Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3565
Title: ปัญหาการจัดเก็บภาษีสิ่งปลูกสร้างภายใต้พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475
Other Titles: LEGAL PROBLEMS REGARDING TAX ASSESSMENT ON BUILDING AND OTHER TANGIBLE ATTACHMENTS UNDER PROPERTY TAX ACT OF B.E. 2475 (A.C. 1932)
Authors: ธีรพงษ์ โกฎหอม
Keywords: ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ
Issue Date: 2555
Citation: ธีรพงษ์ โกฎหอม. 2553. "ปัญหาการจัดเก็บภาษีสิ่งปลูกสร้างภายใต้พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: การจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินในปัจจุบัน มีการจัดเก็บจากโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินจะต้องชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น โดยชำระปีละครั้งในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี เนื่องจากรัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้ การประกอบอุตสาหกรรมภายในประเทศ จึงได้บัญญัติกฎหมายให้มีการลดหย่อนภาษีโรงเรือนและที่ดินให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ติดตั้งเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้า เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมภายในโรงเรือน โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเสียภาษีเพียงหนึ่งในสามของค่ารายปีตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 แต่หากเครื่องจักรกลไกมิได้ติดตั้งอยู่ในโรงเรือนแล้ว ย่อมไม่ได้รับการลดหย่อนค่ารายปีลง ทั้งนี้ เพราะว่าพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ได้บัญญัติขึ้นบังคับใช้มานานแล้ว ลักษณะการประกอบการอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนแปลงไป กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่มีข้อจำกัด ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคและไม่เป็นธรรม นอกจากปัญหาในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 แล้ว ยังพบว่าพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มีปัญหาในการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน 3 ประการ คือ ประการแรก ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินให้กับรัฐวิสาหกิจบางประเภท คือ การยกเว้นภาษีให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในพื้นที่ที่เป็นบริเวณต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง และการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทยสำหรับพื้นที่ของการรถไฟโดยตรง ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประการที่สอง ปัญหาอัตราภาษีที่สูง เนื่องจากการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินในปัจจุบันมีการจัดเก็บภาษีเป็นค่าคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าฐานภาษีจะเป็นจำนวนเท่าใด ถึงแม้ความสามารถในการเสียภาษีจะเพิ่มขึ้นผู้เสียภาษีก็ยังเสียในอัตราเท่าเดิม อันก่อให้เกิดความ ไม่เป็นธรรมแก่ผู้มีรายได้ต่ำ ประการสุดท้าย ปัญหาบทกำหนดโทษที่ไม่รุนแรง กฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดินกำหนดอัตราโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญาค่อนข้างต่ำ เป็นเหตุให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่มีความเกรงกลัวต่อกฎหมายจึงเกิดการหลีกเลี่ยงภาษีเป็นจำนวนมาก ดังนั้น สารนิพนธ์ฉบับนี้ จึงทำให้ทราบถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น และแนวทางในการแก้ไขพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ให้ครอบคลุมถึงสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้า และแนวทางแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บภาษีต่าง ๆ เพื่อที่จะให้สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินในปัจจุบัน
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3565
Appears in Collections:GRA-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทคัดย่อ+..[1].pdf43.9 kBAdobe PDFView/Open
หน้าปกภาษาไทยและอังกฤษ.pdf29.17 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

Admin Tools