Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3577
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคำนวณค่าเสียหายทางแพ่ง : กรณีละเมิดสิทธิบัตร
Other Titles: Legal Problem Regarding Calculating of Damages in case of Patent Infringement
Authors: ภัทรพงศ์ รักข้อง
Keywords: ความรับผิดทางแพ่ง
การละเมิดสิทธิบัตร
Issue Date: 2555
Citation: ภัทรพงศ์ รักข้อง. 2553. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคำนวณค่าเสียหายทางแพ่ง : กรณีละเมิดสิทธิบัตร." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑืต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: ในปัจจุบันหลักเกณฑ์ในการคำนวณค่าเสียหายในกรณีละเมิดสิทธิบัตรของศาลไทยยังคงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่สำคัญเนื่องจากพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 แม้ว่าได้กำหนดค่าเสียหายไว้ในมาตรา 77 ตรีว่า “ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตร ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรง อนุสิทธิบัตรตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร โดยคำนวณถึงความร้ายแรงของความเสียหายรวมทั้งการสูญเสียประโยชน์และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการบังคับตามสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตรด้วย” ประกอบกับค่าสินไหมทดแทนไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 “ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด” สำหรับมาตรการในการป้องกันและเยียวยาความเสียหายได้มีการบัญญัติไว้ในมาตรการรองรับในทางแพ่งไว้ในมาตรา 77 ทวิ ของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร เรื่อง ของการขอให้ศาลมีคำสั่งระงับหรือละเว้นการกระทำละเมิดสิทธิบัตรก่อนฟ้องคดีและตามมาตรา 77 จัตวาของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร การขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทำลายสินค้าที่ละเมิดสิทธิบัตรหรือดำเนินการอย่างอื่นเพื่อป้องกันมิให้มีการนำเอาสินค้าที่ละเมิดนั้นออกจำหน่ายอีก ซึ่งน่าจะเป็นมาตรการเพียงพอกับการทดแทนการนำโทษทางอาญามาใช้บังคับในกฎหมายสิทธิบัตร แต่ในกรณีของการเยียวยาชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ทรงสิทธิบัตรที่ถูกละเมิดสิทธินั้นมีบัญญัติไว้ใน มาตรา 77 ตรีของพระราชบัญญัติสิทธิบัตรและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 ซึ่งทั้งสองมาตรา กำหนดให้ศาลเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรง อนุสิทธิบัตรชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ทรงสิทธิบัตร หรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตรยังคงไม่มีหลักการคิดคำนวณค่าเสียหายคงมีเพียงแต่การใช้ดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาในการกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้แก่ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้น โดยกำหนดค่าสินไหมทดแทนตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด หรือตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร โดยคำนึงถึงความร้ายแรงของความเสียหาย ซึ่งมิได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาไว้แน่นอนตายตัว จึงไม่ได้รับความเป็นธรรมต่อผู้ถูกละเมิดและไม่สามารถเยียวยารักษาให้สมกับความเสียหายที่ได้มีความพยายามในการประดิษฐ์คิดค้นสร้างสรรค์ หากพิจารณาเนื้อความที่ปรากฏในบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการกำหนดค่าสินไหมทดแทนในกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกัน เพื่อนำแนวทางการกำหนดค่าสินไหมทดแทนมาพิจารณาประกอบแล้วประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 2 ลักษณะ 5 ในเรื่องละเมิดได้บัญญัติในเรื่องค่าสินไหมทดแทนไว้ในมาตรา 438 ว่า “ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์ความร้ายแรงแห่งละเมิด” และหลักเกณฑ์ในคำพิพากษาต่าง ๆ ที่ปรากฏมาแล้วนั้น ได้กล่าวถึง “พฤติการณ์ความร้ายแรง” แตกต่างกันไปทำให้ไม่สามารถนำมาปรับใช้ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาค่าสินไหมทดแทนในการละเมิดสิทธิบัตรได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการคำนวณค่าเสียหาย ในกรณีละเมิดสิทธิบัตรที่ปรากฏในคำพิพากษาของศาลไทย ในเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแนวทาง ในการพิจารณาการกำหนดค่าเสียหายในกรณีละเมิดสิทธิบัตรในต่างประเทศ และนำเสนอ เพื่อเป็นแนวทางและประโยชน์ในการพิจารณากำหนดค่าเสียหายในกรณีละเมิดสิทธิบัตรต่อศาลไทย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3577
Appears in Collections:GRA-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทคัดย่อ+...pdf82.85 kBAdobe PDFView/Open
หน้าปก.pdf36.03 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

Admin Tools