กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3369
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการเยียวยาผู้เสียหายในคดีสิ่งแวดล้อมโดยผลผูกพันของคำพิพากษาและคำบังคับ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรทิพย์ บุญมานะ
คำสำคัญ: ผู้เสียหาย
สิ่งแวดล้อม
คำพิพากษา
คำบังคับ
วันที่เผยแพร่: 9-มีนาคม-2555
บทคัดย่อ: อำนาจศาลในการกำหนดขอบเขตคำพิพากษาหรือคำบังคับเกี่ยวกับการเยียวยาผู้เสียหายในคดีสิ่งแวดล้อมไม่มีมาตรการเพียงพอก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการเยียวยาหรือชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหาย แม้ศาลจะมีอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดไว้แต่กฎหมายที่มีอยู่นั้นไม่อาจจะครอบคลุมกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ จึงควรที่จะนำหลักและทฤษฎีกฎหมายอื่น ๆ มาใช้เพื่อให้การเยียวยาผู้เสียหายและอำนาจศาลในการกำหนดขอบเขตคำพิพากษาหรือคำบังคับในคดีสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพปราศจากการซ้ำซ้อนของอำนาจศาล โดยควรนำหลักเกณฑ์การเยียวยาผู้เสียหายตามหลักเกณฑ์การฟ้องคดีแบบกลุ่มมาใช้บังคับอย่างเป็นรูปธรรมและบัญญัติหลักการสงวนสิทธิของคำพิพากษาไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 อย่างชัดเจนเพื่อให้ศาลปกครองนำกลไกเหล่านี้ไปใช้บังคับได้ นอกจากอำนาจในการที่จะกำหนดคำพิพากษาหรือคำบังคับของศาลโดยมีกฎหมายที่มีประสิทธิภาพเป็นเครื่องมือในการบังคับใช้แล้ว และเพื่อให้การแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการหน่วยงานผู้รับผิดชอบบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำบังคับในคดีสิ่งแวดล้อมก็ควรที่จะมีหน่วยงานกลางหรือหน่วยงานเฉพาะในการที่จะมีอำนาจบังคับคดีแทนประชาชนผู้ได้รับความเสียหายจากผู้ก่อมลพิษ ดังนั้นในปัญหาอำนาจศาลที่จะกำหนดขอบเขตคำพิพากษาหรือคำบังคับเกี่ยวกับการเยียวยาในคดีสิ่งแวดล้อม ผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่าศาลควรกำหนดค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนไว้เป็นการเฉพาะโดยไม่ต้องอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 และการกำหนดค่าเสียหายควรนำหลักกฎหมายของประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) ที่เรียกว่า “Class Action” ควบคู่ไปกับหลักการสงวนสิทธิในคำพิพากษาหรือคำบังคับมาปรับใช้ เพื่อให้คำพิพากษาหรือคำบังคับของศาลมีเอกภาพควรบัญญัติกฎหมายให้การเยียวยาผู้เสียหายในคดีสิ่งแวดล้อมเป็นอำนาจของศาลยุติธรรมหรืออำนาจของศาลปกครองไว้เป็นการเฉพาะ รวมทั้งหน่วยงานผู้รับผิดชอบบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำบังคับควรมีการกำหนดหน่วยงานกลางหรือหน่วยงานเฉพาะในการบังคับคดี นอกจากนั้นควรบัญญัติกฎหมายรับรองในเรื่องสิทธิของผู้เสียหายให้มีความชัดเจนและครอบคลุมมากกว่านี้โดยควรจะถือว่าเมื่อมีความเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อผู้ใดแล้วก็ให้ถือว่าสิทธิของผู้นั้นถูกละเมิดแล้วและควรบัญญัติให้ชัดเจนด้วยว่าผู้เสียหายในกรณีเช่นนี้จะมีสิทธิฟ้องคดีในกรณีใดได้บ้างหรือศาลใดบ้าง ในฐานะที่รัฐมีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนและคดีประเภทนี้จะเป็นคดีเกี่ยวกับส่วนรวมเป็นส่วนใหญ่ตลอดจนมีผู้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในการฟ้องคดีของผู้เสียหายรัฐจึงควรเข้ามามีส่วนช่วยเหลือ เช่น จัดตั้งองค์กรพิเศษขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในการดำเนินคดีหรืองดเว้นไม่เรียกค่าฤาชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3369
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1title.pdf109.43 kBAdobe PDFดู/เปิด
2abstract.pdf114.15 kBAdobe PDFดู/เปิด
3acknow.pdf54.04 kBAdobe PDFดู/เปิด
4conent.pdf130.14 kBAdobe PDFดู/เปิด
5chap1.pdf222.76 kBAdobe PDFดู/เปิด
6chap2.pdf980.74 kBAdobe PDFดู/เปิด
7chap3.pdf958.94 kBAdobe PDFดู/เปิด
8chap4.pdf387 kBAdobe PDFดู/เปิด
9chap5.pdf190.73 kBAdobe PDFดู/เปิด
10bib.pdf178.24 kBAdobe PDFดู/เปิด
11profile.pdf55.36 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น