กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3171
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมและภาพลักษณ์ขององค์กรธุรกิจสายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between corporate social responsibility activities and corporate image of natural gas for vehicles (NGV), natural gas unit, PTT. Company Limited (Public)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัมพร ชูโลก
คำสำคัญ: ก๊าซธรรมชาติ
NGV
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม และภาพลักษณ์ขององค์กรธุรกิจ สายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ (NGV) บริษัท ปตท. จำกัด ( มหาชน ) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมของ สายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ (NGV) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 2) ศึกษาภาพลักษณ์ของ สายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ (NGV) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมและภาพลักษณ์ของสายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ (NGV) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) จากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มลูกค้าภายในได้แก่พนักงานประจำและลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในสายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ (NGV) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวน 200 คน และ 2) กลุ่มลูกค้าภายนอกได้แก่ เจ้าของหรือผู้ประกอบการปั๊มก๊าซธรรมชาติอัด (NGV) บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) และผู้ใช้บริการก๊าซธรรมชาติ (NGV) ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน และระดับปานกลาง 2 ด้าน โดยอันดับ 1 คือ ด้านกีฬา รองลงมาคือ ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม ด้านศิลปวัฒนธรรม บรรษัทภิบาลและความโปร่งใสในการดำเนินการ และด้านการศึกษา 2 ) ความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ขององค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ขององค์กรอยู่ในระดับมาก 1 ด้าน และระดับปานกลาง 3 ด้าน โดยอันดับ 1 คือ การดูแลผู้บริโภค รองลงมาคือ ความรับผิดชอบต่อองค์กรใกล้เคียง การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม และ 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมของสายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาพลักษณ์องค์กรของสายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ (NGV) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมของสายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ด้านบรรษัทภิบาลและความโปร่งใสในการดำเนินกิจการ ด้านการศึกษา ด้านกีฬา ด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาพลักษณ์องค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3171
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
อัมพร ชูโลก.pdfFull text5.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น