BUS-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 42
  • รายการ
    การศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยเน้นการมีส่วนร่วม ของนักศึกษาในรายวิชา MGT388 ศาสตร์และศิลป์ในการสื่อสารทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี, 2566-06) อรนิษฐ์ แสงทองสุข
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยเน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษากลุ่มทดลองในรายวิชา MGT388 ศาสตร์และศิลป์ในการสื่อสารทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/ 80 2) เปรียบเทียบผลการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษา ก่อนและหลังเรียน กลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุม 3) ศึกษาระดับความเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ บูรณาการโดยเน้นการมีส่วนร่วม 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ และอิทธิพลของกระบวนการเรียนการสอน แบบบูรณาการ และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักศึกษา ที่มีผลต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ผลการวิจัยโดยภาพรวม พบว่า การจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยเน้นการมีส่วนร่วม สำหรับนักศึกษากลุ่มทดลองทั้ง 5 แผน นั้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 89.86/ 89.30 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ 80/ 80 ด้านคะแนนเฉลี่ยภายหลังการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยเน้นการมีส่วนร่วม สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยเน้นการมีส่วนร่วม แตกต่างกันกับก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการจัดการ เรียนรู้ทั้ง 5 แผน ภายหลังการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยเน้นการมีส่วนร่วม สำหรับ นักศึกษากลุ่มทดลอง คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดย เน้นการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และด้านความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมดมีความสัมพันธ์ ในทิศทางเดียวกัน (ทางบวก) ส่วนผลการศึกษาอิทธิพล พบว่า กระบวนการเรียน การสอนแบบบูรณาการ และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักศึกษา ที่มีอิทธิพลต่อผลของการเรียนรู้ของนักศึกษา
  • รายการ
    การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษารายวิชา MKT453 การจัดการช่องทางการตลาด โดยใช้กิจกรรมเชิงรุกแบบมีส่วนร่วม
    (การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566-06-13) ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิ่งแก้ว พรอภิรักษสกุล
    บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ การวิจัยเชิงทดลอง (Pre-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษา กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบมีส่วนร่วม และทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษารายวิชา MKT453 การจัดการช่องทางการตลาดด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบมีส่วนร่วม มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2) ศึกษา การวัดและประเมินทักษะกระบวนการการทำงานเป็นทีมของนักศึกษา 3) เปรียบเทียบทักษะการทำงาน เป็นทีมของนักศึกษา ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบมีส่วนร่วมก่อน และหลังเรียน และ 4) ศึกษา ความสัมพันธ์และอิทธิพลของกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบมีส่วนร่วมที่มีผลต่อทักษะการทำงานเป็นทีม ของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจทุกคนที่ลงทะเบียนในรายวิชา MKT453การจัดการช่องทางการตลาด มหาวิทยาลัยศรีปทุม ภาคการศึกษาที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2565 ทั้งหมด จำนวน 93 คน ผลการวิจัยภาพรวม พบว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกแบบมีส่วนร่วมของนักศึกษา รายวิชา MKT453 การจัดการช่องทางการตลาดอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านภาพรวมทักษะการทำงาน เป็นทีมของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก เช่นกัน ด้านก่อนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการ ทำงานเป็นทีมของนักศึกษา โดยใช้กิจกรรมเชิงรุกแบบมีส่วนร่วม พบว่า ในภาพรวมคะแนนเฉลี่ยอยู่ ในระดับปานกลาง ส่วนด้านหลังการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษา โดยใช้กิจกรรมเชิงรุกแบบมีส่วนร่วม ด้านคะแนนเฉลี่ยการประเมินทักษะกระบวนการทำงานเป็นทีม ทั้ง 5ด้าน ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาโดยใช้ * อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม * Lecturer, Department of Digital Marketing Faculty of Business Administration Sripatum University Corresponding author. e-Mail: kingkeaw.po@spu.ac.th การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ประจำปี 2566 2023 SPUC National and International Conference 50 กิจกรรมเชิงรุกแบบมีส่วนร่วม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกระบวนการเรียนรู้ เชิงรุกแบบมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน (ทางบวก) อยู่ในระดับสูง กับทักษะการทำงาน เป็นทีมของนักศึกษา และผลการวิจัยยัง พบว่า กระบวนการจัดการการสอนเชิงรุกแบบมีส่วนร่วม มี อิทธิพลต่อทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก ABSTRACT This experimental research (Pre-experimental research) aimed to 1) Study the active participatory learning process and teamwork skills of MKT453 (Channel marketing management) students with an active participatory learning process at Sripatum University 2) Study the measurement and evaluation of teamwork process skills of the students 3) Compare teamwork skills of the students with a proactive, participatory learning process before and after class and 4) Study the relationship and the influence of active participative learning process on teamwork skills of the students. The samples used in this research were 93 students from the School of Business Administration who were enrolled in the MKT453 (Marketing channel management) in Semester 2 of Academic Year 2022. It was found that the process of proactive teaching and learning with participation of MKT453 (Marketing channel management) students was at a high level, and so were the overall student teamwork skills. Before teaching and learning to develop students' teamwork skills by using proactive and participatory activities, it was found that average scores were overall at a moderate level. The post teaching and learning to develop students' teamwork skills by using proactive and participatory activities and the average scores of the assessment of teamwork process skills in all 5 areas before and after teaching and learning to develop teamwork skills of students by using proactive and participatory activities were statistically significant different at the .05 level. And the active participatory learning process had a relationship in the same direction (positive way) at a high level. It was also found that with teamwork skills of students, proactive, participative teaching management process influenced students' teamwork skills at a high level.
  • รายการ
    แนวทางการปรับตัวของธุรกิจโรงแรม ภายหลังวิกฤตโควิด 19 ด้วยการยกระดับสู่อุตสาหกรรม เชิงสุขภาพ
    (สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 2565-07-08) วุทธิชัย ลิ้มอรุโณทัย; อภิชญา พิภวากร; วชิราภรณ์ จีระว่องวิทย์
    บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และแนวทางการปรับตัวของธุรกิจโรงแรม สู่อุตสาหกรรมสุขภาพ รวมทั้ง ศึกษาหาแนวทางโอกาสและความท้าทายของธุรกิจโรงแรมสู่อุตสาหกรรมสุขภาพในประเทศไทย ภายใต้สถานการณ์ความไม่ปกติ อันเนื่องมาจากการระบาดของ วิกฤติ COVID-19 และการเปลี่ยนแปลงไปของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เป็นลักษณะปกติใหม่ (New Normal) โดยมุ่งเน้นไปที่จัดการธุรกิจโรงแรมสู่อุตสาหกรรมธุรกิจเพื่อสุขภาพ เนื่องจากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นผลของการ ผสมผสานการเดินทางท่องเที่ยวและการพักอาศัย ซึ่งมีแรงจูงใจหลักในการรักษาหรือส่งเสริมสุขภาพในโรงแรมแบบเฉพาะทาง เน้นให้การดูแลอย่างเหมาะสม และเป็นการดูแลเฉพาะบุคคล ซึ่งมีบริการเป็นแพ็คเกจ ที่ประกอบด้วย การดูแลสุขภาพร่างกาย ความงาม โภชนาการอาหาร การพักผ่อน การทำสมาธิและกิจกรรมทางจิต การปรับตัวของธุรกิจโรงแรมนั้น เพื่อให้องค์กรหรือ ธุรกิจยังคงดำเนินการและเติบโตต่อไปภายใต้ความเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มจากประเมินสภาพแวดล้อมของโลกด้วยความเข้าใจ (Reassess), ทบทวนศักยภาพของโมเดลธุรกิจ (Review), กำหนดทิศทางใหม่ของธุรกิจที่จะมุ่งไปในอนาคต (Redirect), สร้าง โมเดลธุรกิจใหม่ (Reinvent) และปฏิรูปโครงสร้างองค์กร กระบวนการ และวัฒนธรรมขององค์กร (Reform) อย่างมีความคิด สร้างสรรค์ให้กับธุรกิจ อันเป็นความสามารถในการปรับตัว พัฒนาสินค้าและบริการ เพื่อรองรับตลาดสินค้าและบริการสุขภาพ โดยใช้ความต้องการของตลาดเป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาต้นแบบสินค้าและบริการที่ตรงความต้องการของผู้บริโภคยุคปกติใหม่ (New Normal) เพื่อให้องค์กรหรือธุรกิจยังคงดำเนินการและเติบโตต่อไปภายใต้ความเปลี่ยนแปลง
  • รายการ
    ผลการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านรายวิชาการจัดการลงทุนและการวิเคราะห์หลักทรัพย์ในมหาวิทยาลัยศรีปทุม
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2566-02-15) ปัทมา โกเมนท์จำรัส; ณัฐธยาน์ ตรีผลา
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้รายวิชาการจัดการลงทุนและการวิเคราะห์หลักทรัพย์ในหัวข้อ การประเมินมูลค่าตราสารทุน และ การประเมินมูลค่าตราสารหนี้ โดยทำการศึกษาในรูปแบบของห้องเรียนกลับด้าน และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน ในหัวข้อ การประเมินมูลค่าตราสารทุน และ การประเมินมูลค่าตราสารหนี้ งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน และ ความพึงพอใจของนักศึกษา จานวน 23 ตัวอย่าง โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านรายวิชาการจัดการลงทุนและการวิเคราะห์หลักทรัพย์ ในหัวข้อ การประเมินมูลค่าตราสารทุน และ การประเมินมูลค่าตราสารหนี้ มีผลการเรียนรู้ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่ระดับ 4.53 (𝑋̅ = 4.53)
  • รายการ
    รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชา MKT392การจัดการโฆษณาและสื่อโฆษณาทางดิจิทัล มหาวิทยาลัยศรีปทุม
    (การประชุมวิชาการระบบออนไลน์เพื่อน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ประจำปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย, 2565-06-10) ิ่กิ่งแก้ว พรอภิรักษสกุล
    การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาใน รายวิชา MKT392 การจัดการโฆษณาและสื่อโฆษณาทางดิจิทัล มหาวิทยาลัยศรีปทุม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก ของนักศึกษาในรายวิชา MKT392 (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการ เรียนรู้เชิงลึกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3)ศึกษาอิทธิพลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ที่มีผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ ลงทะเบียนในรายวิชา MKT392 การจัดการโฆษณาและสื่อโฆษณาทางดิจิทัล ภาคการศึกษาที่ 2 ประจ าปี การศึกษา 2564 จ านวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหาและมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์เพียรสันและ สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก ของนักศึกษาในรายวิชา MKT392การจัดการโฆษณา และสื่อโฆษณาทางดิจิทัล มหาวิทยาลัยศรีปทุมอยู่ในระดับมาก (2) รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกมีความสัมพันธ์กับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวม ในทิศทางบวกอยู่ในระดับปานกลางโดยมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.75 และ (3) รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 59.6 โดยพบว่าด้านประสบการณ์ (AE) มี อิทธิพลต่อสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการปฏิบัติหรือประยุกตแนวคิด (AP) และด้านเขาใจและเกิดความคิดรวบ ยอด (AC) ตามล าดับ
  • รายการ
    การศึกษาระดับแรงสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตที่มีต่อความสุขของผ้สู ูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร
    (การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-10-27) ผศ.ดร.กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล; ดร.รัชตา กาญจนโรจน; ผศ.กิ่งแก้ว พรอภิรักษสกุล; อาจารย์ภาวิศา การัตน
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับของแรงสนับสนุนทางสังคม คุณภาพชีวิต และความสุขของผู้สูงอายุเขต กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบตัวแปรด้านส่วนบุคคลที่มีต่อความสุขของ ผู้สูง ผู้วิจัยกาหนดกลุ ํ ่มตัวอยางในการศึกษาวิจัยครั ่ ้งนี้ คือ ผู้สูงอายุสัญชาติไทย ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ที่เป็นสมาชิก สมาคมผู้สูงอายุเขตกรุ งเทพมหานคร จํานวน 384 คน ผู้วิจัยได้ทําการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการรวบรวม แบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นํามาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติเพื่อ การวิจัย โดยกาหนดระดับความมีนัยสําคัญ ํ 0.05 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ มีดังนี้ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ สําหรับค่านัยสําคัญ ทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์กาหนดไว้ที่ระดับ . ํ 05 ผลการวิจัย พบวา แรงสนับสนุนทางสังคม ของผู้ ่ สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานครอยูในระดับมาก ่ ด้านคุณภาพ ชีวิตของผู้สูงอายุในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ด้านความสุขของผู้สูงอายุ ในภาพรวมพบว่า ผู้สูงอายุ มีความสุขอยูในระดับน้อยกว ่ าคนทั ่ วไ่ ปตามดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย
  • รายการ
    การเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุขด้วยการเตรียมความพร้อมในการเกษียณอายุ
    (การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ออนไลน์ ประจำปี 2565, 2565-10-27) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์; ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุพงศ์ อวิรุทธา; ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี ฮะมะณี; อาจารย์เอื้อจิต ทัศนะภาคย์; วรุณศิริ ปราณีธรรม
    การเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุถือเป็นการวางแผนชีวิตอย่างหนึ่งที่ควรต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในวัยทำงาน เพื่อให้สามารถปรับตัวต่อบทบาทที่เปลี่ยนแปลงภายหลังจากเกษียณอายุ และสามารถใช้ชีวิตภายหลังจากการเกษียณอายุอย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุ (2) นำเสนอแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุด้านต่าง ๆ ได้แก่ การเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจและรายได้ การเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัย 3) การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพร่างกาย การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ และการเตรียมความพร้อมด้าน การใช้เวลา
  • รายการ
    ผลของการเรียนเชิงรุกออนไลน์รายวิชาหลักการลงทุน
    (โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-10-28) ปัทมา โกเมนท์จำรัส
    บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ในการศึกษามีดังนี้คือ 1) ศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนเชิงรุกออนไลน์ก่อนเรียนและหลังเรียนในรายวิชาหลักการลงทุน โดยการใช้ Quizizz ในหัวข้อ การประเมินมูลค่าตราสารทุน และ การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการลงทุน 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนเชิงรุกออนไลน์โดยการใช้ Quizizz ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ Quizizz โดยได้ทำการเก็บข้อมูลจากการใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จานวน 70 ตัวอย่าง จากการศึกษาพบว่า 1) ผลการเรียนเชิงรุกออนไลน์ในรายวิชาหลักการลงทุนในหัวข้อการประเมินมูลค่าตราสารทุน และหัวข้อการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการลงทุน โดยการใช้ Quizizz หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนเชิงรุกออนไลน์โดยการใช้ Quizizz ในภาพรวมในระดับมากที่สุด คำสาคัญ: การเรียนรู้เชิงรุก ออนไลน์ เกมส์ Quizizz
  • รายการ
    รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชา MGT370 นวัตกรรมและการพัฒนาแนวคิดธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
    (Sripatum University, 2565-06-10) กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชา MGT370 นวัตกรรมและการพัฒนาแนวคิดธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (2) ความสัมพันธ์ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาดังกล่าว (3) อิทธิพลของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชานั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจที่ลงทะเบียนในรายวิชา MGT370 ปีการศึกษา 2564 จานวน 132 คน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทาการวิเคราะห์ข้อมูลจากการรวบรวมแบบสอบถามความคิดเห็นที่ได้รับทั้งหมด โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกาหนดระดับความมีนัยสาคัญ 0.05 ทั้งนี้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธืเพียรสันและการ วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ
  • รายการ
    โอกาสของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอุตสาหกรรมส่วนประกอบอาหารไทยในตลาดต่างประเทศ
    (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมกับเครือข่ายทางวิชาการ 10 สถาบัน, 2564-07-09) สุธินี มงคล
    งานวิจัยนี้ทำการศึกษาโอกาสของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอุตสาหกรรมส่วนประกอบอาหารไทยในตลาดต่างประเทศ มุ่งเน้นการศึกษาเครือข่ายความสัมพันธ์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอุตสาหกรรมส่วนประกอบอาหารไทย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมี 10 กรณีศึกษา ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับ 10 ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอุตสาหกรรมส่วนประกอบอาหารไทยในตลาดต่างประเทศ ผลการวิจัยพบว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอุตสาหกรรมส่วนประกอบอาหารไทยในตลาดต่างประเทศจำนวนมากพึ่งพากรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ด้วยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและกิจกรรมที่ได้รับการอุดหนุนอื่นๆ เพื่อที่จะเข้าถึงและติดต่อกับลูกค้าในเบื้องต้น นอกจากนี้ความสัมพันธ์กับลูกค้าและธนาคารพาณิชย์ก็มีความสำคัญมากเช่นกัน อย่างไรก็ตามธนาคารของรัฐบาลมีความสำคัญน้อย และเมื่อเวลาผ่านไป ที่ได้ดำเนินธุรกิจในต่างประเทศแล้ว ความสำคัญของหน่วยงานภาครัฐที่มีต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอุตสาหกรรมส่วนประกอบอาหารไทยในตลาดต่างประเทศจะลดน้อยลง เนื่องจากความสัมพันธ์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอุตสาหกรรมส่วนประกอบอาหารไทยในตลาดต่างประเทศที่มีกับลูกค้าเติบโตขึ้น เครือข่ายความสัมพันธ์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอุตสาหกรรมส่วนประกอบอาหารไทยในตลาดต่างประเทศกับหน่วยงานอื่นๆ ช่วยอำนวยความสะดวกในการแสวงหาประโยชน์จากตลาดต่างประเทศ ความช่วยเหลือที่ได้รับจากเครือข่ายความสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับสถานะของการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอุตสาหกรรมส่วนประกอบอาหารไทยในตลาดต่างประเทศว่าอยู่ในขั้นใด ไม่ว่าจะเป็นความช่วยเหลือเบื้องต้นเกี่ยวกับการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศผ่านงานแสดงสินค้า ไปจนถึงความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการพัฒนาคุณภาพเพื่อที่ขยายตลาดต่างประเทศ
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาMGT345 การเป็นผู้ประกอบการและการสร้างธุรกิจใหม่
    (การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติครั้งที่17 " นวัตกรรมการศึกษา: อนาคตและความก้าวหน้าในการวิจัยทางการศึกษาด้านการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาวิชาชีพ" จัดโดย มหาวิทยาลัยศิลปกร วันที่ 5 มิถุนายน 2564 หน้า 193-209, 2564-06-05) กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาในรายวิชา MGT345 การเป็นผู้ประกอบการและการสร้างธุรกิจใหม่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำแนกตามปัจจัย ส่วนบุคคล ตลอดจนศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจที่ลงทะเบียนในรายวิชา MGT345 การเป็นผู้ประกอบการและการสร้างธุรกิจใหม่ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 80 คน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีดังนี้ ค่าความถี่ ,ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test, One-Way ANOVA และวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ระดับด้านความพึงใจในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ด้านปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีความคิดเห็นต่อผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน ส่วนความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอน ไม่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา MGT345 การเป็นผู้ประกอบการและการสร้างธุรกิจใหม่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
    (งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ครั้งที่ 11 ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ การจัดการ และศิลปะ ประจำปี 2564 ผ่านโปรแกรม ZOOM หน้า 177-188., 2564-04-30) ปัทมา โกเมนท์จำรัส
    วัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้คือ (1) ศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (E-banking) ได้แก่ปัจจัยด้านผู้ใช้บริการ ปัจจัยด้านสถานที่ที่ใช้บริการ ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ และปัจจัยด้านระบบรักษาความปลอดภัย (2) ศึกษาความเสี่ยงจากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์(E-banking) โดยเป็นการศึกษาความเสี่ยงด้านการเงิน และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (3) ศึกษาเปรียบเทียบระดับความเสี่ยงในภาพรวมจากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (E-banking) เมื่อจำแนกตาม เพศ สถานภาพสมรส อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และรายจ่ายต่อเดือน (4) การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงจากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (E-banking) ในรายด้าน และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในด้านการเงิน ในด้านปฏิบัติการ และในภาพรวม จากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งด้านผู้ใช้บริการ ด้านสถานที่ใช้บริการ ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านระบบรักษาความปลอดภัย เป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงในระดับปานกลางและระดับมาก (2) ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์(E-banking) ในด้านการเงินและด้านปฏิบัติการจะมีระดับมาก (3) ความเสี่ยงจากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (E-banking) เมื่อเปรียบเทียบ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และรายจ่ายต่อเดือน พบว่า ระดับความเสี่ยงโดยรวมแตกต่างกัน (4) ปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงของด้านสถานที่และด้านระบบรักษาความปลอดภัยส่งผลต่อระดับความเสี่ยงในด้านการเงิน ปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงของด้านระบบรักษาความปลอดภัยส่งผลต่อระดับความเสี่ยงในด้านปฏิบัติการ และปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงของด้านระบบรักษาความปลอดภัยส่งผลต่อระดับความเสี่ยงในด้านภาพรวม
  • รายการ
    ความพึงพอใจในการใช้บริการธนาคารกรุงเทพ สาขา มหาวิทยาลัยศรีปทุม
    (2563-12-18) ผศ.ดร.กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล; ผศ.ดร.ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์; ภราดร ตาเดอิน; พุทธชาติ จาคา; รัชชานนท์ แดงมา; อดิศักดิ์ อรรถจินดา
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการใช้บริการธนาคารกรุงเทพ สาขา มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้วิจัยกาหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยศรีปทุม จานวน 379 คน และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบบังเอิญ (Accidental sampling) ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทาการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นามาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกาหนดระดับความ มีนัยสาคัญ 0.05 ทั้งนี้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมระดับความพึงพอใจในการใช้บริการ ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านรูปลักษณ์ ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ด้านการตอบสนองลูกค้า ด้านการรับประกัน/ความมั่นใจ ด้านการดูแลเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคล ตามลาดับ
  • รายการ
    ความพึงพอใจของผู้ซื้อสินค้าในตลาดสดยิ่งเจริญ สะพานใหม่ กรุงเทพมหานคร
    (2563-12-18) ผศ.ดร.ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์; ผศ.ดร.กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล; นลินรัตน์ รัตนพวงทอง; นันทิภา ทองไชย; ณัชชา อบอุ่น
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ซื้อสินค้าในตลาดสดยิ่งเจริญ สะพานใหม่ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่มาใช้บริการที่ตลาดสดสะพานใหม่ จานวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างการแบบบังเอิญ (Accidental sampling) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมระดับความพึงพอใจในการใช้บริการ ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการตอบสนองลูกค้า ด้านการรับประกัน/ ความมั่นใจ ด้านรูปลักษณ์ ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ด้านการดูแลเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคล ตามลาดับ
  • รายการ
    ความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12-19) ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์, กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล, สุธินี มงคล, ปัทมา โกเมนท์จํารัส, บรินดา ศัลยวุฒิ, ศุภานัน แก้วพามา, นิภาพร โคตรชัย, ธันย์ชนก เขียวทรายมูล
    การศึกษาวิจัยเรื่องความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยงานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสํารวจ ซึ่งมุ่งเน้นทำการสํารวจสอบถามเฉพาะผู้ที่ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยกําหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนทั่วไปที่ใช้บริการ BTS ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 538 คน และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental sampling) ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกําหนดระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 ทั้งนี้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีดังนี้ ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ S.D.) สําหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวเิคราะห์ครั้งนี้กําหนดไว้ที่ระดับ .05 และ .01 ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลความพึงพอใจในการใช้บริการ BTS ด้านรูปภาพลักษณ์ อยู่ในระดับมาก ( x̅ = 3.97 , S.D.= 0.69) ด้านการตอบสนองลูกค้า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.78, S.D.= 0.75) ด้านความรับประกัน/ความมั่นคง มีระดับความคิดเห็นระดับมาก (x̅ = 3.83, S.D.= 0.76) ด้านการเอาใจใส่ลูกค้า เป็นรายบุคคลมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.84, S.D.= 0.72) และด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจพบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
  • รายการ
    ผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนที่ส่งผลต่อประเทศไทย
    (สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, 2563-07-17) สุธินี มงคล
    ในการศึกษาผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนต่อประเทศไทยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนต่อประเทศไทย และ 2) เพื่อพัฒนาแนวทางในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการรับมือกับผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้ในอนาคต โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม จำนวน รวมทั้งสิ้น 24 คน ผลการวิจัยพบว่า สงครามการค้านี้เป็นความขัดแย้งทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา และส่งผลกระทบต่อประเทศไทย โดยจะเห็นได้ว่า ผลกระทบจะมากหรือน้อยขึ้นกับความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีนและสหรัฐอเมริกาว่าอยู่ในระดับมากหรือน้อย หรือส่งออกสินค้าที่ไม่อยู่ในรายการการขึ้นภาษี จะได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย ในส่วนของไทยนั้น เนื่องจากมีปริมาณการค้ากับจีนและสหรัฐอเมริกาค่อนข้างมาก ทำให้ได้รับผลกระทบสูงทางด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจชะลอตัว จึงควรต้องมีการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีสมรรถนะในการดำเนินการค้าให้มีความหลากหลาย เพื่อรองรับกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป
  • รายการ
    ศักยภาพและความพร้อมของสังคมไทย สู่การเป็นสังคมไร้เงินสด
    (คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมางคลพระนคร, 2563-03) อภิชญา พิภวากร; สุภาวดี ฮะมณี; นันทรัตน์ เตชะธิการ; สราวุธ คำพุฒ
    บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ ศักยภาพและความพร้อมของสังคมไทย ที่มีรูปแบบการชำระเงินที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมสู่การเป็นสังคมไร้เงินสด เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบธุรกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ขยายไปในประเทศต่าง ๆทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย เมื่อโลกหันหน้าเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ จะเห็นได้จากโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ถูกพัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้คนได้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินในยุคดิจิทัล จนมาถึงสื่อการชำระเงินที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า “การชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)” เทคโนโลยีการชำระเงินเล็กทรอนิกส์และนวัตกรรมทางการเงินได้เข้ามามีบทบาทต่อการทำงาน และการใช้ชีวิต ประจำวันของประชาชน ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไปให้เข้ากับยุคดิจิทัล ทั้งลักษณะของการดำเนินกิจการ พฤติกรรมการบริโภคและการซื้อสินค้าจากหน้าร้าน ดังนั้นความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ศึกษาถึงศักยภาพ และความพร้อมของผู้บริโภคในสังคมไทย จะทำให้ผู้ประกอบการ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถเตรียมพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางการเงินที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง
  • รายการ
    การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในยุคสังคมออนไลน์ เขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานีและนนทบุรี
    (สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2563-06) อรนิษฐ์ แสงทองสุข
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์(1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในยุคสังคมออนไลน์ เขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี (2) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในยุคสังคมออนไลน์ เขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุสัญชาติไทย ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นสมาชิกสมาคม ผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.860 จำนวน 400 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที สถิติเอฟ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
  • รายการ
    การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี
    (Sripatum University, 2562-12) อรนิษฐ์ แสงทองสุข
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์(1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย เขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี (2) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุสัญชาติไทย ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นสมาชิกสมาคม ผู้สูงอายุ เขต กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.860 จำนวน 400 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที สถิติเอฟ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
  • รายการ
    ความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12-19) ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์; กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล; สุธินี มงคล; ปัทมา โกเมนท์จํารัส; บรินดา ศัลยวุฒิ; ศุภานัน แก้วพามา; นิภาพร โคตรชัย; ธันย์ชนก เขียวทรายมูล
    การศึกษาวิจัยเรื่องความพึงพอใจในการใชบบริการรถไฟฟ้า BTS ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครจาํแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยงานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสํารวจ ซึ่งมุ่งเน้นทำการสํารวจสอบถามเฉพาะผู้ที่ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยกําหนดกลุ ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนทั่วไปไปที่ใชบ้ริการ BTS ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 538 คน และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental sampling) ซ่ึงในการวิจยัครั ้งนี ้ ผูว้ิจยัไดท้าํการวิเคราะห์ขอ้มูล โดยการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกําหนดระดบัความมีนัยสำคัญ 0.05 ทั้งนี้ สถิติที่ใชใ้นการวิเคราะห์ขอ้มูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีดังนี้ ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค ่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ S.D.) สําหรับค่า นยัสาํคญัทางสถิติที่ใชใ้นการวเิคราะห์ครั้งนี้กําหนดไวท้ี่ระดบั .05 และ .01 ผลการวจิยั พบว่าผตู้อบแบบสอบถาม มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลความพึงพอใจในการใช้บริการ BTS ด้านรูปภาพลักษณ์ อยู่ในระดับมาก ( x= 3.97 , S.D.= 0.69) ด้านการตอบสนองลูกค้า มีระดบัความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x = 3.78, S.D.= 0.75) ด้านความรับประกัน/ความมั่นคง มีระดับความคิดเห็นระดับมาก (x = 3.83, S.D.= 0.76) ด้านการเอาใจใส่ลูกค้า เป็นรายบุคคลมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x =3.84, S.D.= 0.72) และด้านความหน้าเชื่อถือและไว้วางใจพบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก