Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3749
Title: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตาบล พ.ศ.2537
Authors: ภิรายุ พิทักษ์นิระพันธ์
Keywords: สภาตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบล
พระราชบัญญัติสภาตำบล
การบังคับใช้กฎหมาย
Issue Date: 25-July-2555
Abstract: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติสภาตาบลและองค์การบริหารส่วนตาบล พ.ศ.2537 เป็นกฎหมายที่อาศัยหลักแนวคิดและทฤษฎีรวมศูนย์อานาจจากราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั้ง ๆ ที่จะต้องกระจายอานาจตามที่กาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ.2542 ซึ่งกาหนดให้รัฐจะต้องกระจายอานาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถปกครองตนเองและมีความเข้มแข็งได้ด้วยตนเอง พระราชบัญญัติสภาตาบลและองค์การบริหารส่วนตาบล พ.ศ.2537 ไม่เป็นไปตามหลักการที่กาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะในเรื่องการบริหารองค์กรและอานาจในการบริหารจัดการของนายกองค์การบริหารส่วนตาบลในฐานะหัวหน้าฝ่ายการเมืองที่ยังคงต้องถูกครอบงาจากราชการส่วนภูมิภาคในการที่จะกาหนดนโยบายและการดาเนินงาน จากปัญหาข้างต้นย่อมก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการดาเนินงานเป็นอย่างมาก รัฐในฐานะผู้กาหนดนโยบายของประเทศต้องให้ความสาคัญและตระหนักถึงความจาเป็นที่จะต้องมีการกระจายอานาจการปกครองไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะถ้ายังคงปกครองแบบรวมศูนย์อานาจไว้ที่ราชการส่วนกลางแล้วย่อมจะก่อให้เกิดปัญหามากมายโดยเฉพาะปัญหาการจัดสรรงบประมาณที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาการแบกรับภาระเรื่องงบประมาณ เป็นต้น ซึ่งถ้ารัฐมีการกระจายอานาจออกไปสู่ท้องถิ่นแล้วโดยให้ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการภายในท้องถิ่นของตนได้ด้วยตนเองย่อมทาให้เกิดประชาธิปไตยในท้องถิ่นและมีความเป็นเอกภาพในการปกครอง โดยเฉพาะบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งเป็นกลไกของรัฐที่จะเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนให้ดาเนินงานของรัฐสาเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้นตาบลควรจะมีการปฏิรูปให้เป็นสภาองค์การบริหารส่วนตาบลทั้งหมดทั่วประเทศโดยไม่ควรนารายได้จากการเก็บภาษีประจาปีมาเป็นหลักเกณฑ์ในการที่จะเปลี่ยนแปลงให้เป็นสภาองค์การบริหารส่วนตาบล เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกระจายอานาจอย่างแท้จริงและเป็นกลไกให้รัฐจะต้องออกกฎหมายให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว เพราะเมื่อพิจารณาแล้วไม่มีความจาเป็นอย่างใดที่จะให้มีสภาตาบลอย่างเช่นปัจจุบันและในขณะเดียวกันพื้นที่ใดเก็บภาษีรายได้น้อยก็เป็นเครื่องชี้วัดให้แก่รัฐในการที่จะนางบประมาณเข้าไปช่วยเหลือได้เป็นอย่างดีอันเป็นการเสริมให้พื้นที่ใดที่มีงบประมาณน้อยก็สามารถพัฒนาไปได้โดยไม่มีอุปสรรคของงบประมาณมาเป็นเงื่อนไขในการพัฒนาของท้องถิ่น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3749
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf102.15 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf116.62 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf136.01 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf71.84 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf227.49 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf584.32 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf837.12 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf389.91 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf158.46 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf162.59 kBAdobe PDFView/Open
11profile.pdf55.38 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.