทารก และปัญหาเกี่ยวกับสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิของสตรีที่รับจ้างตั้งครรภ์ สิทธิในความเป็นส่วนตัวของสตรีผู้รับจ้างตั้งครรภ์แทน เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายใด ๆ มารองรับต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ทาให้กฎหมายที่มีอยู่จึงไม่สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และเมื่อนากฎหมายดังกล่าวมาปรับใช้กับการรับตั้งครรภ์แทนอาจมีข้อบกพร่องและไม่สามารถขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเหตุนี้เองจึงได้มีการศึกษาปัญหาในการรับตั้งครรภ์แทนเพื่อใหเกิดความชัดเจนทั้งในด้านของกฎหมายและนโยบาย กับสะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานทางจริยธรรมของสังคมไทยโดยรวมต่อไป โดยมีสมมติฐานว่าเนื่องจากในปัจจุบันการรับตั้งครรภ์แทนเป็นประเด็นปัญหาที่อยู่ในความต้องการของสังคมมาก แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับ จึงเกิดปัญหาที่ตามมา ได้แก่ การขัดแย้งการมีสิทธิในตัวเด็กทั้งคู่สมรสเดิมและสามีของผู้ผู้รับตั้งครรภ์แทน หรือแม่ผู้รับตั้งครรภ์แทน ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมถึงปัญหาการรับตั้งครรภ์แทนดังกล่าว รวมถึงสถานะของสัญญาการรับตั้งครรภ์แทนก็ยังไม่มีการรับรอง ดังนั้นจึงเห็นเป็นการสมควรในการที่จะมีกฎหมายเฉพาะเพื่อทาการแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการรับตั้งครรภ์แทน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในกรณีดังกล่าวยิ่งขึ้นโดยนาหลักกฎหมายของต่างประเทศเพื่อนามาแก้ไขปรับปรุงหาแนวทางที่เหมาะสมกับประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป จากการศึกษาพบว่า ในร่างพระราชบัญญัติการรับตั้งครรภ์แทนมีปัญหาได้แก่ ปัญหาสิทธิของผู้ต้องการให้ตั้งครรภ์แทนที่ร่างกาหนดให้สิทธิแก่คู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ทาให้การตกลงระหว่างหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนกับหญิงหรือชายที่ไม่มีคู่สมรสแต่ต้องการมีบุตร หรือตกลงกับชายและหญิงที่ไม่ได้เป็นคู่สมรสกันตามกฎหมายแต่ต้องการมีบุตรไม่ถือว่าอยู่ในความหมายของการรับตั้งครรภ์แทนตามพระราชบัญญัตินี้ ย่อมเป็นการขัดต่อหลักความเสมอภาคกันของประชาชนทุกคนต่อหน้ากฎหมาย ซึ่งเป็นหลักการสาคัญตามรัฐธรรมนูญ และการรับตั้งครรภ์แทนจะต้องไม่เป็นการกระทาในเชิงการค้าด้วย แม้ว่าในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะห้ามมิให้การรับตั้งครรภ์แทนเป็นไปเพื่อการค้า แต่การห้ามนั้นก็มิได้มีการกาหนดอัตราโทษไว้ว่า ถ้ามีการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว รัฐจะมีมาตรการในการลงโทษเช่นไร รวมถึงปัญหาคุณสมบัติของผู้รับตั้งครรภ์แทน ที่ร่างกาหนดไว้แต่เพียงเป็นหญิงอายุไม่ต่ากว่า 18 ปีขึ้นไป และมิได้กาหนดว่าจะต้องผ่านการสมรสแล้วหรือไม่ ผู้วิจัยเห็นว่าการที่กฎหมายกาหนดเช่นนี้ ย่อมอาจทาให้เกิดปัญหาได้ ประการแรก บุคคลอายุไม่ต่ากว่า 18 ปีนั้น ยังคงเป็นผู้เยาว์อยู่ ย่อมไม่อาจทานิติกรรมโดยลาพังได้ สัญญารับตั้งครรภ์แทนจึงอาจตกเป็นโมฆียะได้ ทั้งการที่กฎหมายอนุญาตให้สาวโสดที่ยังไม่เคยผ่านการสมรส ย่อมอาจทาให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพและสังคมต่อหญิงผู้รับตั้งครรภ์แทนได้ ผู้วิจัยจึงเห็นว่า คุณสมบัติของผู้รับตั้งครรภ์แทนนั้น จะต้องเป็นหญิงที่บรรลุนิติภาวะแล้ว และต้องผ่านการมีบุตรมาก่อน ซึ่งอาจจะมีการสมรสหรือไม่ก็ได้ จากปัญหาหลายประการที่กล่าวมาข้าง เป็นการสมควรที่ประเทศไทยจะต้องพิจารณาบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการรับตั้งครรภแทนโดยเฉพาะเพื่อรองรับความต้องการของประชาชนในการตั้งครรภ์แทนต่อไปและควรมีการแก้ไขบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติการรับตั้งครรภ์แทน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย รวมถึงรัฐควรมีการออกกฎหมายอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ทั้งหมด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เกี่ยวโยงซึ่งกันและกันเพื่อให้การคุ้มครองปัญหาดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2612
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf35.52 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf93.65 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf50.95 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf73.13 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf109.08 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf390.01 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf338.62 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf221.38 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf91.91 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf92.94 kBAdobe PDFView/Open
11appen.pdf80.34 kBAdobe PDFView/Open
12profile.pdf42.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.