Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2613
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการผิดนัดชาระและการติดตามหนี้เงินกู้ยืมในระบบสถาบันการเงิน
Authors: สุธีย์ ชัยรูป
Keywords: ปัญหากฎหมาย
การผิดนัดชำระหนี้
การติดตามทวงหนี้
เงินกู้ยืม
สถาบันการเงิน
Issue Date: 9-September-2554
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการผิดนัดชาระหนี้เงินกู้ยืมและการติดตามทวงถามหนี้ในระบบสถาบันการเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสาคัญของปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการผิดนัดชาระหนี้เงินกู้ธนาคารพาณิชย์และเสรีภาพในการทาสัญญากู้เงินและการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทยและต่างประเทศ อันเกี่ยวกับการผิดนัดชาระหนี้เพื่อนามาใช้ในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผิดนัดชาระหนี้เงินกู้ของธนาคารพาณิชย์และแนวทางให้ลูกหนี้ปฏิบัติเพื่อจะสามารถปลดตัวลูกหนี้ให้หลุดพ้นจากการเป็นหนี้ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการติดตามหนี้โดยหลัก ๆ มีวิธีการการติดตามทวงถามหนี้ที่เจ้าหนี้หรือผู้ติดตามทวงถามหนี้ดาเนินการอยู่ในปัจจุบันนี้มีอยู่ 2 วิธี คือ การติดตามสืบเสาะข้อมูลของลูกหนี้และการแจ้งเตือนหรือการทวงถามให้ชาระหนี้ ส่วนปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการติดตามหนี้เป็นปัญหาจากการที่บริษัทหรือสถาบันการเงินเหล่านี้มีการกาหนดดอกเบี้ยค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไว้ในอัตราที่สูงเกินไปและการเรียกเก็บซ้าซ้อนในรูปแบบต่างกันทาให้ผู้บริโภคต้องรับผิดชอบหรือรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ผลประโยชน์ที่บริษัทเหล่านี้เรียกเก็บจากผู้บริโภคมีลักษณะเป็นการเรียกเอาแต่ฝ่ายเดียวเลี่ยงกฎหมายโดยใช้ชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ดอกเบี้ยผิดนัดชาระ ค่าธรรมเนียมชาระล่าช้า ค่าปรับ ค่าใช้จ่ายในการติดตามหนี้เป็นต้น แทนคาว่า “ดอกเบี้ย” เพื่อไม่ให้ผิดกฎหมายอย่างชัดเจนและอาศัยความได้เปรียบในความไม่รู้เท่าถึงการณ์ของผู้บริโภคจึงเป็นสาเหตุและปัจจัยหลักที่ทาให้ลูกหนี้ในปัจจุบันต้องประสบภาวะที่ไม่สามารถชาระหนี้ได้ในส่วนของปัญหาเกี่ยวกับการคิดอัตราดอกเบี้ยนั้นถือเป็นเรื่องที่สาคัญที่สุดของการกู้ยืมเงิน เพราะว่าดอกเบี้ย คือ ผลประโยชน์ที่ได้ผู้ให้กู้ (เจ้าหนี้) ได้รับซึ่งแน่นอนว่าเป็นธรรมชาติของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาที่ต้องการให้ได้รับผลประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทาได้ และปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องบังคับคดีจะพบปัญหาในเรื่องหลักฐานของการกู้เงินซึ่งในการกู้เงินนั้นเป็นการรับรู้กันเพียง 2 ฝ่าย คือ ผู้ให้กู้และผู้กู้ แม้จะมีพยานบุคคล ซึ่งอาจเบิกความไม่ตรงความจริง เพื่อตัดปัญหาการพิสูจน์ว่ามีการกู้เงินกันหรือไม่ จึงต้องพิสูจน์กันด้วยหลักฐานที่เป็นหนังสือในขั้นพิจารณาคดีของศาล ถ้าฟ้องคดีเงินกู้ โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ ศาลจะไม่พิจารณาตัดสินคดีให้ เรื่องนี้มีหลักกฎหมายมาตรา 653 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนปัญหาเกี่ยวกับการขาดทอดตลาดพบว่า เมื่อทางสถาบันการเงินได้รับคาพิพากษาให้ยึดทรัพย์ของลูกหนี้มาเพื่อทาการขายทอดตลาด การขายทอดตลาดนั้น มีการขายที่ราคาต่ากว่าราคาท้องตลาดมาก คือราคาจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 25-40 ของราคาจริง ซึ่งเมื่อนามาคิดหักลบกลบหนี้แล้วลูกหนี้ยังต้องมีหนี้สินติดค้างกับสถาบันการเงินอีก นอกจากนั้นปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษและการรับผิดในการผิดนัดชาระหนี้มีสาเหตุหลักคือบทลงโทษในทางแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้นทาให้มีบทลงโทษเกี่ยวกับการผิดนัดชาระหนี้ที่เจ้าหนี้จะใช้อ้างแก่ลูกหนี้ได้ประกอบด้วยเจ้าหนี้อาจบอกปัดไม่ยอมรับชาระหนี้ในบางกรณีที่กาหนดไว้ในมาตรา 216 ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบมากขึ้น ตามมาตรา 217 ลูกหนี้ต้องรับผิดชาระดอกเบี้ยสาหรับหนี้เงิน ตามมาตรา 224 และลูกหนี้ต้องรับผิดชาระดอกเบี้ยในค่าสินไหมทดแทน ตามมาตรา 225
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2613
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf53.81 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf150.6 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf62.07 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf100.58 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf137.33 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf397.87 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf835.43 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf383.92 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf165.76 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf109.83 kBAdobe PDFView/Open
11appen1.pdf322.84 kBAdobe PDFView/Open
12appen2.pdf265.63 kBAdobe PDFView/Open
13profile.pdf67.65 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.