ACC-06. ผลงานวิจัย

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 37
  • รายการ
    ผลกระทบของผลแตกต่างทางภาษีที่ส่งผลต่อคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100
    (Sripatum University, 2567) ดารณี เอื้อชนะจิต
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทดสอบผลกระทบของผลแตกต่างทางภาษีและการกำกับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อคุณภาพกำไรและ 2) ทดสอบผลกระทบของผลแตกต่างทางภาษีและการกำกับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อตัววัดค่าการลงทุนประกอบด้วย 5 ตัวแปรคือ กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) อัตราส่วนราคาตลาดต่อหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (PE) อัตราส่วนราคาตลาดต่อหุ้นต่อราคาตามบัญชีต่อหุ้น (PB) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (DE) และอัตราส่วนราคาตลาดต่อหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้นต่ออัตราการเจริญเติบโต (PEG) เป็นวิจัยเชิงปริมาณทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในงบการเงินย้อนหลัง 4 ปี ตั้งแต่ปี 2561 - 2564 กลุ่มตัวอย่างคือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET100 ที่มีข้อมูลครบถ้วนจำนวน 63 บริษัท ได้ข้อมูลทั้งสิ้น 252 รายบริษัทรายปี ใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
  • รายการ
    ปัจจัยด้านองค์กรและการยอมรับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่มีต่อความสำเร็จในการใช้ระบบสารสนเทศในงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
    (Sripatum University, 2566) กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านองค์กรที่มีต่อความสำเร็จของการใช้ระบบสารสนเทศในงานสอบบัญชี ด้านคุณภาพของระบบ ด้านคุณภาพของข้อมูล ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ด้านความทันเวลาและด้านความพึงพอใจของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยการยอมรับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่มีต่อความสำเร็จของการใช้ระบบสารสนเทศในงานสอบบัญชี ด้านคุณภาพของระบบ ด้านคุณภาพของข้อมูล ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ด้านความทันเวลาและด้านความพึงพอใจของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
  • รายการ
    ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานและผลตอบแทนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    (Sripatum University, 2566) ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงาน ด้านอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตรากำไรสุทธิ และศึกษาผลการดำเนินงานส่งผลกระทบต่อ ผลตอบแทนหลักทรัพย์ ด้านอัตราผลตอบแทนที่ไม่ปกติและอัตราผลตอบแทนที่ไม่ปกติสะสม ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2564
  • รายการ
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    (Sripatum University, 2566) สุรีย์ โบษกรนัฏ
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของคุณลักษณะบริษัทที่ส่งผลต่อการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนและมูลค่ากิจการในภาพรวมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของคุณลักษณะบริษัทที่ส่งผลต่อการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนและมูลค่ากิจการในรายปีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีการศึกษา 3 วิธี คือ การวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ
  • รายการ
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
    (Sripatum University, 2566) สุวรรณี รุ่งจตุรงค์
    การศึกษา เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบของจรรยาบรรณที่มีต่อความรู้และประสิทธิภาพของงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของประสบการณ์ที่มีต่อความรู้และประสิทธิภาพของงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3) เพื่อศึกษาผลกระทบของความรู้ที่มีต่อประสิทธิภาพของงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สอบบัญชีอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  • รายการ
    อิทธิพลของโครงสร้างคณะกรรมการบริษัทและการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    (Sripatum University, 2566) เบญจพร โมกขะเวส
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของโครงสร้างคณะกรรมการบริษัทและการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมูลค่ากิจการวัดค่าโดยใช้ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรต่อหุ้น อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไร และมูลค่าของกิจการ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 311 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี 2562-2564 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ
  • รายการ
    การบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานทางการเงินที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19
    (Sripatum University, 2566) กิตติยา จิตต์อาจหาญ
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานทางการเงินที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานครในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด ทำการเก็บข้อมูลจากนักบัญชีในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ ความถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบของการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานทางการเงิน ด้านการระบุเหตุการณ์ความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง และการติดตามประเมินผลและรายงาน ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานครในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19
  • รายการ
    คุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพ ในประเทศไทย
    (Sripatum University, 2566) สุพัตรา หารัญดา
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักบัญชี สำนักงานบัญชีคุณภาพ ในประเทศไทย จำนวน 137 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ F-test (ANOVA และ MANOVA) ผลการวิจัยพบว่า นักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทยความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับคุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมาก
  • รายการ
    ผลกระทบของการควบคุมภายในต่อการประเมินองค์กรแบบ Balance Scorecard ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย
    (Sripatum University, 2562) พรรณทิพย์ อย่างกลั่น
    การศึกษาวิจัยเรื่อง ผลกระทบของการควบคุมภายในต่อการประเมินองค์กรแบบ Balance Scorecard ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย เป็นการศึกษาระบบการควบคุมภายใน การประเมินองค์กรแบบ Balance Scorecard ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย และศึกษาผลกระทบของการควบคุมภายในต่อการประเมินองค์กรแบบ Balance Scorecard ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  • รายการ
    ผลของนโยบายการตีราคาสินค้าคงเหลือที่มีต่อผลการดำเนินงานและราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    (Sripatum University, 2562) รองเอก วรรณพฤกษ์
    งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของนโยบายการตีราคาสินค้าคงเหลือที่มีต่อผลการดำเนินงานและราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากรเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดแห่งประเทศไทย (SET 100) จำนวน 48 บริษัท (ไม่รวมบริษัทที่ไม่มีสินค้าคงเหลือและบริษัทที่มีข้อมูลไม่ครบ 5 ปี)
  • รายการ
    ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อกำไรสุทธิ อัตรากำไรต่อหุ้น และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อกำไรสุทธิ อัตรากำไรต่อหุ้น และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2555 - 2559 จำนวน 212 บริษัท แล้วนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยตัวแปร (Multiple regression analysis) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า วงจรเงินสดมีความสัมพันธ์เชิงลบกับกำไรสุทธิ อัตรากำไรต่อหุ้นและอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัท ลูกหนี้การค้ามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกำไรสุทธิ หนี้สินหมุนเวียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกำไรสุทธิ เงินทุนหมุนเวียนสุทธิมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกำไรสุทธิ แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารควรให้ความสำคัญในการวางแผนเกี่ยวกับเงินสด และหนี้สินหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ การพิจารณาสภาพคล่องของกิจการ เงินที่หมุนเวียนในกิจการไม่ให้ขาดสภาพคล่อง สำหรับธนาคารสามารถ วิเคราะห์ความเสี่ยงของกิจการก่อนอนุมัติให้สินเชื่อว่ามีความสามารถในการจ่ายชำระหนี้มากหรือน้อย ส่วนนักลงทุนก็สามารถใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกิจการที่เป็นคู่แข่งเพื่อดูจุดเด่น จุดด้อยสำหรับเลือกลงทุนในกิจการที่ดีกว่า
  • รายการ
    ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อกำไรสุทธิของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์
    การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อกำไรสุทธิของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียน ประกอบด้วย สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ ลูกหนี้ และยอดขาย ที่มีต่อกำไรสุทธิของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลทุติยภูมิของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2555-2557 จำนวนทั้งสิ้น 125 บริษัท โดยเมื่อมีการเก็บข้อมูลแล้วพบว่ามีบางบริษัทที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน จึงทำให้มีบริษัทที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวนทั้งสิ้น 115 บริษัท และมีข้อมูล 498 ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis : MRA) ผลการวิจัยพบว่า ลูกหนี้และยอดขายมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อกำไรสุทธิ ในขณะที่หนี้สินหมุนเวียนมีความสัมพันธ์ทางลบต่อกำไรสุทธิ สำหรับสินทรัพย์หมุนเวียนและเงินทุนหมุนเวียนสุทธิไม่มีความสัมพันธ์กับกำไรสุทธิ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05
  • รายการ
    การพัฒนากระบวนการตรวจสอบสารสนเทศทางบัญชี ธุรกรรมทางการเงิน สกุลดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ส่งผลต่อการยอมรับของผู้ประกอบการ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) ชัยสรรค์ รังคะภูติ
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการตรวจสอบทางบัญชีที่มีผลต่อธุรกรรมเงินสกุลดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอส เอ็ม อี) ในประเทศไทย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ (1) ตัวแบบกระบวนการตรวจสอบทางบัญชีธุรกรรมเงินสกุลดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน (2) แบบสอบถามออนไลน์ และ (3) เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ประชากรได้จากกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย ในประเทศไทยจำนวน 140 บริษัท ประกอบด้วย (1) กลุ่มธุรกิจการเงิน, (2) กลุ่มเทคโนโลยี และ (3) กลุ่มบริการ โดยขนาดกลุ่มตัวอย่างงานวิจัยคำนวณจากสูตร ทาโร ยามาเน่ (Yamane, 2018) ที่ขนาดจำนวนประชากร 2,000 คน ที่ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 95% และค่าความคลาดเคลื่อนที่ ± 10% ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง เท่ากับ 95 คน ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการตรวจสอบทางบัญชีธุรกรรมทางการเงินสกุลเงินดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนมีประสิทธิผลต่อการยอมรับของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ผลการประเมินด้วยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยการเท่ากับ 4.42 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.206) ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของเอส เอ็ม อี หน่วยงานกำกับดูแลระดับชาติควรจะต้องพัฒนาโครงสร้างกฏหมายและแนวทางการปฎิบัติด้านธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินสกุลดิจิทัลให้มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย เพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงินและเศรษฐกิจในประเทศเกิดขึ้นได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
  • รายการ
    ผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการกับการบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อ ของสถาบันการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-01) อุปพันธ์ ทวีผล
    การศึกษาวิจัยเรื่อง ผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการกับการบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อของสถาบันการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการกับการบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อของสถาบันการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลจากสถาบันการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงปี 2555-2559 โดยการกำกับดูแลกิจการ ประกอบด้วย ขนาดของคณะกรรมการบริหาร ขนาดของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง จำนวนครั้งที่ประชุมของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ประสบการณ์ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริหารและจำนวนสมาชิกในคณะกรรมการอิสระ ส่วนการบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อวัดจากอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA)เพื่อวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรที่เกี่ยวข้องที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า การกำกับดูแลกิจการ ประกอบด้วย ขนาดของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ประสบการณ์ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริหารมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความเสี่ยงด้านสินเชื่อของสถาบันการเงินที่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคไทยแลนด์ 4.0
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-05) กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์
    การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของผู้สอบบัญชีในยุคไทยแลนด์ 4.0 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกและปัจจัยที่เกิดจากบริษัทผู้สอบบัญชีที่มีอิทธิพลต่อการสอบบัญชีให้ได้คุณภาพของผู้สอบบัญชี 2) เพื่อศึกษาคุณภาพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคไทยแลนด์ 4.0 และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสอบบัญชีให้ได้คุณภาพของผู้สอบบัญชี จำแนกตามปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการศึกษาเชิงสารวจรวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถาม ใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้ช่วยผู้สอบบัญชี จำนวน 400 กลุ่มตัวอย่าง สถิติในการวิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ t – test , F – Test และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ วิธีการทดสอบ Least Significant Difference (LSD) test ทดสอบความสัมพันธ์ใช้สถิติทดสอบแบบ Pearson's Correlation Coefficient ใช้วิธีการหาถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ทำการเลือกตัวแปรโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด (Enter)
  • รายการ
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีและ คุณภาพงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) สุวรรณี รุ่งจตุรงค์
    การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อศึกษาการปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีและคุณภาพงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวบข้อมูลจากผู้บริหารฝ่ายบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 245 บริษัท โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ANOVA (F-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณกับคุณภาพของงบการเงิน โดยกำหนดระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคไทยแลนด์ 4.0
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-11) กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์
    การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของผู้สอบบัญชีในยุคไทยแลนด์ 4.0 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกและปัจจัยที่เกิดจากบริษัทผู้สอบบัญชีที่มีอิทธิพลต่อการสอบบัญชีให้ได้คุณภาพของผู้สอบบัญชี 2) เพื่อศึกษาคุณภาพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคไทยแลนด์ 4.0 และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสอบบัญชีให้ได้คุณภาพของผู้สอบบัญชี จำแนกตามปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการศึกษาเชิงสารวจรวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถาม ใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้ช่วยผู้สอบบัญชี จำนวน 400 กลุ่มตัวอย่าง สถิติในการวิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ t – test , F – Test และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ วิธีการทดสอบ Least Significant Difference (LSD) test ทดสอบความสัมพันธ์ใช้สถิติทดสอบแบบ Pearson's Correlation Coefficient ใช้วิธีการหาถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ทำการเลือกตัวแปรโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด (Enter)
  • รายการ
    ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อกำไรสุทธิ อัตรากำไรต่อหุ้น และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อกำไรสุทธิ อัตรากำไรต่อหุ้น และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2555 - 2559 จำนวน 212 บริษัท แล้วนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยตัวแปร (Multiple regression analysis) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า วงจรเงินสดมีความสัมพันธ์เชิงลบกับกำไรสุทธิ อัตรากำไรต่อหุ้นและอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัท ลูกหนี้การค้ามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกำไรสุทธิ หนี้สินหมุนเวียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกำไรสุทธิ เงินทุนหมุนเวียนสุทธิมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกำไรสุทธิ แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารควรให้ความสำคัญในการวางแผนเกี่ยวกับเงินสด และหนี้สินหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ การพิจารณาสภาพคล่องของกิจการ เงินที่หมุนเวียนในกิจการไม่ให้ขาดสภาพคล่อง สำหรับธนาคารสามารถ วิเคราะห์ความเสี่ยงของกิจการก่อนอนุมัติให้สินเชื่อว่ามีความสามารถในการจ่ายชำระหนี้มากหรือน้อย ส่วนนักลงทุนก็สามารถใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกิจการที่เป็นคู่แข่งเพื่อดูจุดเด่น จุดด้อยสำหรับเลือกลงทุนในกิจการที่ดีกว่า
  • รายการ
    การประเมินหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับความสามารถในการทำกำไรและมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) รมิดา คงเขตวณิช
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการ (CGR) กับความสามารถในการทำกำไรโดยใช้อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการ (CGR) กับมูลค่าของกิจการโดยใช้ Tobin’s Q ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการ (CGR) กับความสามารถในการทำกำไรโดยใช้อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและมูลค่าของกิจการโดยใช้ Tobin’s Q ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (4) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มบริษัทที่คะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการ (CGR) ดีขึ้นไปและระดับคะแนนต่ำกว่าดีกับความสามารถในการทำกำไรโดยใช้อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและมูลค่าของกิจการโดยใช้ Tobin’s Q ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยเน้นการวิจัยเชิงพรรณนาและใช้การวิเคราะห์เชิงอนุมานโดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูลจากฐานข้อมูลจาก SET-SMART
  • รายการ
    ผลการดำเนินงานมีอิทธิพลต่อมูลค่ากิจการผ่านการจัดการกำไรของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-10) พรรณทิพย์ อย่างกลั่น
    การศึกษาวิจัยเรื่อง ผลการดำเนินงานมีอิทธิพลต่อมูลค่ากิจการผ่านการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อศึกษาเส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Path Analysis) ของผลการดำเนินงานผ่านการจัดการกำไรที่มีผลกระทบต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลในช่วงปี 2555-2559 จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET100) เนื่องจากเป็นกลุ่มบริษัทที่มีดัชนีราคาหุ้นที่แสดงระดับและความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูง ซึ่งตัวแปรผลการดำเนินงานนั้นใช้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA)และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ส่วนมูลค่ากิจการเป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์กร โดยใช้ การคำนวณค่า Tobin’s Q และใช้โมเดลของ Modified Jones เป็นโมเดลในการวัดการจัดการกำไร เมื่อเก็บข้อมูลแล้ว ได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Path Analysis) ของผลการดำเนินงานผ่านการจัดการกำไรที่มีผลกระทบต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย