Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3703
Title: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในด้านการศึกษาของพระภิกษุและสามเณร
Authors: พระครูปลัดสามารถ รัตนพลแสน
Keywords: การคุ้มครองสิทธิ
เสรีภาพ
การศึกษา
พระภิกษุและสามเณร
Issue Date: 13-July-2555
Abstract: พระภิกษุและสามเณรเป็นพลเมืองไทยกลุ่มหนึ่งที่ถูกจากัดสิทธิและเสรีภาพในด้านการศึกษามากที่สุด ทั้งทางกฎหมายและทางสังคมในทางกฎหมาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับพ.ศ.2545 บัญญัติให้ “บุคคล” มีสิทธิในการเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานและมีเสรีภาพในการศึกษาอบรม และได้กาหนดสถานภาพของบุคคลทั่วไปไว้โดยรวมว่า คือ ชาย หญิง คนพิการ และกาหนดสถานภาพของบุคคลพิเศษไว้ว่า คือ ทหาร ตารวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐ ซึ่งเนื้อหาสาระโดยรวมของกฎหมายทั้งสามฉบับดังกล่าวมาไม่มีการกล่าวถึงบุคคลที่เป็นพระภิกษุและสามเณรไว้แต่อย่างใด หากปราศจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 100 มาตรา 102 และมาตรา115 ที่ห้ามพระภิกษุและสามเณรใช้สิทธิเลือกตั้ง สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น การที่ไม่ได้บัญญัติสถานภาพของพระภิกษุและสามเณรไว้เช่นนี้ทาให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในด้านการศึกษาไม่สามารถใช้หลักของความเสมอภาคเฉพาะเรื่องมาอ้างได้ ดังนั้น เมื่อการใช้สิทธิและเสรีภาพในด้านการศึกษาไม่สามารถใช้หลักของความเสมอภาคเฉพาะเรื่องได้ จึงต้องขึ้นอยู่กับการตีความของผู้ใช้กฎหมายตามหลักความเสมอภาคทั่วไป ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนว่าพระภิกษุและสามเณรมีสิทธิและเสรีภาพในด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญ การที่รัฐธรรมนูญมาตรา 73 บัญญัติให้บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามที่กฎหมายบัญญัติ และกฎหมายการศึกษาแห่งชาติกาหนดให้มีการศึกษาภาคบังคับจานวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุเจ็ดปีจนถึงอายุสิบหกปี เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และกฎหมายดังกล่าวยังบัญญัติให้ผู้ปกครองส่งเด็กที่มีอายุเจ็ดปีจนถึงอายุสิบหกปีเข้าเรียนในสถานศึกษา ผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตามย่อมมีความผิด ดังนั้นจากบทบัญญัติที่กาหนดบังคับไว้ข้างต้นแสดงให้เห็นได้ว่าประเทศไทยบังคับให้เด็กไทยทุกคนที่มีอายุเจ็ดปีจนถึงอายุสิบหกปีต้องเข้าเรียนในสถานศึกษา ผลจากการบัญญัติกฎหมายไว้เช่นนี้ทาให้เด็กที่มีอายุระหว่างนี้ไม่สามารถเข้าบวชเป็นสามเณรได้ เพราะเมื่อบวชแล้วไม่สามารถเข้ารับการศึกษาภาคบังคับได้ ย่อมส่งผลให้พระพุทธศาสนาไม่มีสามเณรที่มีอายุระหว่างนี้ ส่วนการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่รัฐธรรมนูญถือว่าเป็นเสรีภาพในการศึกษาตามมาตรา 50 ก็ไม่มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยใดที่บัญญัติให้สิทธิและเสรีภาพในการเข้ารับการศึกษาของพระภิกษุและสามเณรไว้เป็นการเฉพาะ จึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสถานศึกษานั้นๆว่าจะให้พระภิกษุและสามเณรเข้ารับศึกษาได้หรือไม่ ดังนั้น เพื่อให้สถาบันพระพุทธศาสนาใช้ประโยชน์จากบุคลากรทางพระพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุและสามเณรผู้ทาหน้าที่สอนด้านศาสนาสามารถเป็นผู้สอนและเผยแพร่ศาสนธรรมอย่างมีศักยภาพและถูกต้อง เหมาะสม และสอดคล้องกลมกลืนกับวิถีชีวิตของพุทธศาสนิกชนในภาวะปัจจุบันจึงควรที่จะส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาของพระภิกษุและสามเณรให้มีความเข้มแข็งมีความรู้ในวิชาการทุก ๆ ด้าน เพื่อสืบทอดศาสนธรรมและศาสนทายาทและจรรโลงพระพุทธศาสนาในประเทศไทยให้มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไป แต่การที่จะกระทาอย่างนั้นได้จาเป็นที่จะต้องแก้ไขกฎหมายให้การกาหนดสถานภาพของบุคคลที่เป็นการเฉพาะครอบคลุมถึงพระภิกษุและสามเณรด้วย และแก้ไขสิทธิและเสรีภาพในการเข้ารับการศึกษาของพระภิกษุและสามเณรให้มีความชัดเจนตามหลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องเพื่อป้องกันการใช้หลักความเสมอภาคทั่วไปมาตีความกฎหมายซึ่งไม่มีความแน่นอนและพระภิกษุและสามเณรอาจถูกจากัดสิทธิและเสรีภาพในการเข้ารับการศึกษาได้ และให้ยกเลิกคาสั่งมหาเถรสมาคม เรื่องห้ามพระภิกษุและสามเณรเรียนวิชาชีพ หรือสอบแข่งขันอย่างคฤหัสถ์ พ.ศ.2538 ที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3703
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf53.29 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf200.97 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf121.84 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf230.93 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf230.93 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf469.15 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf812.26 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf380.63 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf266.16 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf192.01 kBAdobe PDFView/Open
11profile.pdf50.14 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.