Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3558
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเทพฤทธิ์ วงศ์ไทยen_US
dc.date.accessioned2555-05-23T04:12:27Z-
dc.date.available2555-05-23T04:12:27Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.citationเทพฤทธิ์ วงศ์ไทย. 2553. "ความรับผิดทางแพ่งของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3558-
dc.description.abstractในปัจจุบันการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมีการแข่งขันกันในการให้บริการธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการในรูปแบบต่าง ๆ สามารถเกิดขึ้นได้โดยผ่านการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ”อินเทอร์เน็ต” ธุรกรรมทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จึงมีบทบาทสำคัญในทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น ธุรกรรมทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เกิดขึ้นในโลกอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การซื้อขายสินค้า บริการ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ประมูลสินค้า ตลอดจนการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการให้บริการธนาคาร ในรูปแบบที่ลูกค้าสามารถใช้บริการจากบ้านได้ (E-Banking) เนื่องจากธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นธุรกรรมที่ไม่จำเป็นต้องยึดหลักทางกายภาพหรือทางภูมิศาสตร์ การทำธุรกรรมสามารถทำได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาอย่างมาก สื่ออินเทอร์เน็ตจึงก่อความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นเงินมูลค่ามหาศาล จากสถานการณ์ดังกล่าวได้สร้างปัญหาเกี่ยวกับการนำกฎหมายสารบัญญัติที่มีอยู่มาปรับใช้อย่างมาก การก่อความเสียหายโดยการอาศัยสื่ออินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือนั้น เกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว ทั้งยังระบุตัวบุคคลผู้ก่อความเสียหายได้ยากแตกต่างจากการก่อความเสียหายโดยอาศัยสื่อแบบดั้งเดิม อีกทั้งกระบวนการก่อความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็วเช่นนี้ ทำให้ลำพังแต่เพียงการดูแลและตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งไม่เพียงพอที่จะควบคุมและป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในประเทศไทยประเทศไทยยังไม่มีการบัญญัติกฎหมายใด เพื่อกำหนดมาตรฐานความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ คงอาศัยการพิจารณาความรับผิดในแต่ละเรื่องตามกฎหมายเดิมที่มีการบัญญัติไว้ ประกอบกับมาตรฐานความรับผิดโดยเปรียบเทียบกับสื่อรูปแบบอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วยังไม่มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่จะเป็นบรรทัดฐานในปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องร้องผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับความผิดที่เกิดจากการให้บริการอินเทอร์เน็ต และถึงแม้ว่าปัจจุบันได้มีการบัญญัติกฎหมายเฉพาะที่กำหนดความหมายและความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไว้ ดังปรากฏในมาตรา 3 และมาตรา 15 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แต่กฎหมายดังกล่าวมุ่งเน้นกำหนดความรับผิดทางอาญาแก่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้กระทำการตามมาตรา 14 เท่านั้น ซึ่งยังไม่ครอบคลุมความรับผิดทางแพ่งทุกกรณี ดังนั้น การพิจารณาความรับผิดทางแพ่งของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จึงยังคงต้องพิจารณาจากความเสียหายและสิทธิในการเรียกร้องที่มีต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแต่ละประเภทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเมื่อพิจารณาบทบัญญัติดังกล่าวแล้วพบว่า ไม่อาจกำหนดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากลักษณะการให้บริการอินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบางประเภทนั้น ไม่อาจถือได้ว่ามีลักษณะของการกระทำ อันเป็นการละเมิดได้ชัดเจน และเป็นปัญหาในเรื่องภาระการพิสูจน์ของผู้ที่ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดตามมาตรา 438 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติข้อสันนิษฐานไว้เป็นคุณแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายไว้โดยเฉพาะ ผู้ที่ได้รับความเสียหายซึ่งเป็นโจทก์และผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงนั้นขึ้น ย่อมต้องรับภาระการพิสูจน์ตามมาตรา 84 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและถึงแม้ว่าในปัจจุบันพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 29 กำหนดให้ภาระในการพิสูจน์ดังกล่าวตกอยู่กับผู้ให้บริการเป็นการผลักภาระจากผู้บริโภคไปยังผู้ให้บริการซึ่งอาจจะช่วยเยียวยาผู้บริโภคได้บ้าง แต่ในส่วนของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็ยังไม่ครอบคลุมแนวทางการกำหนดความรับผิดทางแพ่งในการรับผิดชอบในการกระทำของผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตด้วย ในประเทศสหรัฐอเมริกา การพิจารณากำหนดแนวทางความรับผิดทางแพ่งของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไว้ คือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต้องเข้าไปมีหน้าที่ในการช่วยสอดส่องดูแล ตรวจสอบเนื้อหาของข้อมูลและการกระทำอันอาจมีผลก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นที่ปรากฏอยู่ในขอบเขตการให้บริการของตน กำหนดภาระหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยนำเรื่องภาระหน้าที่ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไปบัญญัติเป็นกฎหมายบังคับใช้ภายในประเทศ โดยแยกต่างหากจากสื่อประเภทอื่น ๆ แม้จะมีรูปแบบและระดับภาระหน้าที่ รวมถึงความรับผิดที่บัญญัติไว้ในแต่ละประเทศไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แต่สิ่งเหล่านี้ก็เป็นสัญญาณของกระแสแนวความคิดของสังคมที่ต้องการให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต้องร่วมรับผิดชอบต่อสังคม และให้ความคุ้มครองแก่ผู้เสียหายจากสื่ออินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น อันจะส่งผลให้เกิดความระมัดระวังและการตรวจสอบระหว่างกลุ่มผู้ให้บริการกันเองมากยิ่งขึ้น ผู้เขียนจึงเห็นควรศึกษาลักษณะและรูปแบบของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รูปแบบของความเสียหายทางแพ่งที่สำคัญ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับผู้ให้บริการ ศึกษาวิเคราะห์ เปรียบเทียบแนวทางการกำหนดความรับผิดทางแพ่งของผู้ให้บริการในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการกำหนดความรับผิดทางแพ่งของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไป อย่างไรก็ตาม การศึกษาในครั้งนี้มุ่งเน้นเฉพาะส่วนของการพิจารณาความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในทางละเมิดเท่านั้นen_US
dc.subjectความรับผิดทางแพ่งen_US
dc.subjectผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตen_US
dc.titleความรับผิดทางแพ่งของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeCIVIL LIABILITY OF INTERNET SERVICE PROVIDERS: COMPARATIVE STUDY BETWEEN THE LAWen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:GRA-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทคัดย่อ หน้า I-III.pdf56.29 kBAdobe PDFView/Open
หน้าปก Thai, Eng.pdf26.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

Admin Tools