Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3415
Title: ปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ศึกษากรณี การขอตรวจใบอนุญาตขับขี่
Authors: เอกรัตน์ โลหะ
Keywords: พระราชบัญญัติจราจรทางบก
ใบอนุญาตขับขี่
Issue Date: 15-March-2555
Abstract: การศึกษาเรื่อง ปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ศึกษากรณี การขอตรวจใบอนุญาตขับขี่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสาคัญของปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้กฎหมายจราจร แนวคิดในการบังคับใช้กฎหมายจราจรให้มีประสิทธิภาพ วิเคราะห์ปัญหาพร้อมทั้งเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยผู้ศึกษาได้ทาการศึกษาจากตัวบทกฎหมายทั้งภายในประเทศ และหลักกฎหมายจราจรของต่างประเทศ งานวิจัย และวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายจราจรเป็นหลัก ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นถึงปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายจราจรที่เกี่ยวกับการขอตรวจใบอนุญาตขับขี่ ดังต่อไปนี้ 1) ปัญหากรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่มีอานาจหยุดรถของผู้ขับขี่ที่ต้องสงสัยว่าขับรถโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติเกี่ยวกับใบอนุญาตขับขี่ได้เพื่อตรวจสอบใบอนุญาตขับขี่ เนื่องจากพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 142 ไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจนในการใช้อานาจพนักงานเจ้าหน้าที่ทาเช่นนั้นได้ 2) ปัญหากรณีผู้ขับขี่รถไม่แสดงใบอนุญาตขับขี่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจเนื่องจากไม่มีบทลงโทษที่เหมาะสมที่จะทาให้ประชาชนเกรงกลัวต่อการฝ่าฝืนกฎหมายจราจร และ เห็นความสาคัญของการพกพาใบอนุญาตขับขี่ 3) ปัญหาพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจควบคุมตัวผู้ขับขี่ได้เนื่องจากการไม่แสดงใบอนุญาตขับขี่เป็นเพียงฐานความผิดลหุโทษ ซึ่งต้องห้ามมิให้ควบคุมตัวผู้กระทาความผิดลหุโทษทั้งนี้ ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 84 วรรคสอง 4) ปัญหาการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ถูกร้องเรียนฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157จากผลการศึกษาที่ผู้ศึกษาได้พบล้วนแต่มีส่วนในการทาให้ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายจราจรลดลง เพราะด้วยเหตุที่กฎหมายจราจรเป็นกฎหมายทางเทคนิคมิได้ถูกบัญญัติขึ้นด้วยเหตุผลทางศีลธรรม จึงเป็นการกระทาผิดเพราะกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดและกาหนดโทษเอาไว้เท่านั้น กฎหมายจราจรจึงต้องอาศัยมาตรการในการลงโทษมาช่วยให้มาตรการในการบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามแนวความคิดของสานักคลาสสิก ซึ่งการลงโทษนั้นต้องอยู่ภายใต้หลักการเรื่องโทษที่เหมาะสมด้วย แต่จากการศึกษาบทบัญญัติในกฎหมายจราจร ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 หรือ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2551 นั้น ปัญหาสาคัญที่ผู้ศึกษาพบ ก็คือ กฎหมายจราจรของประเทศไทย ยังไม่มีการกาหนดโทษในการฝ่าฝืนกฎหมายจราจรที่เหมาะสม เนื่องจากโทษส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งโทษในเรื่องการฝ่าฝืนบทบัญญัติเรื่องใบอนุญาตขับขี่เป็นเพียงลหุโทษ คือ ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ซึ่งไม่ได้ทาให้ประชาชนเกรงกลัวต่อกฎหมาย ไม่มีผลในการข่มขู่ให้คนเกรงกลัวการถูกลงโทษ อันส่งผลโดยตรงให้มีการละเมิดกฎหมายจราจรเป็นจานวนมากในปัจจุบัน ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) แก้ไขบทบัญญัติในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจหยุดรถที่เจ้าหน้าที่สงสัยว่าขับโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติเรื่องใบอนุญาตขับขี่ได้ 2) เพิ่มบทสันนิษฐานในกฎหมายจราจรว่า หากผู้ขับขี่ไม่แสดงใบอนุญาตแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต 3) เพิ่มโทษของการฝ่าฝืนกฎหมายจราจรเรื่องใบอนุญาตขับขี่ให้สูงกว่าลหุโทษเพื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้สามารถควบคุมตัวผู้กระทาความผิดมาลงโทษได้
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3415
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf74.29 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf209.11 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf53.77 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf117.25 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf124.48 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf299.38 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf618.58 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf188.39 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf116.5 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf162.09 kBAdobe PDFView/Open
11appen.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
12profile.pdf56.49 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.