Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3180
Title: ปัญหาหลักปฏิบัติแรงงานต่างด้าวในธุรกิจประมงทะเล
Other Titles: Legal problems of labour illegal immigrant in fishery industry
Authors: สรรธาน ภู่คำ
Keywords: แรงงานต่างด้าว
ประมง
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Issue Date: 2552
Publisher: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Abstract: ธุรกิจประมงทะเลเป็นหนึ่งในธุรกิจที่สำคัญสำหรับประเทศไทย เพราะเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับประเทศนับแสนล้าน นอกจากนี้แล้วธุรกิจประมงทะเลยังมีผลทำให้เกิดธุรกิจต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง และ อุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง ซึ่งส่งผลให้เกิดการจ้างงานปัจจุบันผู้ประกอบการหรือนายจ้างจำเป็นต้องหาแรงงานต่างด้าวจากประเทศพม่า ลาว กัมพูชา เข้ามาทำงาน เนื่องจากค่าแรงถูก เพื่อเสริมแรงงานส่วนที่ขาดแคลน ด้วยเหตุผลนี้แรงงานคนเป็นปัจจัยหลักของธุรกิจนี้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาในเรื่องของแรงงานต่างด้าวในธุรกิจประมงทะเลไทยย่อมทำให้รู้ถึงสภาพของปัญหาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมเศรษฐกิจ และความมั่นคงของไทย โดยที่มีสาระสำคัญในปัญหาคือในกรณีของการหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทยพ.ศ. 2482 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2539 กำหนดให้สิทธิแก่คนไทยในการทำประมงในเขตการประมงไทย ตามมาตรา 4 และยังห้ามมิให้ออกใบอนุญาตสำหรับการทำประมงคนต่างด้าวคนใดคนหนึ่งตามมาตร 5 นอกจากนี้แล้วคนต่างด้าวที่เข้ามาโดยผิดกฎหมายเพราะธุรกิจประมงทะเลเป็นอาชีพที่คนต่างด้าวห้ามทำตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ซึ่งปัจจุบันแก้ไขเป้นพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 ต้องอาศัยมาตรา 12 เพื่อให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้คนต่างด้าวจึงสามารถเข้ามาทำงานได้ นอกจากนั้นยังเป็นการกระทำที่ผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร ผลการศึกษาพบว่า แรงงานต่างด้าวที่มีสภาพที่ผิดกฎหมายคนเข้าเมืองต้องอาศัยพระราชบัญญัติการทำงานคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 ออกใบอนุญาตเพื่อให้ถูกกฎหมายมีความซับซ้อน โดยมีการวางหลักเกณฑ์ทั่วไป มีข้อยกเว้นและข้อยกเว้นซ้อนข้อยกเว้น ทำให้ยากแก่การตีความ ส่วนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บทบัญญัติที่กำหนดไว้ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานโดยทั่วไปมุ่งประสงคืในการให้ความคุ้มครองแก่แรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่ทำงานบนบกเป็นหลักเกิดความไม่สอดคล้องกับสภาพการทำงานจริง และ แนวทางปฎิบัติของแรงงานต่างด้าวในธุรกิจประมงทะเลที่ยังไม่เป็นไปตามหลักสากล ส่วนใหญ่แตกต่างและยังไม่สอดคล้องเป็นทำนองเดียวกันกับสิทธิแรงงานประเภทเดียวกันตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) ได้แก่ การตรวจสุขภาพ, การฝึกอาชีพแรงงานประมง, สัญญาจ้างหรือข้อตกลงในการจ้างงาน, ชั่วโมงการทำงาน, สวัสดิการ และ ความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น ซึ่งกฎหมายคุ้มครองแรงงานของประเทศอเมริกาและญี่ปุ่น ให้การคุ้มครองแรงงานต่างด้าวในธุรกิจประมงทะเลเป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศฟิลิปินส์ที่มีการฝึกทักษะฝีมือมีรูปแบบและขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ควรนำส่วนดีของทั้งสามประเทศมาเป็นแบบอย่าง เพื่อปรับปรุงและยกร่างเป็นกฎหมายใช้ภายในประเทศ อีกทั้งนายจ้างควรไปขึ้นทะเบียนลูกจ้างให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยภาครัฐควรกำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนมากกว่าปีละครั้ง ไม่ควรกำหนดกรอบเวลา เพื่อให้เข้าถึงบริการพื้นฐานภาครัฐ และ ตัวเลขในระบบการควบคุมจะได้ตรงตามสภาพความเป็นจริง เป็นปัญหาที่รัฐบาลและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันแก้ไขทั้งปัจจุบันและอนาคตโดยจะต้องร่วมมือกันทั้งประเทศต้นทาง และปลายทางเพื่อวางแผนแก้ไขแนวทางความร่วมมือให้เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) ร่วมกันต่อไป
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3180
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
สรรธาน ภู่คำ.pdfFull text10.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.