Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3367
Title: ปัญหาและอุปสรรคการดาเนินคดีแบบกลุ่มในคดีผู้บริโภค
Authors: จุฑามาศ วัฒนะศิริขจร
Keywords: การดำเนินคดีแบบกลุ่ม
ผู้บริโภค
Issue Date: 9-March-2555
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องคดีแบบกลุ่มในคดีผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันกฎหมายที่ใช้ในเรื่องดังกล่าวไม่มีบัญญัติไว้ จึงต้องอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 จึงก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องคดี การพิจารณาคดี และการบังคับคดี เพราะตามกฎหมายดังกล่าวเป็นการฟ้องคดีเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น ส่วนการดาเนินคดีแบบกลุ่มเป็นการพิจารณาคดีแบบพิเศษที่ต้องอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการฟ้องคดีแบบกลุ่มเป็นการเฉพาะ จากการศึกษาพบว่า ในต่างประเทศได้มีการนารูปแบบการดาเนินคดีแบบกลุ่ม (Class action) มาปรับใช้ในคดีที่มีผู้เสียหายจานวนมาก เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการดาเนินคดี ลดภาระการพิจารณาคดีของศาลและเพื่อให้การอานวยความยุติธรรมเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการดาเนินคดีแบบกลุ่มเป็นรูปแบบการดาเนินคดีที่ผู้แทนคดีดำเนินคดีแทนผู้เสียหายคนอื่นๆ ซึ่งมีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ใช้เรียกร้องเป็นอย่างเดียวกันโดยผู้เสียหายเหล่านั้นไม่จำต้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดี และคำพิพากษาของศาลจะผูกพันสมาชิกทั้งหมด หากมีการนาหลักการดำเนินคดีแบบกลุ่มมาปรับใช้แก่คดีผู้บริโภคที่มีผู้เสียหายจานวนมากแล้วย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เสียหายและต่อกระบวนพิจารณาคดีของศาล ผู้ศึกษาขอเสนอแนะให้มีการแก้ไขหลักการดาเนินคดีแบบกลุ่มโดยแก้ไขพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่มขึ้นเป็นการเฉพาะโดยกาหนดให้มีการจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษและสร้างผู้พิพากษาที่ความเชี่ยวชาญในกระบวนพิจารณาคดีแบบ กลุ่ม และออกข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการคัดเลือกผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีแบบกลุ่มและควรมีการสอบใบอนุญาตว่าความในคดีแบบกลุ่ม และให้ผู้มีอำนาจ ดำเนินคดีแทนผู้บริโภคเป็นโจทก์ฟ้องคดีแบบกลุ่มได้ และให้ศาลมีอำนาจในการสงวนสิทธิแก้ไขคำพิพากษาและพิพากษาให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษ และให้มีการจัดตั้งศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลฎีกาแผนกการดาเนินคดีแบบกลุ่มและให้สมาชิกกลุ่มมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกา และบังคับคดี โดยให้หนี้ค่าเสียหายที่สมาชิกกลุ่มพึงได้รับนั้นเป็นหนี้ในลาดับเดียวกันกับหนี้บุริมสิทธิ ทั้งนี้ เพื่อให้รูปแบบการดาเนินคดีแบบกลุ่มในคดีผู้บริโภคมีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มากยิ่งขึ้น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3367
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf95.46 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf152.42 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf94.83 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf94.86 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf124.16 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf526.11 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf783.88 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf383.7 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf172.27 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf127.22 kBAdobe PDFView/Open
11appen.pdf277.75 kBAdobe PDFView/Open
12profile.pdf102 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.