Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3500
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์en_US
dc.date.accessioned2555-04-02T06:07:44Z-
dc.date.available2555-04-02T06:07:44Z-
dc.date.issued2554-12-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3500-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของข้อมูลทางบัญชีที่มีต่อผลตอบแทนเกินปกติ และศึกษาผลกระทบดังกล่าวโดยการเปรียบเทียบระหว่างความเสี่ยงของบริษัทที่แตกต่างกัน และขนาดของบริษัทที่แตกต่างกัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประจักษ์ มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2553 จำนวน 392 บริษัท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์กลุ่มย่อยโดยใช้ Chow Test และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยของหน่วยวิเคราะห์ทั้งหมด พบว่า กำไรทางบัญชี ภาษีอากร และกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานมีผลกระทบเชิงบวกต่อผลตอบแทนเกินปกติ โดยมีดอกเบี้ยรับ ต้นทุนขาย และรายการคงค้างมีผลกระทบเชิงลบต่อผลตอบแทนเกินปกติ สำหรับผลการวิจัยของการวิเคราะห์กลุ่มย่อย สรุปได้ ดังนี้ (1) บริษัทที่มีความเสี่ยงต่ำ พบว่า กำไรทางบัญชี ภาษีอากร และกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานมีผลกระทบเชิงบวกต่อผลตอบแทนเกินปกติ โดยมีดอกเบี้ยรับมีผลกระทบเชิงลบต่อผลตอบแทนเกินปกติ ทั้งนี้ต้นทุนขายและรายการคงค้างไม่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนเกินปกติ (2) บริษัทที่มีความเสี่ยงสูง พบว่า กำไรทางบัญชี และภาษีอากรมีผลกระทบเชิงบวกต่อผลตอบแทนเกินปกติ โดยมีดอกเบี้ยรับ ต้นทุนขาย และรายการคงค้างมีผลกระทบเชิงลบต่อผลตอบแทนเกินปกติ ทั้งนี้กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานไม่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนเกินปกติ (3) บริษัทขนาดเล็ก พบว่า กำไรทางบัญชี ภาษีอากร และกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานมีผลกระทบเชิงบวกต่อผลตอบแทนเกินปกติ โดยมีดอกเบี้ยรับ ต้นทุนขาย และรายการคงค้างมีผลกระทบเชิงลบต่อผลตอบแทนเกินปกติ (4) บริษัทขนาดใหญ่ พบว่า กำไรทางบัญชี และภาษีอากรมีผลกระทบเชิงบวกต่อผลตอบแทนเกินปกติ ทั้งนี้ดอกเบี้ยรับ ต้นทุนขาย รายการคงค้าง และกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานไม่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนเกินปกติ นอกจากนั้นยังพบว่า ขนาดของบริษัทที่วัดค่าจากสินทรัพย์เป็นตัวแปรปรับที่มีอิทธิพลมากกว่าความเสี่ยงบริษัทที่วัดค่าจากอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า นักลงทุนในตลาดทุนของประเทศไทยใช้ข้อมูลทางบัญชีที่แสดงในงบการเงิน เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจกำหนดราคาหลักทรัพย์ ผลการวิจัยจึงเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้กับผู้ใช้งบการเงินในการวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนามาตรฐานการบัญชีของไทย และการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.publisherปีการศึกษา 2553 มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.subjectข้อมูลทางบัญชีen_US
dc.subjectงบการเงินen_US
dc.subjectผลตอบแทนเกินปกติen_US
dc.titleผลกระทบของข้อมูลทางบัญชีที่มีต่อผลตอบแทนเกินปกติของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeThe impact of information content on abnormal return of listed companies in the Stock Exchange of Thailanden_US
Appears in Collections:รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
53 อ.ฐิตาภรณ์.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.