Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3589
Title: ปัญหากฎหมายที่เกิดจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
Other Titles: LEGAL PROBLEM UNDER THE PROTECTION OF VICTIMS INJURED BY VEHICLES ACT, B.E. 2535 (1992)
Authors: สุรเชษฎ์ เรืองจุ้ย
Keywords: คุ้มครอง
ผู้ประสบภัย
Issue Date: 2555
Citation: สุรเชษฎ์ เรืองจุ้ย. 2553. "ปัญหากฎหมายที่เกิดจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาเรื่องการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับเรื่องข้อจำกัดของบทบัญญัติที่ไม่ครอบคลุมถึงรถทุกประเภท เช่น รถจักรยาน รถจักรยานที่มีส่วนพ่วง หรือรถจักรยานที่มี 3 ล้อ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันยวดยานพาหนะที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ยังมีมากมายหลายประเภทอีกทั้งยังมีความสำคัญต่อประชาชนอยู่ และเกี่ยวกับเรื่องการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เพราะเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน เพื่อให้ทราบสาเหตุของปัญหาจะทำการศึกษาถึงความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี และหลักการของกฎหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เนื่องด้วยกฎหมายฉบับนี้บัญญัติขึ้นโดยวัตถุประสงค์ในการบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายของผู้ประกันภัยให้ได้รับค่าเสียหายในจำนวนที่แน่นอน และทันท่วงทีภายหลังเกิดเหตุ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นหลักประกันพื้นฐานให้กับคนในสังคม ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา และวิเคราะห์ปัญหาแล้วพบว่า ปัญหาที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายนี้ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ เนื่องจากการไม่ได้บัญญัติให้รถทุกประเภทต้องทำประกันภัยภาคบังคับ และเนื่องจากการไม่ได้บัญญัติกรณีที่ผู้ประสบภัยมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้จากกฎหมายหลายฉบับ ผู้ประสบภัยหรือผู้ที่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องแทนต้องใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายฉบับนี้ก่อน ทำให้ผู้ประสบภัยไม่ให้ความสำคัญกับกฎหมายฉบับนี้ เพียงขอให้ตนได้รับค่าเสียหายหรือค่ารักษาพยาบาลก็พอ ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่สำคัญที่ทำให้ การบังคับใช้กฎหมายนี้ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ จากการวิจัยพบว่ากฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ครอบคลุมถึงรถทุกประเภท และไม่ชัดเจน ทำให้การใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายเกิดการล่าช้า หรือบางกรณีไม่ได้รับค่าเสียหาย หรือได้ไม่คุ้มกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ทำให้ผู้ประสบภัยได้รับความเดือดร้อน ผลที่ตามมาคือ ผู้ประสบภัย หรือผู้ที่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายอื่นที่สามารถเรียกร้องได้ง่ายกว่า ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้วิจัยเห็นควรมีการเพิ่มเติมความหมายของรถในมาตรา 4 โดยออกกฎกระทรวงให้รวมถึงรถประเภทอื่นที่จำเป็นต้องใช้ออกสู่ท้องถนน เช่น รถจักรยาน รถจักรยานสามล้อ เป็นต้นและควรเพิ่มเติมบทบัญญัติกรณีถ้าผู้ประสบภัยจากรถมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามกฎหมายหลายฉบับ ผู้ประสบภัยต้องใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายฉบับนี้จนเต็มจำนวนความคุ้มครองก่อนจึงสามารถไปใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายอื่นได้ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3589
Appears in Collections:GRA-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2.บทคัดย่อ หน้า I-II.pdf60.49 kBAdobe PDFView/Open
1.หน้าปก.pdf48.36 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

Admin Tools