Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3553
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจุฑามาศ สุชาโตen_US
dc.date.accessioned2555-05-23T03:53:52Z-
dc.date.available2555-05-23T03:53:52Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.citationจุฑามาศ สุชาโต. 2553. "ปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3553-
dc.description.abstractสารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความไม่ชัดเจนของหน้าที่และความรับผิดของผู้ขนส่งตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 โดยนำมาเปรียบเทียบกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการรับขนของทางทะเล และกฎหมายต่างประเทศ รวมถึงกรณีที่ประเทศไทยควรจะเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการรับขนของทางทะเลหรือไม่ จากการศึกษาพบว่าในกรณีของข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งนั้นส่วนใหญ่ได้เทียบเคียงมาจากอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการรับขนของทางทะเล คือ อนุสัญญากรุงเฮก (Hague Rules) อนุสัญญาเฮก-วิสบี้ (Hague-Visby Rules) อนุสัญญากรุงแฮมเบอร์ก (Hamburg Rules) จึงไม่มีข้อแตกต่างหรือขัดกันมากนักในข้อยกเว้นความรับผิดในกรณีทั่วๆไป หากแต่ในกรณีที่โดยปกติผู้ขนส่งมีหน้าที่จัดหาเรือที่เหมาะสมในช่วงเวลาก่อนบรรทุกของลงเรือหรือก่อนที่เรือจะออกเดินทางหากผู้ขนส่งละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งของอันเกิดจากการที่ผู้ขนส่งไม่ปฏิบัติหน้าที่นั้น แต่แม้เรือจะบกพร่องไม่เหมาะสมแก่การเดินทะเล (Unseaworthy) ผู้ขนส่งอาจหลุดพ้นจากความรับผิดดังกล่าว ถ้าพิสูจน์ได้ว่าผู้ขนส่งได้ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดหาเรือที่เหมาะสมเท่าที่เป็นธรรมดาและสมควรจะต้องกระทำสำหรับผู้ประกอบอาชีพรับขนของทางทะเลแล้ว หรืออาจหลุดพ้นได้โดยถือเอาประโยชน์จากเหตุยกเว้นความรับผิดอื่นๆอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งหากความสูญหาย หรือเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากความบกพร่องของเรือ ซึ่งกรณีนี้มีหลักการเช่นเดียวกับหลักคอมมอลอว์ ผู้ศึกษาจึงเห็นว่าประเทศไทยน่าจะเข้าเป็นภาคีกับอนุสัญญากรุงแฮมเบอร์กได้ เพราะเหตุว่า การยอมรับหลักเกณฑ์ระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง กล่าวคือ การเข้าเป็นภาคีสมาชิกของความตกลงระหว่างประเทศ จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สังคมโลกอีกระดับหนึ่ง ซึ่งจะส่งสัญญาณไปยัง ผู้ประกอบธุรกิจพาณิชย์นาวีและผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยว่าประเทศไทยมีมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์นาวี ซึ่งจะเป็นการดึงดูดผู้ที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาใช้บริการของผู้ขนส่งของไทยมากขึ้น อีกทั้ง ผู้ขนส่งและผู้ส่งสินค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ก็จะมีความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบในส่วนของตน ซึ่งจะทำให้การดำเนินธุรกิจในด้านนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นและจะช่วยเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยด้วยen_US
dc.subjectหน้าที่และความรับผิดของผู้ขนส่งen_US
dc.subjectการรับขนของทางทะเลen_US
dc.titleปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534en_US
dc.title.alternativePROBLEMS IN RELATION TO RIGHTS AND LIABILITIES OF CARRIAGE AND THE CARRIAGE OF GOODS BY SEA ACT, B.E. 2534 (1991)en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:GRA-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
_บทคัดย่อ..[1].pdf46 kBAdobe PDFView/Open
_หน้าปก.d..[1].pdf26.97 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

Admin Tools