Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2622
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณัฐพสิษฐ์ เอกมฤเคนทร์en_US
dc.date.accessioned2554-09-15T03:40:26Z-
dc.date.available2554-09-15T03:40:26Z-
dc.date.issued2554-09-15T03:40:26Z-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2622-
dc.description.abstractเมื่อบุคคลผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองนั้นมีความเกี่ยวข้องกับภารกิจที่สาคัญของประเทศ อันได้แก่ การใช้อานาจรัฐหรืออานาจทางการเมือง (Political power) ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน การตัดสินใจใช้อานาจในตาแหน่งหน้าที่ของบุคคลผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองดังกล่าวจึงควรจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก ไม่ใช่กระทาเพื่อประโยชน์แก่ตนเองและพวกพ้อง อันมีลักษณะเป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม หรือที่เรียกว่า “ผลประโยชน์ทับซ้อน” และจากการที่บุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทนของผลประโยชน์สาธารณะและของประชาชนซึ่งได้มาจากการคัดเลือกไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม กฎหมายที่จะใช้ในการตรวจสอบการใช้อานาจในตาแหน่งหน้าที่ของบุคคลผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองดังกล่าว ก็ควรจะต้องมีความชัดเจนแน่นอนรวมทั้งเชื่อมโยงเป็นระบบและมีจุดเกาะเกี่ยวให้ประชาชนโดยทั่วไปได้มีช่องทางในการตรวจสอบการใช้อานาจของบุคคลดังกล่าวได้ แต่หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ โดยบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่ได้มีพระราชบัญญัติที่ใช้บังคับโดยตรงเกี่ยวกับการกระทาที่เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวมของผู้ดารงตาแหน่งทางการเมือง และประชาชนโดยทั่วไปยังไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบการใช้อานาจของบุคคลดังกล่าวได้ แต่รัฐใช้วิธีการให้สานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นตัวแทนของรัฐในการตรวจสอบผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองในการใช้อานาจในตาแหน่งหน้าที่ให้กระทาการโดยสุจริตดังนั้นจากสภาพปัญหาดังกล่าวผู้ศึกษาเห็นว่าบทบัญญัติของกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ได้กาหนดถึงความชัดเจนของตัวบุคคลผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองที่จะต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ข้อห้ามของการกระทาเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดขึ้นของการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวม และความไม่สอดคล้องกันของบทบัญญัติว่าด้วยการกระทาที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามที่กาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 267 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 100 (4) และขอบอานาจในการดาเนินคดีอาญากับผู้ดารงตาแหน่งทางการเมือง โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และประชาชนโดยทั่วไป รวมทั้งการเปิดเผยทรัพย์สินของผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองต่อสาธารณชน และองค์กรหลักที่จะบังคับให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดขึ้นของการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวมอันเนื่องมากจากการใช้อานาจในตาแหน่งหน้าที่สาธารณะเพราะคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีภาระหน้าที่จานวนมากไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง ผู้ศึกษาเห็นว่าควรมีการจัดทาพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมของผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะมีการจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มเติมที่จะให้คาปรึกษาแก่ผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่รัฐในเรื่องที่เกี่ยวกับการกระทาที่อาจก่อให้เกิดการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวม และสามารถใช้คาวินิจฉัยดังกล่าวเป็นแนวทางในการดาเนินการได้โดยปราศจากการความรับผิดที่เกิดขึ้นในอนาคตen_US
dc.subjectปัญหากฎหมายen_US
dc.subjectการทุจริตen_US
dc.subjectผลประโยชน์ทับซ้อนen_US
dc.subjectผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองen_US
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความผิดการทุจริต ศึกษากรณี:ผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf65.06 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf147.94 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf50.06 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf111.29 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf202.22 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf435.32 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf873.55 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf216.35 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf154.37 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf159.85 kBAdobe PDFView/Open
11profile.pdf45.83 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.