Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3188
Title: การศึกษาการใช้พื้นที่ว่างระหว่างอาคารในเชิงพาณิชยกรรม
Other Titles: The Study of Using Open Space Between Buildings for Commercial Activity
Authors: สมบูรณ์ เวสน์
Keywords: พื้นที่ว่าง
อาคาร
ระหว่างอาคาร
พาณิชยกรรม
Issue Date: January-2555
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ความเป็นมา ลักษณะกิจกรรม และพฤติกรรมการใช้พื้นที่ว่างระหว่างอาคารในเชิงพาณิชยกรรมของพื้นที่ย่านเยาวราชบริเวณถนนแปลงนาม ถนนอิสระนุภาพและถนนผดุงด้าว จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหา ศักยภาพ ข้อจำกัด ความเชื่อมโยงและแนวโน้มของการใช้พื้นที่ในบริบทต่างๆ และกำหนดเป็นแนวทางเพื่อนำมาสู่การพัฒนาในพื้นที่ที่ทำการศึกษา โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงพรรณนา โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบบจำเพาะเจาะจง ซึ่งเครื่องมือที่ใช้คือ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงการสำรวจ และการสังเกต แล้วใช้เครื่องมือบันทึก หรือแบบบันทึกในการบันทึกพฤติกรรมของการใช้ที่ว่าง และรวบรวมข้อมูล ซึ่งได้จากการสังเกตในบริเวณที่ทำการศึกษา โดยแบ่งตามเนื้อหาลักษณะของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ระหว่างอาคาร จากการใช้พื้นที่ของคน รถ และการค้าขายจากการศึกษาพบว่าย่านเยาวราชเป็นพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ของสถานที่ มีลักษณะการใช้พื้นที่ว่างที่สอดคล้องกับหลักความเชื่อทางศาสนา ทั้งการไหว้เจ้า ตรุษจีน การถือศลีกินเจเน้นการค้าขายทั้งขายปลีกและขายส่ง และการศึกษาตรอกในบริเวณพื้นที่ศึกษา สามารถแบ่งประเภทและปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เช่น การวางสิ่งของรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ ทั้งกระถางต้นไม้ รถจักรยานหรือมอเตอร์ไซด์ การตั้งแผงขายของ และการต่อเติมกันสาดบริเวณด้านหน้าและด้านข้างอาคาร ปัญหาในเรื่องความสะอาดที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ซึ่งผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ในแต่ละด้านของตรอกทั้ง 3 ตรอกโดยขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยคำนึงถึงลักษณะกิจกรรมตามธรรมชาติของคนในพื้นที่เป็นหลัก และนำเสนอเป็นภาพกราฟริกและแนวทางปฏิบัติ ตามบริบทของพื้นที่ทั้ง 3 ตรอก
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3188
Appears in Collections:รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
52 ผศ.ดร.สมบูรณ์ เวสน์.pdf22.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.