Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4449
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทวี ชอบชื่นชมen_US
dc.date.accessioned2556-10-21T04:06:26Z-
dc.date.available2556-10-21T04:06:26Z-
dc.date.issued2556-10-21T04:06:26Z-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4449-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractเทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและจัดตั้ง ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 โดยเทศบาลจัดแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เทศบาลตำบล เทศบาลเมืองและเทศบาลนคร ส่วนรูปแบบของเทศบาลได้กำหนดรูปแบบของเทศบาลไว้รูปแบบ เดียว คือ รูปแบบนายกเทศมนตรี ซึ่งได้แบ่งโครงสร้างสำคัญของเทศบาลออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่าย บริหาร มีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ คือ สภาเทศบาล ทั้งสองฝ่ายมา จากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน นอกจากนายกเทศมนตรีที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหาร ราชการของเทศบาลแล้ว พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ยังให้อำนาจนายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้ง ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลได้ ในกรณี เทศบาลตำบลให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกิน 2 คน เทศบาลเมืองให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่ เกิน 3 คน และเทศบาลนครให้แต่งตั้งได้จำนวนรวมกันไม่เกิน 5 คน ส่วนการแต่งตั้งที่ปรึกษา นายกเทศมนตรี ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ต้องการให้ที่ปรึกษา นายกเทศมนตรี เป็นผู้ช่วยนายกเทศมนตรีในการบริหารราชการของเทศบาลเพื่อให้เป็นไปตาม หลักการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยให้ประชาชนมีอิสระในการปกครอง ตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น เพื่อสอดรับกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและ ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ยังมีปัญหาด้านรูปแบบการแต่งตั้ง และโครงสร้างของที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ด้านคุณสมบัติของที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ด้าน บทบาทและอำนาจหน้าที่ของที่ปรึกษานายกเทศมนตรีที่มิได้กำหนดให้ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีมีบทบาทและอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ด้านวิธีการดำเนินงานของที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ซึ่ง ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบและก่อให้เกิดปัญหาในด้านต่างๆ ตามมา คือ ปัญหาด้านการ บริหารงานราชการของเทศบาลแบบมีส่วนร่วมของที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และปัญหาด้าน คุณธรรม จริยธรรมกับการบริหารราชการเทศบาลของที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่าควรแก้ไขและปรับปรุงพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เพื่อมุ่ง ค้นหาวิธีการที่ดี หรือวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ไขปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการแต่งตั้งที่ ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล อันจะทำให้รูปแบบการแต่งตั้ง และโครงสร้างของที่ ปรึกษานายกเทศมนตรี คุณสมบัติของที่ปรึกษานายกเทศมนตรีเกิดความชัดเจนและเหมาะสม ประกอบกับเป็นการสร้างบทบาทอำนาจหน้าที่ และวิธีการดำเนินงานทางการเมืองตามหลักการมี ส่วนรวมให้แก่ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีในการทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลัก คุณธรรม จริยธรรมในการบริหารงานราชการของเทศบาลเป็นที่ตั้ง เพื่อให้ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี เป็นผู้ช่วยนายกเทศมนตรีบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิพล อันจะนำไปสู่การ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนในการได้รับการบริการ สาธารณะจากเทศบาลตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงอันเป็นแนวในการบริหารราชการของเทศบาลต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isootheren_US
dc.subjectการแต่งตั้งen_US
dc.subjectที่ปรึกษาen_US
dc.subjectเทศบาลen_US
dc.subjectท้องถิ่นen_US
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการแต่งตั้งที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
11profile.pdf49.59 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf166.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.