Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3575
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของบุตรผู้บรรลุนิติภาวะในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เพื่อการละเมิดต่อบิดามารดา
Other Titles: LEGAL PROBLEM RELATING TO CHILDREN’S RIGHTS TO CLAIM COMPENSATION FOR WRONGFUL ACTS COMMITTED AGAINST THEIR PARENTS
Authors: พงศ์พันธ์ เอ่งฉ้วน
Keywords: ค่าสินไหมทดแทน
Issue Date: 2555
Citation: พงศ์พันธ์ เอ่งฉ้วน. 2553. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของบุตรผู้บรรลุนิติภาวะในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เพื่อการละเมิดต่อบิดามารดา." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: บทคัดย่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยละเมิด มาตรา 443 และมาตรา 445 บัญญัติเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนกรณีละเมิดทำให้ตายไว้อย่างชัดเจน โดยได้กำหนดประเภทค่าสินไหมทดแทนไว้ 6 กรณีเท่านั้น (1) ค่าปลงศพ คือค่าทำศพ เป็นการจัดการศพตามประเพณี ตามลัทธิศาสนา (2) ค่าใช้จ่ายจำเป็นในการจัดการศพ เป็นค่าใช้จ่ายอย่างอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศพ (3) ค่ารักษาพยาบาลก่อนตาย เป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลก่อนที่ผู้ถูกละเมิดตาย (4) ค่าขาดประโยชน์จากการทำมาหาได้ก่อนตาย ซึ่งผู้ถูกละเมิดได้รับผลประโยชน์จาการทำมาหาได้อย่างไร ก็ได้ผลประโยชน์นั้นระหว่างรับการรักษาจากการถูกละเมิด (5) ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู กล่าวคือ ผู้ถูกละเมิดมีหน้าที่อุปการะใครก็ตาม ต่อมาผู้ถูกละเมิดตายก็ย่อมทำให้บุคคลผู้ที่ต้องพึ่งพิงขาดไร้อุปการะ บุคคลผู้ต้องพึ่งพิงหรือทายาทคนนั้นก็ย่อมฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากผู้ทำละเมิดได้ แต่กฎหมายก็มิได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่าบุตรสามารถเรียกค่าขาดอุปการะได้จนถึงอายุเพียงใด แต่มีคำพิพากษาฎีกาได้วางบรรทัดฐานไว้ว่า ในกรณีบิดามารดาถูกทำละเมิดถึงแก่ความตาย บุตรมีสิทธิเรียก ค่าอุปการะเลี้ยงดูได้จนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ (6) ค่าขาดแรงงานของบุคคลภายนอก สามารถแยกออกได้เป็นสองกรณี คือ กรณีที่หนึ่ง คือ กรณีค่าขาดแรงงานสำหรับบุคคลภายในครัวเรือน เช่น ผู้ตายมีหน้าที่ช่วยเหลือทำการงานในบ้านในครัวเรือน เมื่อถูกละเมิดก็เรียกค่าขาดแรงงานจากผู้ทำละเมิดได้ในกรณีที่คู่สมรสต้องจ้างผู้อื่นมาทำแทน กรณีที่สอง คือ กรณีค่าขาดแรงงานสำหรับบุคคลภายนอกครัวเรือน เป็นกรณีที่ต้องเป็นเรื่องค่าขาดแรงงานของบุคคลผู้มีความผูกพันที่จะต้องทำการงานให้แก่บุคคลภายนอกในอุตสาหกรรมของเขาเท่านั้น จากบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดการตีความกฎหมายในเรื่องของค่าขาดอุปการะ และค่าขาดแรงงานของบุคคลภายนอก ไปทางลิดรอนสิทธิของบุตรหรือทายาทไว้อย่างจำกัด ซึ่งอาจมีความเหมาะสมกับภาวะความเป็นอยู่และภาวะเศรษฐกิจในอดีต แต่ภาวะความเป็นอยู่และภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง บุตรจึงควรได้รับการศึกษาที่สูงตามขึ้นไปด้วย เพื่อให้ทันต่อความต้องการทางความรู้ความสามารถในการทำงานในปัจจุบัน จึงควรที่จะต้องหันกลับมามองถึงความจำเป็นและปัญหาความเดือดร้อนของบุตรหรือทายาทของผู้ถูกละเมิดจนถึง แก่ความตาย ในกรณีที่บุตรหรือทายาทที่บรรลุนิติภาวะ จากการศึกษา พบว่า บทบัญญัติมาตรา 433 วรรคสาม ที่บัญญัติให้ค่าขาดไร้อุปการะนั้นต้องเป็นค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายเท่านั้นที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ ซึ่งศาลฎีกาได้วางหลักไว้ว่า ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนในกรณีของค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ตามมาตรา 433 วรรคสามว่า ต้องเป็นค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายว่าด้วยครอบครัว หมวดสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตรเท่านั้น จึงทำให้ค่าขาดไร้อุปการะไม่ครอบคลุมถึงบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว จากการศึกษา ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดแรงงานในครัวเรือน พบว่า มีแนวคำพิพากษาแบ่งเป็น 2 แนวคือ (1) แนวคำพิพากษาที่คำนึงถึงแต่เพียงรายได้ที่ผู้ถูกทำละเมิดแสวงหามาได้ โดยไม่ได้วินิจฉัยจากงานหรือกิจกรรมในครัวเรือน (2) แนวคำพิพากษาว่าการอุปการะย่อมไม่ใช่เพียงการแสวงหารายได้จากภายนอกมาจุนเจือครอบครัว แต่ย่อมหมายถึงการอุปการะเลี้ยงดูช่วยเหลือกันในครอบครัวด้วย จากการการศึกษาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายทางจิตใจ พบว่า มีการแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มหนึ่งยอมรับให้เรียกค่าสินไหมทดแทนได้ อีกกลุ่มหนึ่ง เห็นว่าค่าเสียหายทางจิตใจในส่วนที่เป็นอารมณ์ความรู้สึกไม่อาจเรียกได้ แต่หากเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่มาจากความเสียหายจากร่างกายก็อาจเรียกได้ในบางกรณี จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า การที่บทบัญญัติของกฎหมายมิได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า บุตรสามารถเรียกค่าขาดอุปการะได้จนถึงอายุเพียงใด ค่าขาดแรงของบุคคลภายนอกในครัวเรือนที่แนวคำพิพากษาเป็นสองแนว ที่คำนึงแต่เพียงรายได้แต่อย่างเดียวกับ แนวคำพิพากษาที่พิจารณาถึงการอุปการะเลี้ยงดูช่วยเหลือครอบครัวด้วย ทำให้เกิดการตีความกฎหมายขึ้นจึงเป็นข้อจำกัด หรืออุปสรรคทางกฎหมายที่ไม่สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ต้องการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย จึงควรปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 มาตรา 445 และมาตรา 446 ให้มีความชัดเจนขึ้น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3575
Appears in Collections:GRA-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทคัดย่อ[1] ละเมิด.pdf67.2 kBAdobe PDFView/Open
หน้าปก [1] ละเมิด.pdf51.6 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

Admin Tools