Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4492
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานองค์กรขนาดใหญ่ กรณีศึกษา: แผนกก่อสร้างโรงงานบางชัน
Authors: โพชฌงค์ ทองน้อย
Keywords: ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานองค์กร
แผนกก่อสร้างโรงงานบางชัน
Issue Date: 19-November-2557
Citation: โพชฌงค์ ทองน้อย. 2557. "ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานองค์กรขนาดใหญ่ กรณีศึกษา: แผนกก่อสร้างโรงงานบางชัน." สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานองค์กรขนาดใหญ่ กรณีศึกษา: แผนกก่อสร้างโรงงานบางชัน บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) 1) เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของงาน ความพึงพอใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน วิธีการวิจัย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงาน จำนวน 59 คน โดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ประกอบด้วย ร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าเฉลี่ย (Mean) และสถิติอนุมาน (Inferential Statistics) เพื่อทดสอบสมมติฐานทางการศึกษา ประกอบด้วย ANOVA สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะของงานในภาพรวมพนักงานมีความคิดเห็นในระดับแปลผลอยู่ในระดับมาก (มีความสำคัญมากต่อการสร้างคุณลักษณะของงานภายในองค์กร) ปัจจัยด้านความพึงพอใจในการทำงานในภาพรวมพนักงานมีความคิดเห็นในระดับแปลผลอยู่ในระดับมาก (มีความสำคัญมากต่อการสร้างความพึงพอใจในการทำงานภายในองค์กร) และปัจจัยด้านความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในภาพรวมพนักงานมีความคิดเห็นในระดับแปลผลอยู่ในระดับปานกลาง (มีความสำคัญปานกลางต่อการสร้างความผูกพันภายในองค์กร) จากสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กร ได้แก่ ด้านการได้รับข้อมูลป้อนกลับของงาน และด้านรายได้และสวัสดิการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์กรในระดับต่ำ ด้านความหลากหลายของทักษะการทำงาน ด้านความสำคัญของงาน และด้านนโยบายและการบริหารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์กรในระดับปานกลาง ด้านโอกาสความก้าวหน้าของงาน และด้านการยอมรับนับถือมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์กรในระดับสูง ด้านสถานภาพการทำงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์กรในระดับสูงมาก ส่วนด้านความชัดเจนของงานมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความผูกพันต่อองค์กรในระดับต่ำ และด้านความปลอดภัยในการทำงาน และด้านความอิสระในการทำงานมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความผูกพันต่อองค์กรในระดับปานกลาง และจากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ สถานภาพการทำงาน โอกาสความก้าวหน้าของงาน ความอิสระในการทำงาน การยอมรับนับถือ และความสำคัญของงาน ซึ่งมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานที่ระดับสูงมาก
Description: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4492
Appears in Collections:S_PAY-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.