Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4064
Title: มาตรการทางกฎหมายเพื่อนำเกษตรพันธะสัญญามาใช้ส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Authors: ยลลดา ปิ่นเพชร
Keywords: อาเซียน
เกษตรพันธะสัญญา
การค้า
สินค้าเกษตร
Issue Date: 13-September-2555
Abstract: การศึกษาวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายเพื่อนำเกษตรพันธะสัญญามาใช้ ส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เนื่องจากเกษตรพันธะสัญญาตาม ทฤษฎีถูกนำมาใช้เพื่อรักษาระดับการส่งออกและระดับราคาของสินค้า แต่ในทางปฏิบัติพบว่ามี ปัญหาข้อสัญญาไม่เป็นธรรมหลายประการ ได้แก่ ปัญหาเรื่องบริษัทมีอำนาจต่อรองเหนือกว่า เกษตรกร ปัจจัยการผลิตไม่ได้มาตรฐาน ราคาปัจจัยที่ใช้ในการผลิตมีราคาสูง ใช้เงินลงทุนสูง การ รับภาระความเสี่ยงในการผลิต ระยะเวลาในการรับซื้อผลผลิตไม่แน่นอน เกษตรกรได้รับ ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า ขาดทุน ก่อให้เกิดปัญหาเกษตรกรมีหนี้สินจากการทำเกษตรกรรม และรายได้ ไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไป และเมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ที่จะถึงนี้ จะทำให้ปราศจากอุปสรรคการค้าทางด้านภาษี และอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี ย่อมส่งผลให้มี สินค้าเกษตรประเภทเดียวกันกับสินค้าเกษตรของประเทศไทยออกมาจำหน่ายมากขึ้น ก่อให้เกิด การแข่งขันที่สูงขึ้น ผู้ศึกษาจึงต้องการศึกษาเพื่อจะนำเกษตรพันธะสัญญามาใช้ส่งเสริมการค้าสินค้า เกษตรภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จากการศึกษาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมสัญญา ซื้อขาย จ้าง แรงงาน จ้างทำของ พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติการ ซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ซึ่ง เป็นกฎหมายไทยที่เกี่ยวกับการทำเกษตรพันธะสัญญา พบว่ายังไม่มีกฎหมายที่จะคุ้มครองเกษตรกร ให้ได้รับความเป็นธรรมได้ และจากการศึกษากฎบัตรอาเซียน แผนงานสู่การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน ความตกลงการลงทุนของอาเซียน เพื่อแก้ไข ปัญหาการนำเกษตรพันธะสัญญามาใช้ส่งเสริมการส่งออก การนำเข้าสินค้าเกษตร และส่งเสริมการ ประกอบธุรกิจการให้บริการจัดหาคู่เกษตรกรและบริษัทที่ต้องการจะทำเกษตรพันธะสัญญาภายใต้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างไร จากสภาพปัญหาดังกล่าวผู้ศึกษาจึงขอเสนอให้มีการบัญญัติกฎหมายเพื่อควบคุมการทำ เกษตรพันธะสัญญาโดยเฉพาะ โดยกำหนดให้การทำเกษตรพันธะสัญญาควรทำตามแบบสัญญา มาตรฐาน และกำหนดให้มีองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำเกษตรพันธะสัญญาให้เป็นไปตามแบบ สัญญามาตรฐาน ทำให้บริษัทไม่สามารถกำหนดเงื่อนไขให้แตกต่างจากแบบที่กำหนดไว้ได้ ก็จะ เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรไม่ต้องถูกเอาเปรียบจากการกำหนดข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้ และ กำหนดให้มีองค์กรตรวจสอบคุณภาพของปัจจัยการผลิต ผลิตปัจจัยการผลิตจำหน่ายเพื่อช่วยเหลือ เกษตรกร รับประกันภัยผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น นอกจากนี้ต้องมีการกำหนดการบังคับให้ เป็นไปตามกฎหมาย กลไกการบังคับ การบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้กฎหมายสามารถบังคับได้อย่าง มีประสิทธิภาพ และในการนำเกษตรพันธะสัญญามาใช้ส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรภายใต้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น ทางด้านการส่งออกและนำเข้าสินค้าเกษตรทำได้โดยอาศัยความตก ลงการค้าสินค้าของอาเซียน เนื่องจากความตกลงดังกล่าวได้กำหนดให้กลุ่มประเทศสมาชิกจะต้อง ยกเลิกภาษีอากรขาเข้าของสินค้าทุกรายการที่มีการค้าระหว่างประเทศสมาชิก จึงทำให้การค้า ปราศจากอุปสรรคทางการค้าด้านภาษี และอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี ส่วนที่ต้องการส่งเสริม การประกอบธุรกิจการให้บริการจัดหาคู่เกษตรกรและบริษัทที่ต้องการจะทำเกษตรพันธะสัญญานั้น ทำได้โดยอาศัยความตกลงการลงทุนของอาเซียนซึ่งครอบคลุมกิจการบริการที่เกี่ยวเนื่องกับ 5 สาขา รวมทั้งสาขาเกษตรด้วย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4064
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf62.3 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf115.56 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf53.76 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf96.38 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf185.8 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf668.59 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf474.5 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf325.05 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf239.54 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf183.17 kBAdobe PDFView/Open
11profile.pdf53.33 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.