CMU-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 60
  • รายการ
    พฤติกรรมการเปิดรับ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจ ของผู้อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ในกรุงเทพมหานคร
    (Sripatum University, 2560-04-28) ชำนาญ ไชยศร
    การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการเปิดรับ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของผู้อ่านจากหนังสือพิมพ์ไทย ในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมเปิดรับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ในกรุงเทพมหานคร ศึกษาการใช้ประโยชน์ของผู้อ่านข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ไทย ในกรุงเทพมหานคร และ ศึกษาความพึงพอใจของผู้อ่านข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ในกรุงเทพมหานคร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร
  • รายการ
    ความพึงพอใจและความคิดเห็นต่อรายการสนามข่าวเสาร์-อาทิตย์ ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ของผู้ชมในกรุงเทพมหานคร
    (Sripatum University, 2560-04-28) เจษฎา อุปนิ
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจและความคิดเห็นต่อรายการสนามข่าวเสาร์-อาทิตย์ ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือประชาชนทั่วไป ที่รับชมรายการสนามข่าวเสาร์-อาทิตย์ ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในกรุงเทพมหานคร
  • รายการ
    พฤติกรรมและความพึงพอใจนิตยสารดิจิทัลของคนวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ชลัมพ์ ศุภวาที
    สารนิพนธ์ที่นำเสนอเป็นการศึกษาเรื่อง พฤติกรรมและความพึงพอใจนิตยสารดิจิทัลของคนวัยทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อนิตยสารของในการเข้าถึงสื่อนิตยสารดิจิทัล ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร และความพึงพอใจรวมไปถึงการเปิดรับสื่อนิตยสารดิจิทัล ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Rsearch) โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยใช้คำถามปลายเปิด และคำถามปลายปิด เป็นแบบสอบถามที่ให้ผู้ถูกสำรวจกรอกข้อมูลด้วยตนเอง (Self – administered Questionnaire) โดยมีการวางโครงสร้างแบบสัมภาษณ์ในการวิจัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการศึกษา
  • รายการ
    การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผุ้ชมที่มีต่อรายการข่าวภาคค่ำสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ณัฐฐา ชื่นพล
    สารนิพนธ์เรื่อง “การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผุ้ชมที่มีต่อรายการข่าวภาคค่ำสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ผู้ชมได้รับจากรายการข่าวภาคค่ำ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยและความพึงพอใจของผู้ชมมีต่อรายการข่าวภาคค่ำสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ทำการศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด เป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยผู้วิจัยกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการหาค่าเปรียบเทฟียบ T-Test
  • รายการ
    พฤติกรรม การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจในการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรของพนักงานธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ในสำนักงานใหญ่
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) นวพรรษ ทาเงิน
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร ของพนักงานธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ในสำนักงานใหญ่ ศึกษาการใช้ประโยชน์จากสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร ของพนักงานธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ในสำนักงานใหญ่ และศึกษาความพึงพอใจของพนักงาน ที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร ของพนักงานธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ในสำนักงานใหญ่ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลจาก พนักงานธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ในสำนักงานใหญ่ จำนวน 352 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเครื่องมือ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่เป็นอิสระต่อกันกัน ด้วยค่า Indepdent-Samples T-Test การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัวแปร ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) F-test และใช้สถิติไคส์สแควส์ (Peason Chi-square) ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 26 – 30 สถานภาะสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 30,000 บาท และมีอายุงาน 7 ปีขึ้นไป
  • รายการ
    พฤติกรรมและความพึงพอใจการเปิดรับข่าวอาชญากรรมของผู้อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐในกรุงเทพมหานคร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ธานี แกมวณิชกุล
    การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวอาชญากรรมของผู้อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐในกรุงเทพมหานคร ศึกษาความพึงพอใจของผู้อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐในกรุงเทพมหานครและศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวอาชญากรรมและความพึงพอใจข่าวอาชญากรรมของผู้อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่เป็นอิสระต่อกันกัน ด้วยค่า Independent-Samples T-Test การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัวแปร ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) F-test และใช้สถิติไคส์สแควร์ (Pearson Chi-Square) ในการทดสอบสมมติฐาน
  • รายการ
    ปัจจัยการสื่อสารการตลาดเพื่อการตัดสินใจซื้อแมคโดนัลด์ภายใต้บริบทของส่วนประสมทางการตลาดของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ชัญญาพัชญ์ ธนะแสนประเสริฐ
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของลูกค้าแมคโดนัลด์ในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการสื่อสารการตลาดแมคโดนัลด์ของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการสื่อสารการตลาดกับการตัดสินใจซื้อแมคโดนัลด์ของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ ลูกค้าที่เคยซื้อแมคโดนัลด์ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่เป็นอิสระต่อกันกัน ด้วยค่า Independent-Samples T-Test การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัวแปร ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) F-test และใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน (Pearson’s C0rrelation)ในการทดสอบบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 21-30 ปี มีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรี เป็นนักเรียน/นักศึกษา และมีรายได้ต่อเดือน 25,001-35,000 บาท
  • รายการ
    การรับรู้ ทัศนคติ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) สัญญา ปรีชาศิลป์
    สารนิพนธ์ที่นำเสนอเป็นการศึกษาเรื่อง "การศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย" โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่การใช้บริการการเงินฝาก คิดเป็นร้อยละวนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 51.2 มีอายุ 21-30 ปี คิดเป็นรอยละ 36.8 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 55.8 เป็นนักเรียน / นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 28.8 มีรายได้ต่อเดือน10,000-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 42.2 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ50.0 ศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ 96.0 มีระยะเวลาในการเป็นลูกค้าของธนาคาร คือ มากกว่า 2 ปีขึ้นไป มีเหตุผลในการใช้บริการธนาคารอิสลาม คือ ใกล้บ้าน / ใกล้ที่ทำงาน คิดเป็นร้อยละ 45.7 ประเภทการใช้บริการการเงินฝาก คิดเป็นร้อยละ 74.7 ใช้บริการสินเชื่อประเภทสินเชื่อส่วนบุคคล คิดเป็นร้อยละ 49.9 การใช้บริการบัตรเอทีเอ็ม คิดเป็นร้อยละ 90.0
  • รายการ
    การเปิดรับและความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อ FACEBOOK FANPAGE : กรณีศึกษา Thai PBS
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ยลวรรธน์ พวงแย้ม
    การศึกษาสารนิพนธ์เรื่อง “การเปิดรับและความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อ FACEBOOK FANPAGE : กรณีศึกษา Thai PBS” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อ Facebook Thai PBS Fanpage ทั้งนี้ การศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มผู้ชม Thai PBS Facebook Fanpage จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติต่างๆที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และ ONE-WAY ANOVA F-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี ระดับการศึกษาระดับ เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-30,000 บาท อาชีพพนักงานบริษัท
  • รายการ
    ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์ของผู้ฟังที่มีต่อข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) เพชรทัย เกิดโชติ
    การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์ของผู้ฟังที่มีต่อข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย รวมทั้งศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับฟังข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ของความพึงพอใจกับการนำเสนอข่าวสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ไปใช้ประโยชน์
  • รายการ
    อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อลูกค้าชาวมุสลิมในการใช้สื่อเฟซบุ๊ก เพื่อตัดสินใจใช้บริการ : กรณีศึกษาร้านอาหารอิบติซาม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) สุเมธ เด่นประภา
    การศึกษาเฉพาะบุคคลครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของลูกค้าชาวมุสุลิม พฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ก และอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจใช้บริการของลูกค้าชาวมุสลิมผ่า่นสื่อเชฟบุ๊ก ในด้านเหตุผล และอารมณ์ กรณีการศึกษา : ร้านอาหารอิบติชาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ลูกค้าชาวอิลามที่เป็นแฟนเพจร้านอาหารอิบติชาม จำนวน 400 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องเพียรมือสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
  • รายการ
    พฤติกรรมการเปิดรับและการใช้ประโยชน์ต่อเนื้อหาเว็บไซต์การศึกษาเอ็ดดูโซนดอทคอมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ธวัชชัย สุขสีดา
    สารนิพนธืที่นำเสนอเป็นการศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการเปิดรับและการใช้ประโยชน์ต่อเนื้อหาเว็บไซต์การศึกษาเอ็ดดูโซนดอทคอมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศต่อเว็บไซต์อ็ดดูโซนดอทคอม และศึกษาการใช้ประโยชน์ต่อเนื้อหาเว็บไซต์อ็ดดูโซนดอทคอมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลั่ย การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร 2 ตัว ที่เป็นอิสระต่อกัน ด้วยค่า Independent-Samples T-Test การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างมากกว่า 2 ตัวแปร ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) F-test
  • รายการ
    พฤติกรรมและความพึงพอใจในการเปิดรับข่าวเศรษฐกิจในหนังสือพิมพ์สยามรัฐของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ณัฐพล ศรีภิรมย์
    งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรม และความพึงพอใจในการเปิดรับข่าวเศรษฐกิจในหนังสือพิมพ์สยามรัฐของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantilative Research) โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยครั้งนี้คือ กลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาถึงพฤติกรรม และความพึงพอใจในการเปิดรับข่าวเศรษฐกิจในหนังสือพิมพ์สยามรัฐของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครโดยใช้เครื่องมือคือแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามโดยใช้ผู้ตอบเป็นผู้ตอบเอง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
  • รายการ
    พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อเว็บไซต์หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ธนิตา อิสรา
    พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อเว็บไซต์หนังสือพิมพ์บ้านเมือง เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1.เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อเว็บไซต์หนังสือพิมพ์บ้านเมืองแตกต่างกัน 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของประชาชนที่มีผลต่อความพึงพอใจการเสนอข่าวสารของเว็บไซต์หนังสือพิมพ์บ้านเมืองโดยมุ่งศึกษาเฉพาะประชาชนที่เปิดรับข่าวสารของเว็บไซต์หนังสือพิมพ์บ้านเมือง www.banmuang.co.th เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยสำรวจระยะเวลาดำเนินการวิจัยตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2559 - 30 พฤษภาคม 2559 โดยใช้แบบสอบถาม ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviations) ค่ามัธยฐาน หรือฐานนิยม (Mode) ค่านิยมกำหนดระดับ (Median) ค่าตอบ 5 ระดับ ตลอดจนการทดสอบค่า T-test และหาความแปรปรวน (Scheffe's method)
  • รายการ
    พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและทัศนคติที่มีต่อการเลือกชมภาพยนตร์ไทยของผู้ชมโรงภาพยนตร์เครือ เอส เอฟ ในเขตกรุงเทพมหานคร
    (Sripatum University, 2564) กนกรัตน์ หมอนทอง
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้ชมภาพยนตร์ไทยโรงภาพยนตร์เครือ เอส เอฟ ในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อการเลือกชมภาพยนตร์ไทยของผู้ชมภาพยนตร์ไทยโรงภาพยนตร์เครือ เอส เอฟ ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่ชมภาพยนตร์ไทยโรงภาพยนตร์เครือ เอส เอฟ ในเขตกรุงเทพมหานคร
  • รายการ
    พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจต่อการสื่อสารของเกมออนไลน์ประเภท MOBA (Multiplayer Online Battle Arena)
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ชัยธัช วงศ์ชมบุญ
    การวิจัยเรื่อง พฤติกรมการเปิดรับและความพึงพอใจต่อการสื่อสารของเกมออนไลน์ประเภท MOBA (Multiplayer Online Battle Arena) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้เล่นเกมออนไลน์ประเภท MOBA ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเปิดรับแความพึงพอใจต่อการสื่อสารของเกมออนไลน์ประเภท MOBA 2. พฤติกรรมการเปิดรับเกมเกมออนไลน์ประเภท MOBA และ 3. ความพึงพอใจต่อการสื่อสารของเกมออนไลน์ประเภท MOBA กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เล่นเกมออนไลน์ประเภท MOBA จำนวน 400 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) และแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย แจกแจงความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ผู้เล่นเกมออนไลน์ประเภท MOBA จากการเก็บตัวอย่างที่ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ จำนวน 400 คน ส่วนมากเป็นผู้ชาย อายุ 15 - 25 ปี เป็นนักเรียน นักศึกษา มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาทระดับการศึกษาสูงสุดในปัจจุบันปริญญาตรี มีการรู้จักเกมออนไลน์ประเภท MOBA เป็นครั้งแรกจากเพื่อนหรือคนในครอบครัว หรือเรียกว่าสื่อบุคคล มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเกมจากช่องทางอินเทอร์เน็ต เช่น Facebook Youtube 1 – 2 ชั่วโมงต่อวัน มีการเล่นเกมเฉลี่ยวัน 3 – 4 ชั่วโมง ทุกๆ 3- 4 วันต่อสัปดาห์ ในเวลา 18.01 – 22.00 น ส่วนใหญ่มีการรู้จักเกมออนไลน์ประเภท MOBA มาแล้วมากกว่า 2 ปีและเคยเล่นเกมออนไลน์ประเภทดังกล่าวมาและยังคงเล่นอยู่ในปัจจุบัน 2 – 3 เกม มีวัตถุประสงค์ในการรับข่าวสารเกี่ยวกับเกมเพื่อค้นหาเกมที่เปิดใหม่และเพื่อหาข้อมูลการพัฒนาหรือการอัพเดตต่างๆ ของเกม และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการสื่อของเกมออนไลน์ประเภท MOBA โดยรวมในระดับมากโดยมีความพึงพอใจต่อการสื่อสารถึงการเป็นเกม Battle หรือเกมที่มีเนื้อหาในการต่อสู้กับฝั่งตรงข้ามมากที่สุด ซึ่งทีมที่ประสบความสำเร็จจากการแข่งขันในระดับสากล สามารถสื่อสารถึงแบบอย่างของความสามัคคีและการแบ่งหน้าที่การเล่นภายในทีม กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ การสื่อสารถึงการเป็นเกม Arena หรือเกมที่เล่นบนพื้นที่ต่อสู้ที่ถูกจำลองขึ้นในลักษณะของแผนที่และบริเวณจำกัดซึ่งความสูงต่ำภายในพื้นที่หรือแกการต่อสู้ สามารถสื่อสารถึงความสมจริง (ผู้ที่อยู่สูงกว่าจะมีวิสัยทัศน์ในการมองเห็นดีกว่าผู้ที่อยู่ต่ำกว่า) กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจเฉลี่ยสูงที่สุด
  • รายการ
    ความพึงพอใจรายการเดินหน้าประเทศไทยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) นภสินธุ์ อุบล
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ชมที่มีผลต่อความพึงพอใจรายการเดินหน้าประเทศไทยและความเชื่อมั่นคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อรายการเดินหน้าประเทศไทย และ 3) เพื่อศึกษาความเชื่อมั่นของผู้ชมที่มีต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่รับชมรายการเดินหน้าประเทศไทย ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อย่างน้อย 1 ครั้ง ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร 2 ตัวแปรที่เป็นอิสระต่อกันด้วยค่า Independent – Samples T-Test การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัวแปร ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) F-test และใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ( Pearson’s Correlation) ในการทดสอบสมมุติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 – 30 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต่ 10,000 บาทลงมา กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี และเป็นนักเรียน / นักศึกษา ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อรายการเดินหน้าประเทศไทย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อรายการเดินหน้าประเทศไทย ด้านการผลิตรายการ ด้านผู้ดำเนินรายการ ด้านรูปแบบรายการ และด้านเนื้อหารายการ อยู่ในระดับปานกลาง
  • รายการ
    พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการข่าวภาคค่ำของสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) กันต์ระพี ฤกษ์วัฒนาสุข
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานครที่รับชมรายการข่าวภาคค่ำของสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ 2) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับชมรายการข่าวภาคค่ำของสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาความพึงพอใจของรับชมรายการข่าวภาคค่ำของสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์กับความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อรายการข่าวภาคค่ำของสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ และ5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับชมรายการกับความพึงพอใจของผู้ชมที่มีต่อรายการข่าวภาคค่ำของสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่รับชมรายการข่าวภาคค่ำของสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ จำนวน 400 คน การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่เป็นอิสระต่อกัน ด้วยค่า Indepndent – Samples T-Test การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัว ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) F - test
  • รายการ
    ประสิทธิ์ผลการประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลที่มีผลต่อระเบียบกฏเกณฑ์ในการเข้าถวายสักการะพระบรมศพ
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ณัฐชยา ธงศิริ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประสิทธิผลการประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลที่มีต่อระเบียบกฏเกณฑ์ในการเข้าถวายสักการะพระบรมศพ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ในด้านของการรับรู้ข่าวสารการเข้าถึง และแรงจูงใจในแต่ละประเภทของสื่อและนำไปปฎิบัติตามระเบียบกฏเกณฑ์ของรัฐบาลในการเข้าถวายสักการะพระบรมศพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ประชาชนทั่วไปที่มาเข้าถวายสักการะพระบรมศพ ณ บริเวณท้องสนามหลวง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามทั้งหมด 400 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descritive Statistics) ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลการประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลที่มีต่อระเบียบกฏเกณฑ์ในการเข้าถวายสักการะพระบรมศพ ด้านการรับรู้และการจูงใจ กลุ่มตัวอย่างได้เลือกช่องทางที่เปิดรับข้อมูลข่าวสารของทางรัฐบาล เป็น โทรทัศน์มากที่สุด รองลงมา คือ เว็บไซต์ วิทยุ Facebook ป้ายประชาสัมพันธ์ หนังสือพิมพ์ Twitter นิตยสาร วารสาร ทำให้ได้ทราบว่าในยุคปัจจุบันนั้น สื่อทางด้านโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ ยังมีบทบาทมากในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้แล้วเข้าใจในเรื่องที่เป็นกฏระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของรัฐบาลและยังร่วมไปถึงสื่อใหม่ที่เข้ามามีบทบาทในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆมากขึ้น คือ Facebook Twitter ที่เป็นสิ่งที่ประชาชนเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น ต่างจาก นิตยสาร วารสาร ที่เริ่มเป็นที่ต้องการน้อยลงเมื่อยุค IT ก้าวเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น
  • รายการ
    พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจบนสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตกรุงเทพมหานคร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) สืบสกุล ธรรมวงษ์
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาพฤติกรรมเปิดรับสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสื่อออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคที่ใช้สื่อออนไลน์ในการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่เป็นอิสระต่อกัน ด้วยค่า Independent-Samples T-Test การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัวแปร ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) F-test และใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจที่มีต่อสื่อออนไลน์กับการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ของผู้บริโภคที่ใช้สื่อออนไลน์ในการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์