Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4071
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ต้องหาและจำเลยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550:ศึกษากรณีการสันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำความผิดในชั้นก่อนมีคำพิพากษา
Authors: เกียรติพงษ์ กมขุนทด
Keywords: การคุ้มครองผู้ต้องหาและจำเลย
ผู้กระทำความผิด
คำพิพากษา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
Issue Date: 14-September-2555
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 39 ที่กำหนดไว้ว่าบุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ใน เวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่า โทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้และในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด นอกจากนั้นก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใด ได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ จากบทบัญญัติข้างต้นมี วัตถุประสงค์เพื่อมิให้ใช้มาตรการทางกฎหมายกระทำต่อผู้ต้องหาเพราะในอนาคตศาลอาจจะยก ฟ้องเพราะบุคคลนั้นไม่มีความผิดก็ได้ แต่กลไกมาตรการที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาไม่ ว่าจะเป็นมาตรการในการจับกุม ควบคุม ขัง ปล่อยชั่วคราว การสอบสวน ล้วนแล้วแต่เป็นมาตรการ ที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแทบทั้งสิ้น จากการศึกษาพบว่ามาตรการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยเฉพาะ มาตรา 134 ถึงสิทธิในการแจ้งข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวน มาตรา 92 สิทธิในการค้น มาตรา 108 สิทธิในการปล่อยชั่วคราว เป็นต้น มิได้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้แต่อย่างใดล้วน แล้วแต่เป็นมาตรการที่ละเมิดต่อสิทธิของผู้ต้องหาแทบทั้งสิ้น จากการศึกษาผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่า ควรกำหนดให้ผู้ถูกออกหมายจับหรือเจ้าบ้านที่ถูก ออกหมายค้น ได้มีสิทธินำพยานหลักฐานมาแสดงต่อศาลเพื่อหักล้างการเสนอขอออกหมายจับหรือหมายค้นของเจ้าพนักงานก่อนที่ศาลจะอนุมัติหมายดังกล่าวและควรให้พนักงานสอบสวนทำการ ออกหมายเรียกก่อนทุกครั้งที่จะมีการขอให้ศาลออกหมายจับ ในทุกความผิดและทุกอัตราโทษตาม กฎหมาย ซึ่งอัตราโทษจำคุกสำหรับความผิดที่จะออกหมายจับได้จากเดิมต้องมีอัตราโทษจำคุก อย่างสูงตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปและควรจำกัดเหตุในการจับโดยไม่มีหมาย ตามมาตรา 78 ให้เหลือเฉพาะ กรณีที่มีความเร่งด่วนซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการจับโดยไม่มีหมายอย่างแท้จริงเท่านั้นไม่ควรเปิด โอกาสให้เจ้าหน้าที่ผู้จับกุมนำตัวผู้ถูกจับกุมไปทำการสืบสวนขยายผลหรือกระทำการอื่นใด ที่ไม่ ต้องนำตัวผู้ถูกจับกุมส่งพนักงานสอบสวนโดยทันทีและควรตัดอำนาจการควบคุมของพนักงาน สอบสวน จาก “48 ชั่วโมง” เป็น “24 ชั่วโมง” นอกจากนั้นกรณีที่เกิดความจำเป็นที่จะขังผู้ถูกจับเกิน กำหนดเวลา 24 ชั่วโมง ต้องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอหมายขัง โดยพนักงาน สอบสวนต้องรายงานพฤติการณ์พิเศษในการขังผู้ถูกจับต่อศาลด้วย ส่วนในชั้นสอบสวนควร กำหนดให้พนักงานสอบสวนจัดการส่งสำเนาคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษให้แก่พนักงานอัยการ โดยไม่ชักช้า รวมทั้งให้รายงานการดำเนินการในส่วนที่ได้ดำเนินการไปแล้วไปยังพนักงานอัยการ ด้วยและควรให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่กำกับและควบคุมโดยทั่วไปซึ่งการสอบสวนของ พนักงานสอบสวน
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4071
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf57.99 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf98.18 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf58.74 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf90.14 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf149.05 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf769.36 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf476.78 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf355.38 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf142.52 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf95.81 kBAdobe PDFView/Open
11profile.pdf62.17 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.