Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3607
Title: ปัญหาและอุปสรรคการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
Authors: วรรณฉัตร พวยพุ้ง
Keywords: เด็ก
การคุ้มครอง
Issue Date: 14-June-2555
Abstract: ปัญหาการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน เป็นปัญหาที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ เพราะเด็กเป็น ทรัพยากรที่สำคัญของโลก ที่จะนำพาประเทศไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งนับวันปัญหาของเด็กและเยาวชนยิ่งทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น ซึ่งแต่เดิมกฎหมายที่เข้ามาปกป้องคุ้มครองเด็กคือ บทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา และประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 132 และฉบับที่ 294 แต่เนื้อหาสาระของกฎหมายดังกล่าว มุ่งเน้นไปในทางลงโทษผู้ที่กระทำความผิด ไม่มีแนวทางในการที่จะมุ่งบำบัดฟื้นฟู หรือให้การดูแลเด็ก รวมถึงเด็กที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เช่น เด็กที่มีความประพฤติไม่เหมาะสม หรือเสี่ยงต่อการกระทำความผิด จึงได้มีการตรากฎหมายออกมา ชื่อ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 หลังจากที่พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มีผลใช้บังคับ เมื่อศึกษาพบว่ากฎหมายฉบับนี้มีบทบัญญัติที่เป็นปัญหาในการบังคับใช้อยู่หลายประการ คือ ปัญหาศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ตามมาตรา 5 พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ได้กำหนดให้ศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กคือ ศาลยาวชนและครอบครัว ซึ่งไม่ว่าผู้กระทำความผิดจะมีอายุน้อยกว่า 18 ปีบริบูรณ์ หรือ มากกว่า 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ถ้าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กต้องนำความผิดดังกล่าวขึ้นฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งอัตราโทษตาพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กนั้น ตามมาตรา 78 ถึง มาตรา 86 เป็นอัตราโทษที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลแขวง จึงสมควรที่มีการแยกความรับผิดระหว่างผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ และผู้กระทำความผิดที่มีอายุมากกว่า 18 ปีแยกออกจากกัน เพื่อความสะดวก และเป็นสัดส่วนในการพิจารณาคดี อีกทั้งยังมีปัญหาการตีความกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิด ที่ยังไม่ชัดเจน แน่นอน ส่งผลให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้ ปัญหาการแจ้งการคุ้มครองเด็กที่ไม่ได้มีการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติตาม ปัญหาคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่มีเพียงแต่ตัวแทนจากภาครัฐและภาคเอกชนไม่มีปัญหาการนำเด็กเข้าสู่กระบวนการสงเคราะห์ ที่ยังขาดมาตรการเยียวยาและติดตามผล จากปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กในเรื่องอำนาจศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ในกรณีของผู้กระทำความผิดที่มีอายุมากกว่า 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปเมื่ออัตราโทษอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลแขวง จึงควรให้ศาลแขวงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษา และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ควรมีการแก้ไขตัวบทกฎหมายให้มีความครอบคลุมกับปัญหาเด็กและเยาวชน ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม รวมถึงมาตรการทางกฎหมายในการที่มุ่ง ฟื้นฟู เยียวยาเด็กที่พึงจะได้รับการสงเคราะห์ที่ควรมีการติดตามผลหลังได้รับการสงเคราะห์ ตลอดจนพัฒนาในการมีส่วนร่วมของบุคคลในทุกภาคส่วน เพื่อให้กฎหมายมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดในการนำไปบังคับใช้ เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของกฎหมาย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3607
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf65.33 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf144.13 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf95.92 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf155.44 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf221.71 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf563.71 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf741.35 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf443.2 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf309.38 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf169.79 kBAdobe PDFView/Open
12profile.pdf94.96 kBAdobe PDFView/Open
11appen.pdf165.22 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.